หลังๆมานี้เจอเพื่อนทั้งฝรั่งและไทยถามคำถามเดิมๆใส่บ่อยๆ
ประมาณว่า เอ่อ(Sub-Thai)...นายอ่ะ วันๆทำไรบ้าง อ่านหนังสืออย่างเดียวเลยเหรอ ออกไปเล่นไรอย่างอื่นบ้างป่ะ มีเพื่อนบ้างไหม
เอ่อ เพิ่งรู้สึกตัวเหมือนกัน (ว่ะ) ว่าพักหลังมานี่ กลายเป็นโคตร Nerd หันหลังให้สังคมมากๆ หมกหมุ่นอยู่กับเรื่องตัวเอง ไม่ค่อยได้สนใจคนอื่นๆเลย ปฏิสัมพันธ์กับคนน้อยมาก
จริงๆเนี่ย เมื่อก่อนก็ไม่เป็นนะ โดยเฉพาะตอนอยู่วชิราวุธ ตอนนั้นเนี่ยยังเรียนโง่มากอยู่ วันๆก็เรื่อยเปื่อยไป ชีวิตไม่มีสาระ มีแต่เพื่อน
รู้สึกจุดเปลี่ยนจะไปอยู่ตอนเข้าธรรมศาสตร์น่ะ โง่ๆอยู่ดีๆก็ฉลาดขึ้นมา งง เหมือนฝันไปเลย
แต่พอเริ่มบินสูงแล้วก็เริ่มแบก แบกความหวังตัวเอง แบกความสำเร็จ มันก็หนักอ่ะนะ แต่ก็ทำไงได้ ก็ตัดสินใจจะปีนเขานี่ เหนื่อยนิดหน่อยก็ทนๆกันไป
รู้สึกว่าจะเริ่มซีเรียสกับชีวิตเพิ่มขึ้นมากๆตอนอยู่ธรรมศาสตร์
แต่ก็ยังไม่มากเท่าไหร่ มีเพื่อนๆที่รักบี้คอยเล่นตลก เพื่อนๆบีอีก็ฮาไปได้เรื่อยๆ ชอบสาวคนโน้นคนนี้บ้าง อกหักบ้าง อินเลิฟบ้าง
ชีวิตมาเปลี่ยนจริงๆตอนเป็นอาจารย์มั้ง
แบบว่าเข้ามาแล้วรู้สึกล้มเหลวในอาชีพการงานมากๆ รู้สึกพิการทางปัญญา
ที่สำคัญคือ การเปลี่ยนผ่านจากนักเรียนเป็นคนทำงานของเราล้มเหลว เราสร้างความเป็นมืออาชีพให้กับตัวเองไม่ได้ สร้างวินัยในการทำงานไม่ได้ (แบบว่าเป็นอาจารย์เนี่ยมันสบาย เราก็เลย ชิล...ซะ)
ก็สอนหนังสือโอเคนะ จัดกิจกรรมให้คณะดีๆบ้าง แต่ผลงานวิชาการแแบไม่มีเรย ถึงมีก็ไม่ค่อยดี สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะความชิลนั่นล่ะ
ประสบการณ์ที่สำคัญคงเป็นทุนอานันมั้ง ครั้งแรกรู้สึกโชคร้าย ครั้งสองรู้สึกพังทลาย
แต่ก็ต้องขอบคุณทุนอานันครั้งที่สองมากกว่าครั้งแรก ทำให้สำนึกไปนานจริงๆว่าความประมาทในชีวิตมันมีผลเสียยังไง
ขอบคุณที่ทำงานที่รักด้วยที่จัดบทเรียนให้ สงสัยเห็นเราเคยบ่นว่าอยากให้มีคอร์สอบรมให้อาจารย์ใหม่เยอะๆ เลยจัดให้หนึ่งบทใหญ่
เป็นอาจารย์อยู่เกือบสองปีก็มาเรียนต่อแบบซมซาน ความมั่นใจลดลงไปเยอะ
ก็เพิ่งมาสร้างใหม่เอาที่นี่ ค่อยดีขึ้นมาหน่อย
แต่รู้สึกจะจริงจังกับชีวิตมากๆเลย พักหลังเนี่ย แบบว่าจะต้องไม่ผิดพลาดอีกครั้ง เหมือนคนหลังพิงฝาชอบกล
คิดแล้วก็สะท้อนไปถึงตอนอยู่โรงเรียนเหมือนกันแฮะ ตอนนั้นเนี่ยไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์อะไรให้ชีวิตตัวเองเลย ทำอะไรก็ไม่เคยตั้งเป้าให้มันดีเลิศ ก็เอาตัวรอดดาบหน้าไปเรื่อย
...ชีวิตคนเนี่ย มันเปลี่ยนไปเร็วเนอะ
Tuesday, June 05, 2007
Saturday, June 02, 2007
ลัทธิ เศรษฐกิจพอเพียง
ขออู้งาน โดยการเอาบทความนสพ.มาแปะ
รัฐอยู่ที่ไหนในเศรษฐกิจพอเพียง
นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1384
นิยามใหม่ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผมได้ยินมา ประกอบด้วยคุณลักษณะสี่ข้อดังนี้คือ
ความมีเหตุผล/ การทำอะไรพอกับกำลังของตน/ ความรอบรู้/ ความไม่ฟุ้งเฟ้อ
(ความเห็นกระต่าย: เป็นนิยามที่ครอบจักรวาลโคตรๆ ยิ่งกว่าคำสอนในศาสนาใดๆ สับสนๆๆๆๆ คลุมเครือๆๆๆๆๆ)
ว่ากันว่าสามารถนำไปใช้กับคนในทุกวิถีชีวิต นับตั้งแต่กรรมกรไปจนถึงเจ้าของบริษัทเบียร์
นับเป็นการขยายความจากพระราชดำรัส ซึ่งอาจมีนัยยะไปในทางวิถีชีวิตเกษตรกรรมเพียงด้านเดียว ถือว่าดีนะครับ คือช่วยกันขยายความและตีความให้ข้อเสนอของใครก็ตามที่เห็นว่ามีส่วนดี สามารถใช้ได้กว้างขวางขึ้น ... แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมจะเปิดรับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะที่จริงแล้วการวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาข้อเสนอซึ่งมีส่วนดีนั้นนั่นเอง
ผมก็เห็นพ้องว่า หากขยายความอย่างที่เขาทำกันอยู่เวลานี้ (ซึ่งน่าสังเกตว่าล้วนทำโดยคนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ นับตั้งแต่ รมต.คลังไปจนถึงนักธุรกิจ) อาจนำไปเป็นหลักในการประกอบการของคนได้หลายกลุ่มจริง
เหมือนคำสอนในการบริหารธุรกิจทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นหลักอันปลอดภัยในการประกอบการแก่คนที่อยู่ในตลาด
แต่ที่ผมสงสัยก็คือ แล้วรัฐอยู่ที่ไหนล่ะครับ หรือศีลธรรม (เช่น ความรู้จักประมาณตนและความไม่ฟุ้งเฟ้อ) จะเข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐ
(ความเห็นกระต่าย: รัฐใช้ปากครับ ใช้ปากบอกศีลธรรม มือตีนมิต้องทำไร)
ถ้าอย่างนั้น เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการบริหารรัฐโดยไม่ต้องมีการเมืองใช่หรือไม่?
(ความเห็นกระต่าย: การเมืองอาจมี แต่ประชาธิปไตยไม่น่ามีนะครับ)
ในประเทศอื่นๆ รัฐมีบทบาทในการเสริมหลักการบริหารธุรกิจอย่างไม่สุ่มเสี่ยงและงอกงามอย่างมั่นคงมากทีเดียว ความรอบรู้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องแสวงหาเพียงฝ่ายเดียว
รัฐจะร่วมลงทุนกับการแสวงหาความรู้ดังกล่าวอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในมหาวิทยาลัย, อุดหนุนการวิจัย, หรือปรามการใช้ความรู้ในทางที่ผิด (เช่น การใช้ยาฆ่าแมลงเกินขนาดซึ่งย่อมทำลายตลาดของตนเองในระยะยาว)
มีระบบภาษีและการยกเว้นภาษี (ไม้เรียวและขนม) ที่จะทำให้ผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ไม่ลงทุนเกินกำลัง หรือเฉื่อยแฉะไม่หมุนกำไรมาสู่การลงทุนเลย
ความมีเหตุมีผลในการประกอบการ มาจากศีลธรรมของผู้ประกอบการส่วนหนึ่ง แต่รัฐก็มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการป้องกันความโลภมิให้ครอบงำได้ เพราะรัฐสามารถเข้าไปทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการประกอบการ รัฐจึงสามารถทำให้การดำเนินการที่ไม่มีเหตุผลกลับเป็นการเสียเปรียบ
รัฐไทยทำอะไรบ้างกับหลักการกว้างๆ ของการบริหารธุรกิจ ผมคิดว่าไม่ได้ทำหรือทำน้อยมาก เราอาจกล่าวได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเกิดใน 2540 มาจากความไม่รู้จัก "พอเพียง" ของผู้ประกอบการ
แต่ความไม่ "พอเพียง" นี้ปรากฏมาก่อนหน้าเป็นเวลานานแล้ว รัฐก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อยับยั้ง หรือเสริมให้เกิดความ "พอเพียง" เลย
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นคำตอบ แต่ก็เป็นคำตอบเชิงศีลธรรมด้านเดียว จะเรียกว่าเป็นปรัชญาหรือไม่ใช่ก็ตาม
แต่คงไม่ใช่ "ศาสนา" นะครับ
เพราะศาสนาอยู่ได้โดยไม่ต้องมีรัฐ และรัฐจำนวนมากในโลกนี้ก็อ้างว่าเป็นรัฐโลกียวิสัย คือไม่เป็นของศาสนาใดเลย
ยิ่งกว่าการประกอบการ เศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นไปได้แก่คนส่วนใหญ่เพราะมีสภาพที่เอื้ออำนวยด้วย เช่น มีสวัสดิการพื้นฐานที่มั่นคงแน่นอน ซึ่งรัฐจัดให้ และจัดให้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถได้รับการรักษาพยาบาลในราคาที่ใครๆ ก็เข้าถึง
ถึงอย่างไร บุตรหลานก็ได้เรียนหนังสือฟรีพอที่จะมีอาชีพเลี้ยงตัวได้, มีที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงยั่งยืนพอสมควร, มีสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่ทำให้ชีวิตสงบสุข, ฯลฯ
ศีลธรรมประจำใจก็ยังต้องมีนะครับ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเงื่อนไขที่เอื้อต่อสันตุฏฐีธรรมด้วย ไม่รู้จะโลภโมโทสันไปทำไมให้ร้อนใจตัวเอง พอเพียงครับ พอเพียงแล้วเป็นสุขกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ใช่แต่ระบบสวัสดิการที่ดีเท่านั้น เงื่อนไขทางสังคมที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจพอเพียงยังมีด้านอื่นๆ อีกมาก จะให้เกษตรกรกว่า 30% ของประเทศซึ่งไม่มีที่ทำกิน "พอเพียง" กับอะไรครับ ตราบเท่าที่ไม่มีและไม่พยายามจะปฏิรูปที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม "พอเพียง" ก็เป็นเพียงคำปลอบใจแก่ท้องที่หิวโหยเท่านั้น
แรงงานต้องอยู่ในสภาพการทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ, ได้รับค่าจ้างในอัตราที่ไม่พอจะรักษาครอบครัวให้อบอุ่นได้ (พ่อไปทางแม่ไปทาง พี่ไปอีกทาง ในขณะที่ตายายกลายเป็นขอทาน), แม้แต่จะรวมตัวกันต่อรองก็ยังถูกขัดขวางทั้งด้วยกฎหมาย และสภาพของตลาดแรงงานที่รัฐไม่ยอมแทรกแซงให้เกิดอำนาจแก่แรงงาน, ฐานะการงานไม่มีความมั่นคง เพราะโรงงานหันไปใช้แรงงานนอกระบบซึ่งไม่ต้องถูกผูกมัดด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, ทักษะที่ไม่มีก็คงไม่มีตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน จนถึงวันสุดท้าย เพราะไม่มีระบบที่จะทำให้เกิดการเพิ่มทักษะของแรงงาน
ปราศจากรัฐที่จะเข้ามาแก้ไขความไม่เป็นธรรมเหล่านี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายอะไรแก่คนส่วนใหญ่ ถึงอยากฟุ้งเฟ้อก็ไม่มีกำลังจะฟุ้งเฟ้อได้มากนัก ในวันจ่ายค่าแรงครบวิก ขอกินลูกชิ้นปิ้งที่มีเนื้อมากกว่าแป้งสักหนหนึ่ง จะเป็นการฟุ้งเฟ้อหรือไม่... ก็ท้องมันหิวโปรตีนจริงๆ สักทีนี่ครับ
ในเงื่อนไขที่ไม่เอื้ออำนวยเหล่านี้ ผมคิดว่าเขาก็มีเหตุผล/รอบรู้/และประมาณตนที่สุดอยู่แล้วนะครับ
โดยไม่มีรัฐ เขาจึงอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว และถ้ายอมรับแค่นี้ได้ เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะตรงกับความหมายที่บางคนเย้ยหยันว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือที่จนก็ทนจนต่อไป ที่รวยก็ทนรวยให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ผมไม่ทราบว่า "นักเทศน์" ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีกลาดเกลื่อนเวลานี้เคยได้ยินคำเย้ยหยันเหล่านี้หรือไม่ และเขาตอบสนองต่อคำเย้ยหยันเหล่านี้อย่างไร แม้พวกเขามีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐอยู่สูง เขาคิดว่าจะใช้รัฐทำอะไรให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงได้จริงบ้าง
(คอมเมนต์กระต่าย: โคตรชอบคำนี้เลย นักเทศน์์ "ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง" ใช่เลยครับ มันมีทุกอย่างที่จะเป็นลัทธิมากกว่าทฤษฏี ผู้อ่านระวังจะกลายเป็นสาวกหรือผู้เผยแพร่ลัทธินี้โดยไม่รู้ตัวนะครับ)
หรือเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเพียง "กัณฑ์เทศน์" เพื่อให้นักเทศน์แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอุดมการณ์ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
คือประชาธิปไตยที่ไม่มี "การเมือง" และพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ "เหนือ" การเมือง
(คอมเมนต์กระต่าย: ฮึึึึ ฮึ ฮึ ฮึ อ.ประชดใครเนี่ย)
รัฐอยู่ที่ไหนในเศรษฐกิจพอเพียง
นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 27 ฉบับที่ 1384
นิยามใหม่ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผมได้ยินมา ประกอบด้วยคุณลักษณะสี่ข้อดังนี้คือ
ความมีเหตุผล/ การทำอะไรพอกับกำลังของตน/ ความรอบรู้/ ความไม่ฟุ้งเฟ้อ
(ความเห็นกระต่าย: เป็นนิยามที่ครอบจักรวาลโคตรๆ ยิ่งกว่าคำสอนในศาสนาใดๆ สับสนๆๆๆๆ คลุมเครือๆๆๆๆๆ)
ว่ากันว่าสามารถนำไปใช้กับคนในทุกวิถีชีวิต นับตั้งแต่กรรมกรไปจนถึงเจ้าของบริษัทเบียร์
นับเป็นการขยายความจากพระราชดำรัส ซึ่งอาจมีนัยยะไปในทางวิถีชีวิตเกษตรกรรมเพียงด้านเดียว ถือว่าดีนะครับ คือช่วยกันขยายความและตีความให้ข้อเสนอของใครก็ตามที่เห็นว่ามีส่วนดี สามารถใช้ได้กว้างขวางขึ้น ... แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมจะเปิดรับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะที่จริงแล้วการวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการปรับปรุงและพัฒนาข้อเสนอซึ่งมีส่วนดีนั้นนั่นเอง
ผมก็เห็นพ้องว่า หากขยายความอย่างที่เขาทำกันอยู่เวลานี้ (ซึ่งน่าสังเกตว่าล้วนทำโดยคนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ นับตั้งแต่ รมต.คลังไปจนถึงนักธุรกิจ) อาจนำไปเป็นหลักในการประกอบการของคนได้หลายกลุ่มจริง
เหมือนคำสอนในการบริหารธุรกิจทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นหลักอันปลอดภัยในการประกอบการแก่คนที่อยู่ในตลาด
แต่ที่ผมสงสัยก็คือ แล้วรัฐอยู่ที่ไหนล่ะครับ หรือศีลธรรม (เช่น ความรู้จักประมาณตนและความไม่ฟุ้งเฟ้อ) จะเข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐ
(ความเห็นกระต่าย: รัฐใช้ปากครับ ใช้ปากบอกศีลธรรม มือตีนมิต้องทำไร)
ถ้าอย่างนั้น เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการบริหารรัฐโดยไม่ต้องมีการเมืองใช่หรือไม่?
(ความเห็นกระต่าย: การเมืองอาจมี แต่ประชาธิปไตยไม่น่ามีนะครับ)
ในประเทศอื่นๆ รัฐมีบทบาทในการเสริมหลักการบริหารธุรกิจอย่างไม่สุ่มเสี่ยงและงอกงามอย่างมั่นคงมากทีเดียว ความรอบรู้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการแต่ละรายต้องแสวงหาเพียงฝ่ายเดียว
รัฐจะร่วมลงทุนกับการแสวงหาความรู้ดังกล่าวอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในมหาวิทยาลัย, อุดหนุนการวิจัย, หรือปรามการใช้ความรู้ในทางที่ผิด (เช่น การใช้ยาฆ่าแมลงเกินขนาดซึ่งย่อมทำลายตลาดของตนเองในระยะยาว)
มีระบบภาษีและการยกเว้นภาษี (ไม้เรียวและขนม) ที่จะทำให้ผู้ประกอบการทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ไม่ลงทุนเกินกำลัง หรือเฉื่อยแฉะไม่หมุนกำไรมาสู่การลงทุนเลย
ความมีเหตุมีผลในการประกอบการ มาจากศีลธรรมของผู้ประกอบการส่วนหนึ่ง แต่รัฐก็มีส่วนช่วยอย่างมาก ในการป้องกันความโลภมิให้ครอบงำได้ เพราะรัฐสามารถเข้าไปทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการประกอบการ รัฐจึงสามารถทำให้การดำเนินการที่ไม่มีเหตุผลกลับเป็นการเสียเปรียบ
รัฐไทยทำอะไรบ้างกับหลักการกว้างๆ ของการบริหารธุรกิจ ผมคิดว่าไม่ได้ทำหรือทำน้อยมาก เราอาจกล่าวได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเกิดใน 2540 มาจากความไม่รู้จัก "พอเพียง" ของผู้ประกอบการ
แต่ความไม่ "พอเพียง" นี้ปรากฏมาก่อนหน้าเป็นเวลานานแล้ว รัฐก็ไม่ได้ทำอะไรเพื่อยับยั้ง หรือเสริมให้เกิดความ "พอเพียง" เลย
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นคำตอบ แต่ก็เป็นคำตอบเชิงศีลธรรมด้านเดียว จะเรียกว่าเป็นปรัชญาหรือไม่ใช่ก็ตาม
แต่คงไม่ใช่ "ศาสนา" นะครับ
เพราะศาสนาอยู่ได้โดยไม่ต้องมีรัฐ และรัฐจำนวนมากในโลกนี้ก็อ้างว่าเป็นรัฐโลกียวิสัย คือไม่เป็นของศาสนาใดเลย
ยิ่งกว่าการประกอบการ เศรษฐกิจพอเพียงยังเป็นไปได้แก่คนส่วนใหญ่เพราะมีสภาพที่เอื้ออำนวยด้วย เช่น มีสวัสดิการพื้นฐานที่มั่นคงแน่นอน ซึ่งรัฐจัดให้ และจัดให้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถได้รับการรักษาพยาบาลในราคาที่ใครๆ ก็เข้าถึง
ถึงอย่างไร บุตรหลานก็ได้เรียนหนังสือฟรีพอที่จะมีอาชีพเลี้ยงตัวได้, มีที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงยั่งยืนพอสมควร, มีสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่ทำให้ชีวิตสงบสุข, ฯลฯ
ศีลธรรมประจำใจก็ยังต้องมีนะครับ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเงื่อนไขที่เอื้อต่อสันตุฏฐีธรรมด้วย ไม่รู้จะโลภโมโทสันไปทำไมให้ร้อนใจตัวเอง พอเพียงครับ พอเพียงแล้วเป็นสุขกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ใช่แต่ระบบสวัสดิการที่ดีเท่านั้น เงื่อนไขทางสังคมที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจพอเพียงยังมีด้านอื่นๆ อีกมาก จะให้เกษตรกรกว่า 30% ของประเทศซึ่งไม่มีที่ทำกิน "พอเพียง" กับอะไรครับ ตราบเท่าที่ไม่มีและไม่พยายามจะปฏิรูปที่ดินให้เกิดความเป็นธรรม "พอเพียง" ก็เป็นเพียงคำปลอบใจแก่ท้องที่หิวโหยเท่านั้น
แรงงานต้องอยู่ในสภาพการทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ, ได้รับค่าจ้างในอัตราที่ไม่พอจะรักษาครอบครัวให้อบอุ่นได้ (พ่อไปทางแม่ไปทาง พี่ไปอีกทาง ในขณะที่ตายายกลายเป็นขอทาน), แม้แต่จะรวมตัวกันต่อรองก็ยังถูกขัดขวางทั้งด้วยกฎหมาย และสภาพของตลาดแรงงานที่รัฐไม่ยอมแทรกแซงให้เกิดอำนาจแก่แรงงาน, ฐานะการงานไม่มีความมั่นคง เพราะโรงงานหันไปใช้แรงงานนอกระบบซึ่งไม่ต้องถูกผูกมัดด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, ทักษะที่ไม่มีก็คงไม่มีตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน จนถึงวันสุดท้าย เพราะไม่มีระบบที่จะทำให้เกิดการเพิ่มทักษะของแรงงาน
ปราศจากรัฐที่จะเข้ามาแก้ไขความไม่เป็นธรรมเหล่านี้ เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายอะไรแก่คนส่วนใหญ่ ถึงอยากฟุ้งเฟ้อก็ไม่มีกำลังจะฟุ้งเฟ้อได้มากนัก ในวันจ่ายค่าแรงครบวิก ขอกินลูกชิ้นปิ้งที่มีเนื้อมากกว่าแป้งสักหนหนึ่ง จะเป็นการฟุ้งเฟ้อหรือไม่... ก็ท้องมันหิวโปรตีนจริงๆ สักทีนี่ครับ
ในเงื่อนไขที่ไม่เอื้ออำนวยเหล่านี้ ผมคิดว่าเขาก็มีเหตุผล/รอบรู้/และประมาณตนที่สุดอยู่แล้วนะครับ
โดยไม่มีรัฐ เขาจึงอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว และถ้ายอมรับแค่นี้ได้ เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะตรงกับความหมายที่บางคนเย้ยหยันว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือที่จนก็ทนจนต่อไป ที่รวยก็ทนรวยให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ผมไม่ทราบว่า "นักเทศน์" ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีกลาดเกลื่อนเวลานี้เคยได้ยินคำเย้ยหยันเหล่านี้หรือไม่ และเขาตอบสนองต่อคำเย้ยหยันเหล่านี้อย่างไร แม้พวกเขามีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐอยู่สูง เขาคิดว่าจะใช้รัฐทำอะไรให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงได้จริงบ้าง
(คอมเมนต์กระต่าย: โคตรชอบคำนี้เลย นักเทศน์์ "ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง" ใช่เลยครับ มันมีทุกอย่างที่จะเป็นลัทธิมากกว่าทฤษฏี ผู้อ่านระวังจะกลายเป็นสาวกหรือผู้เผยแพร่ลัทธินี้โดยไม่รู้ตัวนะครับ)
หรือเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเพียง "กัณฑ์เทศน์" เพื่อให้นักเทศน์แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอุดมการณ์ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
คือประชาธิปไตยที่ไม่มี "การเมือง" และพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ "เหนือ" การเมือง
(คอมเมนต์กระต่าย: ฮึึึึ ฮึ ฮึ ฮึ อ.ประชดใครเนี่ย)
Thursday, May 31, 2007
สอบอีกละคร้าบ
โทษทีครับ
หลังจากเขียนเรื่องไร้สาระมาหลายเรื่องแบบไม่ฮิตเท่าไหร่
ผมก็ต้องขอตัวไปอ่านหนังสือสอบอีกตัว
ตัวสุดท้ายของปีนี้ละ
แล้วเจอกันใหม่
สอบเสร็จ
วันที่
13
มิย.
.
.
.
หลังจากเขียนเรื่องไร้สาระมาหลายเรื่องแบบไม่ฮิตเท่าไหร่
ผมก็ต้องขอตัวไปอ่านหนังสือสอบอีกตัว
ตัวสุดท้ายของปีนี้ละ
แล้วเจอกันใหม่
สอบเสร็จ
วันที่
13
มิย.
.
.
.
Friday, May 25, 2007
The Politics of Ambiguous Words
Inspired by the talk with Rongrat this morning. I was thinking all day about how ambiguos words work in politics.
I think Foucault discourse analysis can be a good approach here. Foucault argues, truth about discourse is not important, the more important thing is "how" discourse works to effect changes, what impacts it has to people practices and ideas.
Then, it is not useful to 'interpret' the ambiguous words. The words themselves are not supposed to 'mean' anything. The more important thing to observe, to follow Foucault's line, is "how will they effect people behavior".
I reckon, some ambigous words are just conveying "power" to legitimate what might be a "predetermined" action.
I think Foucault discourse analysis can be a good approach here. Foucault argues, truth about discourse is not important, the more important thing is "how" discourse works to effect changes, what impacts it has to people practices and ideas.
Then, it is not useful to 'interpret' the ambiguous words. The words themselves are not supposed to 'mean' anything. The more important thing to observe, to follow Foucault's line, is "how will they effect people behavior".
I reckon, some ambigous words are just conveying "power" to legitimate what might be a "predetermined" action.
Tuesday, May 22, 2007
"Rambo 4" is in Burma
Rambo said it best… “When you're pushed… Killing's as easy as breathing."
.............................
This might interested you!
The film Rambo 4, yes you're right - that John Rambo guy, is about Mr.John saving people in Burma from the military men.
The preview of the film is here:
http://www.youtube.com/watch?v=AiHNZw9qFtM
Interestingly, as the news reported, Stallone chose to make film about Burma based on the information that it is one of the few areas left in the world with inhumane conducts done by the military dicatorship. (Then, as you know, Rambo has to go out and kick the military asses)
Well...John Rambo, the country next to Burma now also has a military dictatorship to be overthrown. Are you interested, John?
.............................
This might interested you!
The film Rambo 4, yes you're right - that John Rambo guy, is about Mr.John saving people in Burma from the military men.
The preview of the film is here:
http://www.youtube.com/watch?v=AiHNZw9qFtM
Interestingly, as the news reported, Stallone chose to make film about Burma based on the information that it is one of the few areas left in the world with inhumane conducts done by the military dicatorship. (Then, as you know, Rambo has to go out and kick the military asses)
Well...John Rambo, the country next to Burma now also has a military dictatorship to be overthrown. Are you interested, John?
Morality?
If you have read this blog enough, you should have recognized one important shift in my standpoint.
I have been much more critical toward "morality".
I actually have some story to tell you about this. As the student from Thammasat, when I first come to Oxford, I was filled up with ideologies on morality. Many of my thoughts and arguments related to development were justified on the ground of morality.
When I did my first essay for anthropology, I wrote about consumerism, justifying it as dangerous based on morality ground. Although there're plenty of Thai famous academics who said the same thing, my first essay was tore apart by the professor. He argues, which I found out later to be right, that in an academics point of view - it is not legitimate to justify anything based on "moral" ground. To write a good academic piece of work at international level, morality from Thai perspective doesn't really have any use.
In addition, going through a tough course on anthropolgy of development, I also come to realize the drawback of morality. Morality itself have a close relations with power. If you are critical about some part of the Thai history, then it should not be too difficult to realize that many events in Thailand clearly demonstrate this point. Reading history from many developing counties, I also realized that "morality itself is not bad, but when it is used by people - then it can become a means for domination, oppression, or even for demolition".
Hence, I concluded that "let's keep morality to be about practice, not to be about....saying words that make you look good"
I have been much more critical toward "morality".
I actually have some story to tell you about this. As the student from Thammasat, when I first come to Oxford, I was filled up with ideologies on morality. Many of my thoughts and arguments related to development were justified on the ground of morality.
When I did my first essay for anthropology, I wrote about consumerism, justifying it as dangerous based on morality ground. Although there're plenty of Thai famous academics who said the same thing, my first essay was tore apart by the professor. He argues, which I found out later to be right, that in an academics point of view - it is not legitimate to justify anything based on "moral" ground. To write a good academic piece of work at international level, morality from Thai perspective doesn't really have any use.
In addition, going through a tough course on anthropolgy of development, I also come to realize the drawback of morality. Morality itself have a close relations with power. If you are critical about some part of the Thai history, then it should not be too difficult to realize that many events in Thailand clearly demonstrate this point. Reading history from many developing counties, I also realized that "morality itself is not bad, but when it is used by people - then it can become a means for domination, oppression, or even for demolition".
Hence, I concluded that "let's keep morality to be about practice, not to be about....saying words that make you look good"
Sunday, May 20, 2007
ชะตากรรมบนรอยแยกของประชาธิปไตย
"หรือจะเป็นชะตากรรมของเราที่ตราบใดที่เรายังมีคนที่เรารัก เราก็คงไม่มีวันเป็นอิสระเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองได้"
...........
(บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจและข้อมูลจากหนังสือ Fault-Line of Democracy in Post-Transition Latin America โดย Felipe Aguero และ Jeffrey Stark ครับ สนใจหาอ่านได้ตามห้องสมุดใกล้บ้าน)
....ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการปกครองประชาธิปไตยนั้น มักมีปัญหาสำคัญประการหนึ่ง
ปัญหานั้นคือการมองประชาธิปไตยแบบกระบวนการ (Procedural) ทับซ้อนกับประชาธิปไตยที่เป็นเนื้อหา (Substantive) โดยมองว่าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ
ี้(ประชาธิปไตยแบบ Procedural นั้นหมายถึงประชาธิปไตยในความหมายแบบ Minimalist ซึ่งก็คือเน้นที่กระบวนการ ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีรัฐบาลที่เป็นอสระ องค์กรนิติบัญญัติและศาลทำงานได้โดยไม่ถุกแทรกแซง ในขณะที่ประชาธิปไตยแบบ Substantive นั้นเน้นที่การมีสิทธิโดยตรงทางการเมือง การมีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม การมีรัฐบาลที่นำเสนอและดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
ทฤษฎีสำคัญที่ติดปัญหาการมอง Procedural Democracy ทับซ้อนกับ Substantive Democracy ก็เช่น ทฤษฎี Democratic Consolidation ของเหล่านักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองละตินอเมมริกา เช่น Linz และ Stepan หรือแม้กระทั้ง Lawrence Whitehead (ตาคนนี้ใส่กางเกงสีชมพูมาสอน Class ที่ผมเรียน เพื่อนๆในห้องยังประทับใจถึงปัจจุบัน)
ทฤษฎี Democratic Consolidation นี้มองว่าการที่จะให้ระบบประชาธิปไตยคงรอดต่อไปได้นั้น ต้องทำให้ระบบมี "คุณภาพ" ผ่านการ Consolidate ทั้งนี้กระบวนการ Consolidation ที่ว่าก็ประกอบด้วยการทำการเมืองให้มีคุณภาพ การสร้างระบบประชาสังคมที่เข้มแข็ง การมี Rule of Law การมีรัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ และการให้รัฐดูแลระบบตลาดให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
เหล่านักทฤษฎีข้างต้นคิดว่า ด้วยสิ่งเหล่านี้เท่านั้นประชาธิปไตยถึงจะหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนกลายเป็นระบบการปกครอง "หนึ่งเดียว" ในใจได้
ในช่วงเวลาที่หลายๆประเทศในละตินอเมริกากลายเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสตศตวรรษ1980นั้น พวกเขาต่างทายกันไปถึงโอกาสในการอยุ่รอดของประชาธิไตยในแต่บะประเทศ โดยดูเอาจากโอกาสในประสบความสำเร็จในการ Consolidate ระบบประชาธิปไตยในด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ดี เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี บางประเทศในอีกซีกโลกประชาธิปไตยล่มแล้วล่มอีก ประชาธิปไตยของหลายๆประเทศในละตินอเมริกาก็ยังไม่ล่มซักที
ตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้นักทฤษฎีประชาธิปไตยในยุคถัดมาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไมบางประเทศเช่นบราซิลที่ Rule of Law ก็ห่วย ระบบการเมืองก็ห่วย ภาคประชาสังคมก็แตกแถวแตกแยกกัน เศรษฐกิจก็ล้มๆลุกๆ ถึงได้มีประชาธิปตยที่มั่นคงได้
และนั้นก็กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงความต่างระหว่าง Procedural กับ Substantive Democracy
และคิดได้ว่าการคงอยู่ของ Procedural Democracy อาจมาจากปัจจัยที่ทำให้ Substative Democracy แย่ก็ได้
ตัวอย่างเช่นระบบการเมืองของบราซิลนั้น เป็นการเมืองแบบพรรคมีมากมายมหาศาลเพราะระบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเสียงขั้นต่ำ ทั้งนี้บัญชีรายชื่อแบบเปิดหมายถึงพรรคการเมืองไม่สามารถ Rank ผู้สมัครได้ ี้ผู้สมัครนอกจากจะต้องแข่งกับพรรคอื่นแล้วยังต้องแข่งกันเองด้วย ระบบดังกล่าวนั้น ไม่ต้องคิดมากก็บอกได้ว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอไร้ระเบียบ และสภาก็เต็มไปด้วยพรรคการเมืองมากมาย ไม่มีใครได้เสียงส่วนใหญ่ พอพรรคการเมืองอ่อนแอการเมืองก็อ่อนแอ
แน่นอนสภาพของระบบการเมืองบราซิลทำให้โอกาสจะเกิด Substantive Democracy นั้นน้อยมาก เพราะพรรคการเมืองและสภาที่อ่อนแอไม่สามารถนำเสนอและดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะแก่ปัญหาใดๆใก้หับประเทศได้ก็ยากแสนยาก
แต่ด้วยสภาพการเมืองที่อ่อนแอนี้ล่ะ ที่ทำให้ Procedural Democracy ของบราซิลคงอยู่ได้ สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะมันช่วยให้พรรคฝ่ายซ้ายที่เป็นที่หวาดกลัวของเหล่าEliteไม่สามารถมาดำเนินนโยบายสุดโต่งใดๆได้
สภาพดังกล่าวทำให้ดุลอำนาจนั้นไม่เสียไป ผู้ที่คงอำนาจอยู่มาก่อนไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับการหักเหทิศทางทางการเมือง
เหล่า Elite รู้ว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป พวกเขาก็กินเค็กก้อนเดิมๆได้ ไอ้นโยบายกระจายรายได้หรือรัฐสวัสดิการที่จะมาช่วยคนจนจำนวนมากโดยมาเก็บเอาภาษีจากพวกเขานั้นเกิดขึ้นไม่ได้หรอก
ว่ากันโดยสรุปก็คือ ระบบการเมืองที่อาจดีในการนำเสนอนโยบายสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น อาจไปทำให้ "วงล่ม" ได้เพราะไปขัดดุลภาพทางอำนาจและประโยชน์ทางเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันระบบการเมืองที่ทำให้วงไม่ล่มนั้นก็อาจเป็นระบบที่ไม่ได้ช่วยให้ใครได้ประโยชน์อะไรมากมายก็ได้ (แค่ไม่ทำให้ดุลอำนาจและผลประโยชน์เสียไป)
นั่นก็คือ Fault Line แบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เราเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิล
เป็น Fault Line ทีน่าเศร้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเอามาวิเคราห์กับประเทศไทย
หรือเราจะมีชะตากรรมบางอย่าง
ที่ตราบใดที่ดุลอำนาจเดิมของเรานั้น มันไม่ได้เป็นประชาธิไตยตรงไหนเลย
ด้วยดุลอำนาจแบบนี้หากมีระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็น Substantive แล้ว ดุลอำนาจนั้นก็อาจต้องโดนกระทบตามไป (ดังเช่นกรณีให้มีสส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มการแข่งขันทางนโยบายได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การเมืองที่ใกล้เคียงกับระบอบ "ประธานาธิบดี")
แน่นอนเมื่อนั้นดุลอำนาจเดิมและคนที่เกาะกินอยู่กับดุลอำนาจเดิมย่อมต่อสู้กลับ เพื่อคงสถานะของตนเองไว้
ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้นานแค่ไหนกันเชียวกับดุลอำนาจแบบนี้
ดุลอำนาจที่ยังมีอำนาจพิเศษอยู่เหนือผู้คน ไว้เป็นทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง ดุลอำนาจที่ทำให้ประเทศมีแต่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ยักมีประชาชน ดุลอำนาจที่ทำให้ทหารและราชการไม่ได้ปกป้องประเทศและรับใช้ประชาชนตาดำๆ
หรือเราควรจะคง Procedural Form ของประชาธิปไตยบ้านเมืองเราไว้ โดยการทำให้ระบบการเมืองสะท้อนดุลอำนาจดังกล่าวไปเลย เป็นการยอมจำนนต่อ"ชะตาชีวิต"
...........
(บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจและข้อมูลจากหนังสือ Fault-Line of Democracy in Post-Transition Latin America โดย Felipe Aguero และ Jeffrey Stark ครับ สนใจหาอ่านได้ตามห้องสมุดใกล้บ้าน)
....ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการปกครองประชาธิปไตยนั้น มักมีปัญหาสำคัญประการหนึ่ง
ปัญหานั้นคือการมองประชาธิปไตยแบบกระบวนการ (Procedural) ทับซ้อนกับประชาธิปไตยที่เป็นเนื้อหา (Substantive) โดยมองว่าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ
ี้(ประชาธิปไตยแบบ Procedural นั้นหมายถึงประชาธิปไตยในความหมายแบบ Minimalist ซึ่งก็คือเน้นที่กระบวนการ ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีรัฐบาลที่เป็นอสระ องค์กรนิติบัญญัติและศาลทำงานได้โดยไม่ถุกแทรกแซง ในขณะที่ประชาธิปไตยแบบ Substantive นั้นเน้นที่การมีสิทธิโดยตรงทางการเมือง การมีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม การมีรัฐบาลที่นำเสนอและดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
ทฤษฎีสำคัญที่ติดปัญหาการมอง Procedural Democracy ทับซ้อนกับ Substantive Democracy ก็เช่น ทฤษฎี Democratic Consolidation ของเหล่านักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองละตินอเมมริกา เช่น Linz และ Stepan หรือแม้กระทั้ง Lawrence Whitehead (ตาคนนี้ใส่กางเกงสีชมพูมาสอน Class ที่ผมเรียน เพื่อนๆในห้องยังประทับใจถึงปัจจุบัน)
ทฤษฎี Democratic Consolidation นี้มองว่าการที่จะให้ระบบประชาธิปไตยคงรอดต่อไปได้นั้น ต้องทำให้ระบบมี "คุณภาพ" ผ่านการ Consolidate ทั้งนี้กระบวนการ Consolidation ที่ว่าก็ประกอบด้วยการทำการเมืองให้มีคุณภาพ การสร้างระบบประชาสังคมที่เข้มแข็ง การมี Rule of Law การมีรัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ และการให้รัฐดูแลระบบตลาดให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
เหล่านักทฤษฎีข้างต้นคิดว่า ด้วยสิ่งเหล่านี้เท่านั้นประชาธิปไตยถึงจะหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนกลายเป็นระบบการปกครอง "หนึ่งเดียว" ในใจได้
ในช่วงเวลาที่หลายๆประเทศในละตินอเมริกากลายเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสตศตวรรษ1980นั้น พวกเขาต่างทายกันไปถึงโอกาสในการอยุ่รอดของประชาธิไตยในแต่บะประเทศ โดยดูเอาจากโอกาสในประสบความสำเร็จในการ Consolidate ระบบประชาธิปไตยในด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ดี เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี บางประเทศในอีกซีกโลกประชาธิปไตยล่มแล้วล่มอีก ประชาธิปไตยของหลายๆประเทศในละตินอเมริกาก็ยังไม่ล่มซักที
ตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้นักทฤษฎีประชาธิปไตยในยุคถัดมาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไมบางประเทศเช่นบราซิลที่ Rule of Law ก็ห่วย ระบบการเมืองก็ห่วย ภาคประชาสังคมก็แตกแถวแตกแยกกัน เศรษฐกิจก็ล้มๆลุกๆ ถึงได้มีประชาธิปตยที่มั่นคงได้
และนั้นก็กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงความต่างระหว่าง Procedural กับ Substantive Democracy
และคิดได้ว่าการคงอยู่ของ Procedural Democracy อาจมาจากปัจจัยที่ทำให้ Substative Democracy แย่ก็ได้
ตัวอย่างเช่นระบบการเมืองของบราซิลนั้น เป็นการเมืองแบบพรรคมีมากมายมหาศาลเพราะระบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเสียงขั้นต่ำ ทั้งนี้บัญชีรายชื่อแบบเปิดหมายถึงพรรคการเมืองไม่สามารถ Rank ผู้สมัครได้ ี้ผู้สมัครนอกจากจะต้องแข่งกับพรรคอื่นแล้วยังต้องแข่งกันเองด้วย ระบบดังกล่าวนั้น ไม่ต้องคิดมากก็บอกได้ว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอไร้ระเบียบ และสภาก็เต็มไปด้วยพรรคการเมืองมากมาย ไม่มีใครได้เสียงส่วนใหญ่ พอพรรคการเมืองอ่อนแอการเมืองก็อ่อนแอ
แน่นอนสภาพของระบบการเมืองบราซิลทำให้โอกาสจะเกิด Substantive Democracy นั้นน้อยมาก เพราะพรรคการเมืองและสภาที่อ่อนแอไม่สามารถนำเสนอและดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะแก่ปัญหาใดๆใก้หับประเทศได้ก็ยากแสนยาก
แต่ด้วยสภาพการเมืองที่อ่อนแอนี้ล่ะ ที่ทำให้ Procedural Democracy ของบราซิลคงอยู่ได้ สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะมันช่วยให้พรรคฝ่ายซ้ายที่เป็นที่หวาดกลัวของเหล่าEliteไม่สามารถมาดำเนินนโยบายสุดโต่งใดๆได้
สภาพดังกล่าวทำให้ดุลอำนาจนั้นไม่เสียไป ผู้ที่คงอำนาจอยู่มาก่อนไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับการหักเหทิศทางทางการเมือง
เหล่า Elite รู้ว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป พวกเขาก็กินเค็กก้อนเดิมๆได้ ไอ้นโยบายกระจายรายได้หรือรัฐสวัสดิการที่จะมาช่วยคนจนจำนวนมากโดยมาเก็บเอาภาษีจากพวกเขานั้นเกิดขึ้นไม่ได้หรอก
ว่ากันโดยสรุปก็คือ ระบบการเมืองที่อาจดีในการนำเสนอนโยบายสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น อาจไปทำให้ "วงล่ม" ได้เพราะไปขัดดุลภาพทางอำนาจและประโยชน์ทางเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันระบบการเมืองที่ทำให้วงไม่ล่มนั้นก็อาจเป็นระบบที่ไม่ได้ช่วยให้ใครได้ประโยชน์อะไรมากมายก็ได้ (แค่ไม่ทำให้ดุลอำนาจและผลประโยชน์เสียไป)
นั่นก็คือ Fault Line แบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เราเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิล
เป็น Fault Line ทีน่าเศร้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเอามาวิเคราห์กับประเทศไทย
หรือเราจะมีชะตากรรมบางอย่าง
ที่ตราบใดที่ดุลอำนาจเดิมของเรานั้น มันไม่ได้เป็นประชาธิไตยตรงไหนเลย
ด้วยดุลอำนาจแบบนี้หากมีระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็น Substantive แล้ว ดุลอำนาจนั้นก็อาจต้องโดนกระทบตามไป (ดังเช่นกรณีให้มีสส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มการแข่งขันทางนโยบายได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การเมืองที่ใกล้เคียงกับระบอบ "ประธานาธิบดี")
แน่นอนเมื่อนั้นดุลอำนาจเดิมและคนที่เกาะกินอยู่กับดุลอำนาจเดิมย่อมต่อสู้กลับ เพื่อคงสถานะของตนเองไว้
ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้นานแค่ไหนกันเชียวกับดุลอำนาจแบบนี้
ดุลอำนาจที่ยังมีอำนาจพิเศษอยู่เหนือผู้คน ไว้เป็นทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง ดุลอำนาจที่ทำให้ประเทศมีแต่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ยักมีประชาชน ดุลอำนาจที่ทำให้ทหารและราชการไม่ได้ปกป้องประเทศและรับใช้ประชาชนตาดำๆ
หรือเราควรจะคง Procedural Form ของประชาธิปไตยบ้านเมืองเราไว้ โดยการทำให้ระบบการเมืองสะท้อนดุลอำนาจดังกล่าวไปเลย เป็นการยอมจำนนต่อ"ชะตาชีวิต"
Saturday, May 19, 2007
ฝัน...
เมื่อวานฝัน...
ฝันว่าอยู่ที่บ้าน ตื่นมาจะไปมหาลัยฯ
ก็ดูเรื่องเดิมๆ
ตืนมาพบว่า ตัวเองทำอะไรเหมือนเดิม อยู่บ้าน ไปมหาลัย มานานเท่าไหร่แล้ว
ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้าน ไปมหาลัย
แต่ที่ต่างกันไป ก็คือในฝันเราอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง เราอยู่บ้านเราจริงๆ
ตื่นมาก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกัน
เมื่อก่อนอยู่บ้านตื่นมาก็เดินไปทักทายพ่อกับแม่ ไปมหาลัยก็ชวนเพื่อนไปกินข้าวกลางวัน
เดี๋ยวนี้ทำอะไรคนเดียวหมดเลย
มีเพื่อนอยู่คนนึงชื่อ...ความเหงา
ฝันว่าอยู่ที่บ้าน ตื่นมาจะไปมหาลัยฯ
ก็ดูเรื่องเดิมๆ
ตืนมาพบว่า ตัวเองทำอะไรเหมือนเดิม อยู่บ้าน ไปมหาลัย มานานเท่าไหร่แล้ว
ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้าน ไปมหาลัย
แต่ที่ต่างกันไป ก็คือในฝันเราอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง เราอยู่บ้านเราจริงๆ
ตื่นมาก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกัน
เมื่อก่อนอยู่บ้านตื่นมาก็เดินไปทักทายพ่อกับแม่ ไปมหาลัยก็ชวนเพื่อนไปกินข้าวกลางวัน
เดี๋ยวนี้ทำอะไรคนเดียวหมดเลย
มีเพื่อนอยู่คนนึงชื่อ...ความเหงา
ศีลธรรมกับการเมือง: บทเรียนจากกระแสชาตินิยมฮินดู (2)
"ความดีมันก็ฆ่าคนได้มากพอๆกับความชั่วนั่นล่ะ"
เฉิน ห้าว หนาน*
...................
ความเดิมจากตอนที่แล้ว...กระแสชาตินิยมฮินดูก่อเกิดขึ้นจากกลุ่มชนวรรณะสูงและกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ของอินเดีย
ทั้งนี้กระแสชาตินิยมฮินดูนั้น แม้จะดูเสมือนว่าเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา แต่แท้จริงกลับมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงและความเกลียดชังมากกว่า
เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า การที่พวกวรรณะต่ำและพวกต่างศาสนาในอินเดียได้มีบทบาทสูงขึ้นในวงการเมืองนั้น นำมาซึ่งความสกปรกและไร้ระเบียบ คณวรรณะต่ำไม่มีศีลธรรมและวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง
และสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมฮินดูก็คือ ความเกลียดชังในพวกมุสลิม ซึ่งก็มีบทบาทเพิ่มขึ้นในทางการเมืองเช่นกัน......
ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเสนอให้รัฐอินเดียนั้นมีลักษณะเป็นรัฐศาสนา
โดยให้รัฐอินเดียนั้น นำเอาคุณค่าความเป็น "ฮินดู" มากำหนดทิศทางและแก้ปัญหาสังคม เพื่อขจัดคอร์รัปชั่นและนำความเป็นระเบียบคืนมา
ไอ้คุณค่าความเป็นฮินดูที่ว่านี้เป็นอย่างไรน่ะหรือ ก็คือการเอาระบบวรรณะที่เคร่งครัดกลับมาใช้ เพื่อลดบทบาทวรรณะที่ต่ำกว่าลง การกีดกันและต่อต้านพวกมุสลิม
ถามว่าทำไมต้องเป็น ฮินดู ก็แน่นอน เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียเป็นคนศาสนาฮินดู ฮินดูก็ควรเป็น "ศาสนา" และ "วัฒนธรรม" ประจำชาติ
เอ...แต่จะทำอย่างไรให้ความเป็น "ฮินดู" มันถูกนำมาใช้ได้ล่ะ
ก็บังคับซิครับ...เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูบอกมาตรงๆเลยว่า รัฐอินเดียนั้นควรมีลักษณะเป็นเผด็จการมากขึ้น (เพื่อให้สามารถบังคับใช้คุณค่าความเป็นฮินดูได้)
ด้วยการบังคับใช้ความเป็นฮินดูนี้เอง คุณค่าศีลธรรมจักจะกลับมาซิึ่งแผ่นดินอินเดีย
ที่น่าสนใจมากๆก็คือ ในขณะที่ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูนั้น เน้นคุณค่าทางวัฒนธรรมฮินดูในการ "จัดระเบียบ" สังคม
ในทางเศรษฐกิจ เขาเหล่านั้นกลับสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า และการทำประเทศให้ทันสมัย
โดยอ้างว่าด้วยแนวทางนี้เท่านั้นอินเดียถึงจะแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้ (หากแท้จริงก็เพราะตัวเองได้ประโยชน์เยอะนั่นล่ะ)
การนำ "ศีลธรรม" เข้ามานำ "การเมือง" ของกระแสชาตินิยมฮินดูจึงให้บทเรียนเราอย่างชัดเจนได้หลายประการ
หนึ่ง โปรดระลึกอยู่เสมอว่าเวลาศีลธรรมถูกนำมาใช้ในทางการเมืองนั้น ผู้ใช้มักจะเอา "ความดี" มาสร้างความชอบธรรมในการอยู่เหนือกว่า ฮะแฮ่ม ตัวอย่างดาษดื่น คิดเองละกัน ประเทศไหแลนด์น่ะมีแยะ
สอง ศีลธรรมนั้นมีความเป็น อสมรูป (asymmetric) อยู่ ศีลธรรมมักถูกแฝงด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ผู้คนมีสิทธิในการเข้าถึงได้ไม่เท่ากัน เช่น เวลาเอาศีลธรรมฮินดูมาใช้ มันก็ไปทำให้เหล่าคนที่ชั้นวรรณะต่ำ หรือคนต่างศาสนาต้องกลายเป็น "คนนอก" เรื่องเหล่านี้จริงๆหลายครั้งก็เป็นเปลือกที่ใช้หุ้มความเกลียดชังไว้อีกทีหนึ่ง (ก็แบบหลายคนที่เรียกร้องให้มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเกลียดมุสลิมนั่นล่ะ)
สาม ผู้นำทางการเมืองที่กล่าวอ้างศีลธรรมนั้น แท้จริงก็อ้างเอาแต่ส่วนที่ตนไม่เสียประโยชน์นั่นล่ะ ในกรณีฮินดูนี่ก็แบบฮินดูแค่เฉพาะกดเอาวรรณะต่ำกว่าลงไปในทางการเมือง แต่ประเทศต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ต้องแข่งขันทางเทคโนโลยี (เพื่อไม่ให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเสียโอกาสทางการค้า) หรืออย่างบางคนที่กล่าวอ้างจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงมานำเป็นทิศทางของประเทศนั้น ก็บอกว่าตัวเองขับเบนซ์และใช้หลุยส์ได้เพราะพอเพียงของเขา (พอเพียงแบบรวยอ่ะ) แต่ชาวบ้านก็อดๆอยากๆไปด้วยความพอเพียงเช่นกัน (พอเพียงแบบจนอ่ะ)
ด้วยประการฉะนั้น โปรดคิดมากไม่ต่ำกว่าสองครั้ง และสงสัยไม่ต่ำกว่าสามครั้ง เวลาได้ยินผู้ใดกล่าวอ้างเอาศีลธรรมมาสร้างความชอบธรรมในทางการเมืองให้กับตัวเอง
...จริงๆนะ
................................
*หัวหน้าแก๊งค์หงซิ่ง แห่งซีรีส์หนังจีนอมตะ "กู๋หว่าจ๋าย" หนังมันส์แต่นางเอกตายทุกภาค (มีประมาณสิบกว่าภาค นางเอกรีไซเคิลเพียบ)
เฉิน ห้าว หนาน*
...................
ความเดิมจากตอนที่แล้ว...กระแสชาตินิยมฮินดูก่อเกิดขึ้นจากกลุ่มชนวรรณะสูงและกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ของอินเดีย
ทั้งนี้กระแสชาตินิยมฮินดูนั้น แม้จะดูเสมือนว่าเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา แต่แท้จริงกลับมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงและความเกลียดชังมากกว่า
เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า การที่พวกวรรณะต่ำและพวกต่างศาสนาในอินเดียได้มีบทบาทสูงขึ้นในวงการเมืองนั้น นำมาซึ่งความสกปรกและไร้ระเบียบ คณวรรณะต่ำไม่มีศีลธรรมและวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง
และสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมฮินดูก็คือ ความเกลียดชังในพวกมุสลิม ซึ่งก็มีบทบาทเพิ่มขึ้นในทางการเมืองเช่นกัน......
ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเสนอให้รัฐอินเดียนั้นมีลักษณะเป็นรัฐศาสนา
โดยให้รัฐอินเดียนั้น นำเอาคุณค่าความเป็น "ฮินดู" มากำหนดทิศทางและแก้ปัญหาสังคม เพื่อขจัดคอร์รัปชั่นและนำความเป็นระเบียบคืนมา
ไอ้คุณค่าความเป็นฮินดูที่ว่านี้เป็นอย่างไรน่ะหรือ ก็คือการเอาระบบวรรณะที่เคร่งครัดกลับมาใช้ เพื่อลดบทบาทวรรณะที่ต่ำกว่าลง การกีดกันและต่อต้านพวกมุสลิม
ถามว่าทำไมต้องเป็น ฮินดู ก็แน่นอน เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียเป็นคนศาสนาฮินดู ฮินดูก็ควรเป็น "ศาสนา" และ "วัฒนธรรม" ประจำชาติ
เอ...แต่จะทำอย่างไรให้ความเป็น "ฮินดู" มันถูกนำมาใช้ได้ล่ะ
ก็บังคับซิครับ...เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูบอกมาตรงๆเลยว่า รัฐอินเดียนั้นควรมีลักษณะเป็นเผด็จการมากขึ้น (เพื่อให้สามารถบังคับใช้คุณค่าความเป็นฮินดูได้)
ด้วยการบังคับใช้ความเป็นฮินดูนี้เอง คุณค่าศีลธรรมจักจะกลับมาซิึ่งแผ่นดินอินเดีย
ที่น่าสนใจมากๆก็คือ ในขณะที่ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูนั้น เน้นคุณค่าทางวัฒนธรรมฮินดูในการ "จัดระเบียบ" สังคม
ในทางเศรษฐกิจ เขาเหล่านั้นกลับสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า และการทำประเทศให้ทันสมัย
โดยอ้างว่าด้วยแนวทางนี้เท่านั้นอินเดียถึงจะแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้ (หากแท้จริงก็เพราะตัวเองได้ประโยชน์เยอะนั่นล่ะ)
การนำ "ศีลธรรม" เข้ามานำ "การเมือง" ของกระแสชาตินิยมฮินดูจึงให้บทเรียนเราอย่างชัดเจนได้หลายประการ
หนึ่ง โปรดระลึกอยู่เสมอว่าเวลาศีลธรรมถูกนำมาใช้ในทางการเมืองนั้น ผู้ใช้มักจะเอา "ความดี" มาสร้างความชอบธรรมในการอยู่เหนือกว่า ฮะแฮ่ม ตัวอย่างดาษดื่น คิดเองละกัน ประเทศไหแลนด์น่ะมีแยะ
สอง ศีลธรรมนั้นมีความเป็น อสมรูป (asymmetric) อยู่ ศีลธรรมมักถูกแฝงด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ผู้คนมีสิทธิในการเข้าถึงได้ไม่เท่ากัน เช่น เวลาเอาศีลธรรมฮินดูมาใช้ มันก็ไปทำให้เหล่าคนที่ชั้นวรรณะต่ำ หรือคนต่างศาสนาต้องกลายเป็น "คนนอก" เรื่องเหล่านี้จริงๆหลายครั้งก็เป็นเปลือกที่ใช้หุ้มความเกลียดชังไว้อีกทีหนึ่ง (ก็แบบหลายคนที่เรียกร้องให้มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเกลียดมุสลิมนั่นล่ะ)
สาม ผู้นำทางการเมืองที่กล่าวอ้างศีลธรรมนั้น แท้จริงก็อ้างเอาแต่ส่วนที่ตนไม่เสียประโยชน์นั่นล่ะ ในกรณีฮินดูนี่ก็แบบฮินดูแค่เฉพาะกดเอาวรรณะต่ำกว่าลงไปในทางการเมือง แต่ประเทศต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ต้องแข่งขันทางเทคโนโลยี (เพื่อไม่ให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเสียโอกาสทางการค้า) หรืออย่างบางคนที่กล่าวอ้างจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงมานำเป็นทิศทางของประเทศนั้น ก็บอกว่าตัวเองขับเบนซ์และใช้หลุยส์ได้เพราะพอเพียงของเขา (พอเพียงแบบรวยอ่ะ) แต่ชาวบ้านก็อดๆอยากๆไปด้วยความพอเพียงเช่นกัน (พอเพียงแบบจนอ่ะ)
ด้วยประการฉะนั้น โปรดคิดมากไม่ต่ำกว่าสองครั้ง และสงสัยไม่ต่ำกว่าสามครั้ง เวลาได้ยินผู้ใดกล่าวอ้างเอาศีลธรรมมาสร้างความชอบธรรมในทางการเมืองให้กับตัวเอง
...จริงๆนะ
................................
*หัวหน้าแก๊งค์หงซิ่ง แห่งซีรีส์หนังจีนอมตะ "กู๋หว่าจ๋าย" หนังมันส์แต่นางเอกตายทุกภาค (มีประมาณสิบกว่าภาค นางเอกรีไซเคิลเพียบ)
Wednesday, May 16, 2007
A depress-sion
Well, this week I'm depressed.
First of all, instead of finishing the first draft of my core essay early, I finished it a day late. Now, my supervisor don't have time to read it for me. I take all the responsibility (for being late). Herrrrrr.
Second, I'm stucked with my thesis, couldn't outline the specific question yet. I know it's early, since I'll have a year to do the thesis. But I'm worried. Still don't have much time coz I need to prepare for exams.
Not to ask for sympathy, just to let you know.
First of all, instead of finishing the first draft of my core essay early, I finished it a day late. Now, my supervisor don't have time to read it for me. I take all the responsibility (for being late). Herrrrrr.
Second, I'm stucked with my thesis, couldn't outline the specific question yet. I know it's early, since I'll have a year to do the thesis. But I'm worried. Still don't have much time coz I need to prepare for exams.
Not to ask for sympathy, just to let you know.
Thursday, May 10, 2007
ศีลธรรมกับการเมือง: บทเรียนจากกระแสชาตินิยมฮินดู (1)
"เบื้องหลังหน้ากากแห่งศีลธรรม มีแต่ความเกลียดชัง ความกลัว และความต้องการอยู่เหนือกว่า"
(สเตลิออส ยานาคูโปลอส* ปราชญ์ชาวกรีก)
...............................
ท่ามกลางกระแสศีลธรรมนำการเมืองในเมืองไหแลนด์ที่รัก
กระผมขอนำท่านๆไปดูสิ่งที่เกิดในประเทศใกล้ตัว เผื่อจะเปิดหูเปิดตารู้บ้างว่ามุขเดิมๆมันมักจะเกิดในการเมืองเสมอ ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม...
อินเดียมักถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับจากจำนวนประชากร)
ประชาธิปไตยในอินเดียนั้น แม้มักจะถูกนักวิชาการหลายแขนง (ทั้งขวา ซ้าย เกย์ ได้โนเบล) กล่าวถึงอยู่เนืองๆว่ามีที่มาแต่โบราณมั่กๆ แต่เอาเข้าจริงก็ควรจะนับว่าอินเดียเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวตั้งแต่หลังได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
โดยหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ก็เดินตามรอยอังกฤษในการใช้ระบบ Parliamentary ซึ่งมีการแบ่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชัดเจน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร
ช่วงแรกของประชาธิปไตยในอินเดียนั้น เป็นช่วงที่การเมืองถูก dominate โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรค Congress ผู้เป็นผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้ผู้นำพรรค Congress ที่โด่งดังในอดีตก็คือ ท่านมหาตมะคานธี นั่นเอง
พรรค Congress ชนะเลือกตั้งสบายๆมาหลายสมัย ตั้งแต่ เนห์รู มาถึงลูกสาวของเขา อินทิรา คานธี และก็ลูกชายของอินทิรา ราจีฟ คานธี
และด้วยฝีมือการบริหารของ อินธิรา และ ราจีฟ ซึ่งเน้นการเมืองป๊อปไอด้อล แบบว่าข้าเด่นคนเดียว ผู้นำอยู่เหนือพรรค (คุ้นๆป่ะ) และนโยบายประชานิยมสุกเอาเผากิน ด้วยโฆษนาขี้โม้ End Poverty (คุ้นๆป่ะ คนจนจะหมดไปอ่ะ) พรรค Congress ก็เลยกลายเป็นพรรคที่อ่อนแอลง เสื่อมลง เสื่อมลง กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะคนไม่หายจนซะที (สมัยอินทิรา) บอกจะแก้คอร์รัปชั่น พี่แกเล่นแด๊กเองแล้วโดนจับได้ (สมัยราจีฟ ผู้เคยมีฉายาว่า Mr.Clean แต่ตอนสุดท้ายก่อนตายถูกสืบสวนพบว่ามีส่วนพัวพันคดีคอร์รัปชั่นใหญ่)
แต่แม้พรรค Congress จะเสื่อมลงไป ก็ยังทิ้งผลงานการบริหารประเทศที่สำคัญไว้หลายประการ ที่สำคัญเห็นจะเป็นการทำให้อินเดียเป็นรัฐแบบ Secular ซึ่งหมายถึงการแยกการเมืองออกจากศาสนา เพราะเมื่อครั้งเรียกร้องอิสรภาพนั้น พรรค Congress เป็นต้องรวบรวมกำลังจากหลายศาสนา เชื้อชาติ และวรรณะ ในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย ทำให้พรรค Congress ต้องไม่เอาความต่างเหล่านี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง มิเช่นนั้นขบวนการขับไล่อังกฤษอาจแตกแยกได้
พรรค Congress ก็อ่อนแอ้ อ่อนแอ การเมืองก็มีแต่คนว่าๆสกปรก ขาดศีลธรรม
แต่..อนิจจา อินเดียคงทำบุญมามากกว่าไหแลนด์ เพราะม่ายมีทหารกับผู้มีบารมีมาปฎิวัติ ม่ายมีใครให้ขอม.7 ประชาธิปไตยของอินเดียก็อยู่ของมันต่อไป
กลับกัน ประชาชนชั้นล่างของอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่มีวรรณะต่ำกว่าและพวกต่างศาสนา กลับมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุนั้นน่ะหรือ นักวิชาการจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ขอเอ่ยนาม (เพราะจำไม่ได้) บอกว่าเป็นเพราะประชาชนชั้นล่างและคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกเหยีดหยามและดูถูกโดยระบบวรรณะมานานแสนนาน พอมีประชาธิปไตยที่ให้สิทธิทางการเมืองกับพวกเขาได้เท่ากับคนอื่นๆ เขาก็เลยต้องการจะแสดงให้เห็นสิทธิของตัวเองบ้าง
ประชาชน คนชั้นล่างเหล่านี้ อาศัยโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่อ่อนแอลง สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆที่เป็นตัวแทนพวกตน เช่น ตัวแทนวรรณะ ตัวแทนเชื้อชาติและศาสนา ที่ล้วนหลากหลายมากๆเข้าไปนั่งในสภา ทำให้การเมืองของอินเดียแปรสภาพจากที่ถูก Dominate โดยพรรคใหญ่ มาเป็นการเมืองที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากมาแบ่งเค๊กกัน
ประชาธิปไตย ที่คุณภาพห่วยๆ ศีลธรรมแย่ๆ ก็กลายมาเป็นของมีค่าสำหรับคนชั้นล่าง ทั้งที่วรรณะต่ำ หรือที่มีความต่างทางศาสนาและเชื้อชาติในอินเดีย
และด้วยลักษณะเช่นนี้ ภาษาวัยรุ่นต้องกล่าวว่า เสร็จเจ๊ (เบียบหรือป. เค้าไม่รู้นะ) เพราะโดนด่าอย่างกรีดกรายได้ว่า... นักการเมืองที่เกิดมาตามเสียงของคนชั้นล่างเหล่านั้นอัปรีย์เพราะถูกเลือกโดยประชากรผู้โง่เขลา คนระดับล่างไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรม เลือกนักการเมืองที่โกงกินเข้ามาบริหารบ้านเมือง (โอ๊ย!!! เสียงชาวไหแลนด์โดนกระทบ)
ก็น่านล่ะ สภาพเบื้องต้นที่นำไปสู่กระแสชาตินิยมฮินดู ที่เอา "ศีลธรรมนำการเมือง" รวมถึงเรียกร้องให้มี "ศาสนาประจำชาติ" ประดุจดั่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในไหแลนด์ตอนนี้เลย.....(แต่ของเขาเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วนะ แต่ก็เอาเถอะ ประชาธิปไตยบ้านเราชอบวิ่งไปกลับอยู่แล้ว)
แต่เพราะเราจะไปเขียน Essay ส่ง เพราะฉะนั้นจะกลับมาเขียนตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะ
.................
*หมายเหตุ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับทีม Bolton ในพรีเมียร์ชิพ
(สเตลิออส ยานาคูโปลอส* ปราชญ์ชาวกรีก)
...............................
ท่ามกลางกระแสศีลธรรมนำการเมืองในเมืองไหแลนด์ที่รัก
กระผมขอนำท่านๆไปดูสิ่งที่เกิดในประเทศใกล้ตัว เผื่อจะเปิดหูเปิดตารู้บ้างว่ามุขเดิมๆมันมักจะเกิดในการเมืองเสมอ ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม...
อินเดียมักถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับจากจำนวนประชากร)
ประชาธิปไตยในอินเดียนั้น แม้มักจะถูกนักวิชาการหลายแขนง (ทั้งขวา ซ้าย เกย์ ได้โนเบล) กล่าวถึงอยู่เนืองๆว่ามีที่มาแต่โบราณมั่กๆ แต่เอาเข้าจริงก็ควรจะนับว่าอินเดียเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวตั้งแต่หลังได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
โดยหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ก็เดินตามรอยอังกฤษในการใช้ระบบ Parliamentary ซึ่งมีการแบ่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชัดเจน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร
ช่วงแรกของประชาธิปไตยในอินเดียนั้น เป็นช่วงที่การเมืองถูก dominate โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรค Congress ผู้เป็นผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้ผู้นำพรรค Congress ที่โด่งดังในอดีตก็คือ ท่านมหาตมะคานธี นั่นเอง
พรรค Congress ชนะเลือกตั้งสบายๆมาหลายสมัย ตั้งแต่ เนห์รู มาถึงลูกสาวของเขา อินทิรา คานธี และก็ลูกชายของอินทิรา ราจีฟ คานธี
และด้วยฝีมือการบริหารของ อินธิรา และ ราจีฟ ซึ่งเน้นการเมืองป๊อปไอด้อล แบบว่าข้าเด่นคนเดียว ผู้นำอยู่เหนือพรรค (คุ้นๆป่ะ) และนโยบายประชานิยมสุกเอาเผากิน ด้วยโฆษนาขี้โม้ End Poverty (คุ้นๆป่ะ คนจนจะหมดไปอ่ะ) พรรค Congress ก็เลยกลายเป็นพรรคที่อ่อนแอลง เสื่อมลง เสื่อมลง กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะคนไม่หายจนซะที (สมัยอินทิรา) บอกจะแก้คอร์รัปชั่น พี่แกเล่นแด๊กเองแล้วโดนจับได้ (สมัยราจีฟ ผู้เคยมีฉายาว่า Mr.Clean แต่ตอนสุดท้ายก่อนตายถูกสืบสวนพบว่ามีส่วนพัวพันคดีคอร์รัปชั่นใหญ่)
แต่แม้พรรค Congress จะเสื่อมลงไป ก็ยังทิ้งผลงานการบริหารประเทศที่สำคัญไว้หลายประการ ที่สำคัญเห็นจะเป็นการทำให้อินเดียเป็นรัฐแบบ Secular ซึ่งหมายถึงการแยกการเมืองออกจากศาสนา เพราะเมื่อครั้งเรียกร้องอิสรภาพนั้น พรรค Congress เป็นต้องรวบรวมกำลังจากหลายศาสนา เชื้อชาติ และวรรณะ ในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย ทำให้พรรค Congress ต้องไม่เอาความต่างเหล่านี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง มิเช่นนั้นขบวนการขับไล่อังกฤษอาจแตกแยกได้
พรรค Congress ก็อ่อนแอ้ อ่อนแอ การเมืองก็มีแต่คนว่าๆสกปรก ขาดศีลธรรม
แต่..อนิจจา อินเดียคงทำบุญมามากกว่าไหแลนด์ เพราะม่ายมีทหารกับผู้มีบารมีมาปฎิวัติ ม่ายมีใครให้ขอม.7 ประชาธิปไตยของอินเดียก็อยู่ของมันต่อไป
กลับกัน ประชาชนชั้นล่างของอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่มีวรรณะต่ำกว่าและพวกต่างศาสนา กลับมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุนั้นน่ะหรือ นักวิชาการจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ขอเอ่ยนาม (เพราะจำไม่ได้) บอกว่าเป็นเพราะประชาชนชั้นล่างและคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกเหยีดหยามและดูถูกโดยระบบวรรณะมานานแสนนาน พอมีประชาธิปไตยที่ให้สิทธิทางการเมืองกับพวกเขาได้เท่ากับคนอื่นๆ เขาก็เลยต้องการจะแสดงให้เห็นสิทธิของตัวเองบ้าง
ประชาชน คนชั้นล่างเหล่านี้ อาศัยโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่อ่อนแอลง สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆที่เป็นตัวแทนพวกตน เช่น ตัวแทนวรรณะ ตัวแทนเชื้อชาติและศาสนา ที่ล้วนหลากหลายมากๆเข้าไปนั่งในสภา ทำให้การเมืองของอินเดียแปรสภาพจากที่ถูก Dominate โดยพรรคใหญ่ มาเป็นการเมืองที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากมาแบ่งเค๊กกัน
ประชาธิปไตย ที่คุณภาพห่วยๆ ศีลธรรมแย่ๆ ก็กลายมาเป็นของมีค่าสำหรับคนชั้นล่าง ทั้งที่วรรณะต่ำ หรือที่มีความต่างทางศาสนาและเชื้อชาติในอินเดีย
และด้วยลักษณะเช่นนี้ ภาษาวัยรุ่นต้องกล่าวว่า เสร็จเจ๊ (เบียบหรือป. เค้าไม่รู้นะ) เพราะโดนด่าอย่างกรีดกรายได้ว่า... นักการเมืองที่เกิดมาตามเสียงของคนชั้นล่างเหล่านั้นอัปรีย์เพราะถูกเลือกโดยประชากรผู้โง่เขลา คนระดับล่างไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรม เลือกนักการเมืองที่โกงกินเข้ามาบริหารบ้านเมือง (โอ๊ย!!! เสียงชาวไหแลนด์โดนกระทบ)
ก็น่านล่ะ สภาพเบื้องต้นที่นำไปสู่กระแสชาตินิยมฮินดู ที่เอา "ศีลธรรมนำการเมือง" รวมถึงเรียกร้องให้มี "ศาสนาประจำชาติ" ประดุจดั่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในไหแลนด์ตอนนี้เลย.....(แต่ของเขาเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วนะ แต่ก็เอาเถอะ ประชาธิปไตยบ้านเราชอบวิ่งไปกลับอยู่แล้ว)
แต่เพราะเราจะไปเขียน Essay ส่ง เพราะฉะนั้นจะกลับมาเขียนตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะ
.................
*หมายเหตุ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับทีม Bolton ในพรีเมียร์ชิพ
Tuesday, May 01, 2007
Coming back from the exams
Hi Guys,
After a long quest in dealing with the Oxonian exams, finally I got it done. It's such a pleasure, so I did take a week off from work, enjoyed myself and the sun (which is now back on the blue sky). Things were great last week, I got my laptop back repaired, and I accomplished one of my dream - which is to go to watch Arsenal play at their new stadium. Good things happen in sequence, indeed.
I'll be back to update my blog with more thoughts. I'll try to be consistent, probably around once or twice a week then. During the preparation for the exams, I got so many good ideas coming up to my mind. Sadly, I didn't have time to put them here. Anyway, I can still remember them, and will be bombarding you guys with these rubbish thoughts pretty soon.
Things are cool!
After a long quest in dealing with the Oxonian exams, finally I got it done. It's such a pleasure, so I did take a week off from work, enjoyed myself and the sun (which is now back on the blue sky). Things were great last week, I got my laptop back repaired, and I accomplished one of my dream - which is to go to watch Arsenal play at their new stadium. Good things happen in sequence, indeed.
I'll be back to update my blog with more thoughts. I'll try to be consistent, probably around once or twice a week then. During the preparation for the exams, I got so many good ideas coming up to my mind. Sadly, I didn't have time to put them here. Anyway, I can still remember them, and will be bombarding you guys with these rubbish thoughts pretty soon.
Things are cool!
Friday, April 06, 2007
youtube.com, global challenge to the Thai culture
What a challenge it has been for the divine status of the Thai monarchy!
From the Jufer case, the first non-Thai to face prison sentence due to Les-Majeste law, to the blocking of youtube.com.
I'm the big fan of youtube.com, so I followed the news regarding the matters closely.
What I feel is, certainly, the Thai culture has faced the challenges from globalization. Thai culture cannot be viewed as homogenous, unity, bounded. It's more like a continue dialouge between the spread of the global culture and the pre-existing Thai culture.
We have to accept that, up to this point, all the aspect of any culture have to face challenges from different perspectives.
The important question is, therefore, how should we react to any challenge from the global (or, perhaps, Western) cultures that don't hold the same perspective as us.
Much of the Thai government and the Thai elites in the past decided to dealt with the spread of global challenges by "censorship". We must not forget that one there were many books that were perceived as a threat to nation burned.
Now, facing the recent challenges, the Thai government moved to block the website. In my opinion, the block is, however, such an outdated solution to the problem. It only resulted more in curiuosity, and only provoke more challenges.
Thai elite and government should, perhaps, start to realize that "you cannot close people's eyes, ears, and shut people's mouths forever!".
From the Jufer case, the first non-Thai to face prison sentence due to Les-Majeste law, to the blocking of youtube.com.
I'm the big fan of youtube.com, so I followed the news regarding the matters closely.
What I feel is, certainly, the Thai culture has faced the challenges from globalization. Thai culture cannot be viewed as homogenous, unity, bounded. It's more like a continue dialouge between the spread of the global culture and the pre-existing Thai culture.
We have to accept that, up to this point, all the aspect of any culture have to face challenges from different perspectives.
The important question is, therefore, how should we react to any challenge from the global (or, perhaps, Western) cultures that don't hold the same perspective as us.
Much of the Thai government and the Thai elites in the past decided to dealt with the spread of global challenges by "censorship". We must not forget that one there were many books that were perceived as a threat to nation burned.
Now, facing the recent challenges, the Thai government moved to block the website. In my opinion, the block is, however, such an outdated solution to the problem. It only resulted more in curiuosity, and only provoke more challenges.
Thai elite and government should, perhaps, start to realize that "you cannot close people's eyes, ears, and shut people's mouths forever!".
Tuesday, April 03, 2007
Non-sense
Hi guys,
Since I've an exams coming up, I have decided to randomly waste my time writing things up on my blog again. Before I decided to write this post, I have found that much of the blogs that I have normally visited have been very inactive lately. C'mon guys, I need to read some of your story, update your blog. Well, if you aren't going to update them, let me do mine first.
What a hell boring life I'm having at the moment. I have nothing to do apart from reading for my qualifying exams. The weather has been nice last week (when weather is nice in England, that really means a lot), but I didn't do anything apart from lving in the library. Sometime I talked to myself, "what da hell am I doing here in the library when the skies are so blue".
My second term here has been much better than the first term. The English problem has been overcome, not completely, but to some extent. My social life is better, I got to know more people. And I found housemaids for next year from my course, a bunch of nice european people. My academic performance has also been better, part of it due to an improvement in my English. However, it's still far from reaching a satisfied level.
I'll keep on updating you guys with some more non-sense post in the near future.
Since I've an exams coming up, I have decided to randomly waste my time writing things up on my blog again. Before I decided to write this post, I have found that much of the blogs that I have normally visited have been very inactive lately. C'mon guys, I need to read some of your story, update your blog. Well, if you aren't going to update them, let me do mine first.
What a hell boring life I'm having at the moment. I have nothing to do apart from reading for my qualifying exams. The weather has been nice last week (when weather is nice in England, that really means a lot), but I didn't do anything apart from lving in the library. Sometime I talked to myself, "what da hell am I doing here in the library when the skies are so blue".
My second term here has been much better than the first term. The English problem has been overcome, not completely, but to some extent. My social life is better, I got to know more people. And I found housemaids for next year from my course, a bunch of nice european people. My academic performance has also been better, part of it due to an improvement in my English. However, it's still far from reaching a satisfied level.
I'll keep on updating you guys with some more non-sense post in the near future.
Thursday, March 22, 2007
computer breakdown, and exam coming up
Hi,I disappeared for a long time. Since after I finished my last essay, I took a week off from work.
However, after I'm back, the disaster happened to my computer. I accidentally spilled some water over it. So it died.
Now, I'm without my computer. So, I won't have that much chance to update this blog. In addition, I will have to prepare for my qualifying exams, which are coming up in April. So, I will take this chance to freeze this blog for at least a month, until I finished my exam.
Sorry, and see you again when the sky is blue.
However, after I'm back, the disaster happened to my computer. I accidentally spilled some water over it. So it died.
Now, I'm without my computer. So, I won't have that much chance to update this blog. In addition, I will have to prepare for my qualifying exams, which are coming up in April. So, I will take this chance to freeze this blog for at least a month, until I finished my exam.
Sorry, and see you again when the sky is blue.
Friday, March 09, 2007
essay สุดท้ายยยยยยย
โอ้ยๆๆๆๆ ในที่สุดก็มาถึง essay สุดท้ายของเทอมแล้ว
แต่แปลกจัง พอมาถึงอันสุดท้าย มันน่าจะง่ายที่สุด
กลับปรากฏว่า มันยากแฮะ คิดว่ายากพอๆกับอันแรกๆเลย
ที่ยากนี่ไม่ใช่เพราะอะไร เป็นเพราะหมดแรงแล้ว แล้วจิตใจก็ไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว
ตอนแรกเห็นเป็นอันสุดท้ายเลยตั้งเป้าไว้สูงมากๆ กะว่าแบบต้องเลิศสุดๆ
พอเตรียมๆไป โอ้จอร์จ มันหน่วงมากๆๆๆๆ
ตอนนี้เลยติดแหง่กอยู่นี่ล่ะ เมื่อไหร่จะเสร็จฟะเนี่ย....
แต่แปลกจัง พอมาถึงอันสุดท้าย มันน่าจะง่ายที่สุด
กลับปรากฏว่า มันยากแฮะ คิดว่ายากพอๆกับอันแรกๆเลย
ที่ยากนี่ไม่ใช่เพราะอะไร เป็นเพราะหมดแรงแล้ว แล้วจิตใจก็ไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว
ตอนแรกเห็นเป็นอันสุดท้ายเลยตั้งเป้าไว้สูงมากๆ กะว่าแบบต้องเลิศสุดๆ
พอเตรียมๆไป โอ้จอร์จ มันหน่วงมากๆๆๆๆ
ตอนนี้เลยติดแหง่กอยู่นี่ล่ะ เมื่อไหร่จะเสร็จฟะเนี่ย....
Thursday, March 08, 2007
Message from one of the Constitution Drafting Committee
In "the Nation" today. The Constitution Drafting Committe had a hot debate on whether the non-elected PM would be allowed in the next constitution
The Nation's news is as follows:
..................................
Sriracha Charoenpanich was the main advocate of a non-elected PM being allowed under the new charter, and even Constitution Drafting Committee Chairman Prasong Soonsiri supported the idea, which is a departure from the 1997 constitution.
Sriracha said:
"I don't think I will join the drafting of yet another new charter because it's of no use. We are like trapped rats. If we follow the same old road to failure, I think I should just pack my bags this evening [and leave the drafting process]. I'm not a conduit for the Council of National Security, but if we get the same old result after the election then what problems will this charter solve?
"I don't see your [democratic] ideology as effective. We're like a cart stuck in the same track and Vietnam is about to surpass us. What will you get, talking about democracy?"
..................................
The committee will hold the vote on this issue in April.
Well, what do you think? A non-elected PM!
Anyway! As Khun Sriracha said, they want to aviod going on the same road to failure like 1997 constitution....
So they want to go "back" to....ประชาธิปไตยครึ่งใบ....and perhaps เผด็จการทหาร?
Vietnam is surpassing us.....
"So we should follow Burma's path?"
The Nation's news is as follows:
..................................
Sriracha Charoenpanich was the main advocate of a non-elected PM being allowed under the new charter, and even Constitution Drafting Committee Chairman Prasong Soonsiri supported the idea, which is a departure from the 1997 constitution.
Sriracha said:
"I don't think I will join the drafting of yet another new charter because it's of no use. We are like trapped rats. If we follow the same old road to failure, I think I should just pack my bags this evening [and leave the drafting process]. I'm not a conduit for the Council of National Security, but if we get the same old result after the election then what problems will this charter solve?
"I don't see your [democratic] ideology as effective. We're like a cart stuck in the same track and Vietnam is about to surpass us. What will you get, talking about democracy?"
..................................
The committee will hold the vote on this issue in April.
Well, what do you think? A non-elected PM!
Anyway! As Khun Sriracha said, they want to aviod going on the same road to failure like 1997 constitution....
So they want to go "back" to....ประชาธิปไตยครึ่งใบ....and perhaps เผด็จการทหาร?
Vietnam is surpassing us.....
"So we should follow Burma's path?"
Monday, March 05, 2007
มหาลัยที่รัก
พอดีเจอ Quote น่าสนใจ
เขาบอกว่า ปี 1840 ชนชั้นสูงของ Brazil ชื่นชอบความเป็นเสรีนิยมมากแต่เป็นแบบ
"endorsing liberalism in principles, but enbracing conservative in practices"
อ่านแล้วขำ รู้สึกเหมือนเคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน
มหาลัยที่ชอบบอกว่าตัวเองมีเสรีภาพทุกตารางนิ้วอ่ะ....
เขาบอกว่า ปี 1840 ชนชั้นสูงของ Brazil ชื่นชอบความเป็นเสรีนิยมมากแต่เป็นแบบ
"endorsing liberalism in principles, but enbracing conservative in practices"
อ่านแล้วขำ รู้สึกเหมือนเคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน
มหาลัยที่ชอบบอกว่าตัวเองมีเสรีภาพทุกตารางนิ้วอ่ะ....
Monday, February 26, 2007
Beer Review: Hoegaarden White Beer
อาทิตย์ที่แล้วรีวิว New Castle Brown Ale ไปแล้ว
คราวนี้มาลองรีวิวเบียร์"ขาว"บ้าง
ขึ้นชื่อว่าเบียร์ "ขาว" แล้วมีดีขนาดไหนกัน
Hoegaarden White Beer ครับพี่น้อง
รสชาติ: ออกแนวบางๆ มีกลิ่นผลไม้ปนนิดๆ ประมาณว่าเกือบๆจะเป็นเบียร์ผู้หญิงเลย ตอนไปผับกับเพื่อนอังกฤษก็เห็นพวกผู้หญิงดื่มแต่ยี่ห้อนี้ อืม...คงไม่โดนหาว่ากินเบียร์ที่ผู้หญิงเขากินกันนะ
ราคา: สองปอนด์กว่าๆ แพงพอดู แต่ก็ไม่มากไปกว่ายี่ห้ออื่น
ความแรง:เบามากๆครับ แบบดื่มได้เรื่อยๆไม่แฮ้ง
ดีไซน์: ไม่เคยเห็นเป็นขวดอะ เห็นมีแต่ขายตามผับเป็นเบียร์สด แต่จะมีแก้วของตัวเองเป็นพิเศษ แก้วก็งั้นๆ
ตำนาน: ไม่รู้คับ
เอ่อ ให้คะแนนละกัน ให้ 8.5 เต็มสิบพอ เพราะไม่โหดดุดันดั่งใจ อ่อนโยนนุ่มนิ่มตอนนี้เราไม่ชอบ ไม่เหมาะกับสถานการณ์ออกรบ (ตอนนี้ต้องบิวด์จิตใจหนัก เพราะใกล้สอบแล้ว ไม่มีเวลาอ่อนโยน)
.........................
เอาล่ะ เรื่องเบียร์พอก่อน ตอนนี้ขอถือวิสาสะอัพเดตความเป็นไปให้ชาวบ้านชาวช่องที่ไม่อยากรู้ต้องรู้บ้าง
่อ่า เหลืออีกสองอาทิตย์เองจะปิดภาคเรียนอีกแล้ว
นี่มันมหาลัยไรฟะเนี่ย เรียนสั้นชิบ
นี่ภาษาเพิ่งจะพอนั่่งเม้าท์กับชาวบ้านชาวช่องได้ ก็ปิดเทอมพอดี ว้า....
แต่เปิดเทอมมานี่สิ สอบเลยครับพ้ม สอบนี่ก็โหดจัด คำถามนี่กว้างเป็นมหาสมุทรแปซิฟิครวมกับแอตแลนติก กว้างไม่พอยากอีกตะหาก
.............
วันนี้อยู่ดีๆไปนั่งทำงานกลุ่ม เพื่อนมันก็มา google ชื่อเราเฉยเลย เลยไปเจอรูปที่คณะขึ้นมา ความลับเลยแตกว่าเป็นอาจารย์มาเรียนต่อ...มันแซวใหญ่เลย
เราเลย google มันกลับบ้าง ปรากฏว่าพี่แกเป็นคนดังมาจาก UC Berkeley แบบว่าได้ทุนมาเรียนจากที่นั้นเพราะเก่งจัด บวกเป็นประธานโครงการ NGO ขนาดใหญ่ในปาเลสไตน์ (Google ไปเจอข่าวมันเยอะแยะไปหมด มีรูปคู่ Tony Blair ด้วย)อายุยังไม่เท่าไหร่เลย
ทีนี้เลยลอง google เพื่อนอีกคนดู ก็เจอเป็นคนดังเหมือนกัน เป็น Researcher มาจาก World Bank ที่ D.C. งานในเน็ตเยอะแยะไปหมด
เอ่อ เลยลองหาคนโน้นคนนี้ครับ ปรากฏว่ารู้สึกคอร์สที่เรียนอยู่นี่จะมีแต่พวกเทพๆเยอะ เอ่อ มิน่า...มันฉลาดกัน มีแต่พวก high profile
...............
ว่าแล้วก็ไปเขียน essay ต่อดีกว่า
คราวนี้มาลองรีวิวเบียร์"ขาว"บ้าง
ขึ้นชื่อว่าเบียร์ "ขาว" แล้วมีดีขนาดไหนกัน
Hoegaarden White Beer ครับพี่น้อง
รสชาติ: ออกแนวบางๆ มีกลิ่นผลไม้ปนนิดๆ ประมาณว่าเกือบๆจะเป็นเบียร์ผู้หญิงเลย ตอนไปผับกับเพื่อนอังกฤษก็เห็นพวกผู้หญิงดื่มแต่ยี่ห้อนี้ อืม...คงไม่โดนหาว่ากินเบียร์ที่ผู้หญิงเขากินกันนะ
ราคา: สองปอนด์กว่าๆ แพงพอดู แต่ก็ไม่มากไปกว่ายี่ห้ออื่น
ความแรง:เบามากๆครับ แบบดื่มได้เรื่อยๆไม่แฮ้ง
ดีไซน์: ไม่เคยเห็นเป็นขวดอะ เห็นมีแต่ขายตามผับเป็นเบียร์สด แต่จะมีแก้วของตัวเองเป็นพิเศษ แก้วก็งั้นๆ
ตำนาน: ไม่รู้คับ
เอ่อ ให้คะแนนละกัน ให้ 8.5 เต็มสิบพอ เพราะไม่โหดดุดันดั่งใจ อ่อนโยนนุ่มนิ่มตอนนี้เราไม่ชอบ ไม่เหมาะกับสถานการณ์ออกรบ (ตอนนี้ต้องบิวด์จิตใจหนัก เพราะใกล้สอบแล้ว ไม่มีเวลาอ่อนโยน)
.........................
เอาล่ะ เรื่องเบียร์พอก่อน ตอนนี้ขอถือวิสาสะอัพเดตความเป็นไปให้ชาวบ้านชาวช่องที่ไม่อยากรู้ต้องรู้บ้าง
่อ่า เหลืออีกสองอาทิตย์เองจะปิดภาคเรียนอีกแล้ว
นี่มันมหาลัยไรฟะเนี่ย เรียนสั้นชิบ
นี่ภาษาเพิ่งจะพอนั่่งเม้าท์กับชาวบ้านชาวช่องได้ ก็ปิดเทอมพอดี ว้า....
แต่เปิดเทอมมานี่สิ สอบเลยครับพ้ม สอบนี่ก็โหดจัด คำถามนี่กว้างเป็นมหาสมุทรแปซิฟิครวมกับแอตแลนติก กว้างไม่พอยากอีกตะหาก
.............
วันนี้อยู่ดีๆไปนั่งทำงานกลุ่ม เพื่อนมันก็มา google ชื่อเราเฉยเลย เลยไปเจอรูปที่คณะขึ้นมา ความลับเลยแตกว่าเป็นอาจารย์มาเรียนต่อ...มันแซวใหญ่เลย
เราเลย google มันกลับบ้าง ปรากฏว่าพี่แกเป็นคนดังมาจาก UC Berkeley แบบว่าได้ทุนมาเรียนจากที่นั้นเพราะเก่งจัด บวกเป็นประธานโครงการ NGO ขนาดใหญ่ในปาเลสไตน์ (Google ไปเจอข่าวมันเยอะแยะไปหมด มีรูปคู่ Tony Blair ด้วย)อายุยังไม่เท่าไหร่เลย
ทีนี้เลยลอง google เพื่อนอีกคนดู ก็เจอเป็นคนดังเหมือนกัน เป็น Researcher มาจาก World Bank ที่ D.C. งานในเน็ตเยอะแยะไปหมด
เอ่อ เลยลองหาคนโน้นคนนี้ครับ ปรากฏว่ารู้สึกคอร์สที่เรียนอยู่นี่จะมีแต่พวกเทพๆเยอะ เอ่อ มิน่า...มันฉลาดกัน มีแต่พวก high profile
...............
ว่าแล้วก็ไปเขียน essay ต่อดีกว่า
Saturday, February 17, 2007
Beer Review: New Castle Brown Ale
I just had this beer last night!
Well, it's actually not beer, it's ale...but I can't see the different. So let's call it beer (this is a drunk man ignorance).
1) Taste: the taste is very smooth and unique. you can't really feel the biiterness of it. It definitely taste better than all kind of beer I had berfore in Thailand. รสชาติกลมกล่อม ได้ใจมากๆ
2) Design: the bottle size is big. I think the size is comparable to 1 pint of beer, which is really good coz you don't have to buy new bottle often. The design is very nice. The fact that the choose to use clear bottle can possibly cause bad effect for those that don't drink fast. ดื่มช้า ดื่มไม่หมด เห็นหมดเลย
3) Price: I didn't know how much I paid. First time I was in rush, and second time I was เอ่อ.....drunk man ignorance (again)
4) Story: man, there's so many story to tell about this beer. You can find out from
http://www.answers.com/topic/newcastle-brown-ale
5) Effect: since I'm not a คอทองแดง drinker, I think this beer suits me really well. The effect is not so strong. And few hours after you got drunk by this beer, you don't really feel the hangover anymore. Instead, you start to see the beautifulness of this world.....again.
Overall Score: I'm so impressed. I give it 10 out of 10.
wait for the next beer review...probably next Saturday, when I got a chance to free myself from the BLOODY OXFORD'S WORKLOADS again.
Watch this space for the future of Thailand: Hypocrite's Development Policy
After I have been thinking about Thailand's future, something comes up to my mind.
I think the future of Thai's development policy will have the following characteristics;
1) Promoting "cultural values" (of-course, Thai cultural values of Buddhism), and if things continue like this: ความพอเพียง will dominates.
2) Nationalism: รักชาติ คนไทยหรือเปล่า.... ไม่เห็นด้วยกับเราคุณก็ไม่รักชาติ โย่วๆๆๆ, this really support the development policy based on cultural values, moral values, to dominate.
3) Populism: populist policies based on promoting Nationalism and cultural values (don't get confuse by those discourse which say populist policies are only those of Thaksin, I don't see any reason what "เศรษฐกิจพอเพียง" cannot be called "populism", it also uses lot of propraganda to a mobilise support from mass.
......and finally, the most important......
4) Neo-liberalism: Of-course Thai economy in too much integrated with the world economy, we can't stop our journey on "Neo-liberalism" path. Thailand has to continue its liberalisation, relying heavily as ever on the forieign investors.
If four major characteristics of development policy continue, I'd say the future of Thai development can be best described by this word "HYPOCRITE'S".
Think about it like this, we focuses on our cultural values -- to shift our attention from any redistribution policy, from the structural problems of our economy. But liberalise -- to protect the benefits accrues to the middle and upper class.
All I can see, if we have the development policy like this, is the more "inequality", the persistent of "poverty" problems, the "widening gap" between rich and poor.
Sustainable? well, with countinue inequality..sustainability is pretty much in doubt.
Development? can we say these type of policies actually solve any "poverty" problems (poverty, at least, should be the target of any development policy).
I expect that the real effect of these development policy is certainly in doubt. Saying one thing, but actually doing another thing....isn't it "hypocrite's"?
Watch this space for the future of Thailand: Hypocrite's Development Policy!
I think the future of Thai's development policy will have the following characteristics;
1) Promoting "cultural values" (of-course, Thai cultural values of Buddhism), and if things continue like this: ความพอเพียง will dominates.
2) Nationalism: รักชาติ คนไทยหรือเปล่า.... ไม่เห็นด้วยกับเราคุณก็ไม่รักชาติ โย่วๆๆๆ, this really support the development policy based on cultural values, moral values, to dominate.
3) Populism: populist policies based on promoting Nationalism and cultural values (don't get confuse by those discourse which say populist policies are only those of Thaksin, I don't see any reason what "เศรษฐกิจพอเพียง" cannot be called "populism", it also uses lot of propraganda to a mobilise support from mass.
......and finally, the most important......
4) Neo-liberalism: Of-course Thai economy in too much integrated with the world economy, we can't stop our journey on "Neo-liberalism" path. Thailand has to continue its liberalisation, relying heavily as ever on the forieign investors.
If four major characteristics of development policy continue, I'd say the future of Thai development can be best described by this word "HYPOCRITE'S".
Think about it like this, we focuses on our cultural values -- to shift our attention from any redistribution policy, from the structural problems of our economy. But liberalise -- to protect the benefits accrues to the middle and upper class.
All I can see, if we have the development policy like this, is the more "inequality", the persistent of "poverty" problems, the "widening gap" between rich and poor.
Sustainable? well, with countinue inequality..sustainability is pretty much in doubt.
Development? can we say these type of policies actually solve any "poverty" problems (poverty, at least, should be the target of any development policy).
I expect that the real effect of these development policy is certainly in doubt. Saying one thing, but actually doing another thing....isn't it "hypocrite's"?
Watch this space for the future of Thailand: Hypocrite's Development Policy!
Thursday, February 15, 2007
The Story of My Present Uni: Ox
When I was at TU, there was a widespread motto that has been used like tissue paper, this motto is "I love TU, cause TU teaches me to love people".
Well, as I have moved on, and now founnd myself at the new Uni in England. I'd like to share an interesting motto of this university.
"Oxford University: Where Your Best Isn't Good Enough, Since 1117"
Seriously, no one (apart from a few genious I knew here) is really "good enough" here.
I actually have more story to share about this bloody Uni. -- You know you’re at Oxford if:
1. You’ve ever drunk your coffee while sitting on the toilet – to save time.
2. You’ve heard someone give an academic explanation of how they cooked their food.
3. You’ve ever violated three or more traffic laws per mile during your bike ride to the library – to save time.
4. If you find that aforementioned bike ride to be the most relaxing part of your day.
5. If you read for an hour before you realize your trouser legs are still rolled up from the bike ride.
6. If you’ve ever skipped a lecture to go read for the paper due in a week.
7. If you’ve ever told the librarian the name of the historical figure you’re researching – instead of your own name – when collecting your books.
8. When the most annoying part of your day is the 45 seconds it takes for someone to stomp their wooden-soled boots through the library - as loud as they can.
9. If you dream about your research.
10. If you're more worried about losing your Bod card than your bank card.
Well, as I have moved on, and now founnd myself at the new Uni in England. I'd like to share an interesting motto of this university.
"Oxford University: Where Your Best Isn't Good Enough, Since 1117"
Seriously, no one (apart from a few genious I knew here) is really "good enough" here.
I actually have more story to share about this bloody Uni. -- You know you’re at Oxford if:
1. You’ve ever drunk your coffee while sitting on the toilet – to save time.
2. You’ve heard someone give an academic explanation of how they cooked their food.
3. You’ve ever violated three or more traffic laws per mile during your bike ride to the library – to save time.
4. If you find that aforementioned bike ride to be the most relaxing part of your day.
5. If you read for an hour before you realize your trouser legs are still rolled up from the bike ride.
6. If you’ve ever skipped a lecture to go read for the paper due in a week.
7. If you’ve ever told the librarian the name of the historical figure you’re researching – instead of your own name – when collecting your books.
8. When the most annoying part of your day is the 45 seconds it takes for someone to stomp their wooden-soled boots through the library - as loud as they can.
9. If you dream about your research.
10. If you're more worried about losing your Bod card than your bank card.
Sunday, February 11, 2007
Big Quote from Big Guy: Mr.Wenger
If anyone ask me who's my favorite person! The person I adore the most!
Well, you might be surprise, he is not "economist", not "academics", not "Thai".
It's a weird answer, but he is "Arsene Wenger"!!!!!!
This guy is so great! Apart from being a great football manager at great football club, he also has a great attitude.
Recently he gave an interview about his personal life, I got one of an all-time great words that I have ever heard from him.
When he was ask about what has driven him to achieve success, he answered:
"What drives me on is that belief that tomorrow I’ll do things better and be a better person than I am today".
I'm so impressed. By the way, Mr.Wenger got an "economic degree" from a major university in France. An in his works, he always show how an economist would flourish in a real world job.
Well, you might be surprise, he is not "economist", not "academics", not "Thai".
It's a weird answer, but he is "Arsene Wenger"!!!!!!
This guy is so great! Apart from being a great football manager at great football club, he also has a great attitude.
Recently he gave an interview about his personal life, I got one of an all-time great words that I have ever heard from him.
When he was ask about what has driven him to achieve success, he answered:
"What drives me on is that belief that tomorrow I’ll do things better and be a better person than I am today".
I'm so impressed. By the way, Mr.Wenger got an "economic degree" from a major university in France. An in his works, he always show how an economist would flourish in a real world job.
Monday, February 05, 2007
The Society of High-Morality: Buddhadas Bhikku's Perspective
I got this sequences of Than Buddhadas (ท่านพุทธทาส) quotes from the academic paper that I'm reading for my essay.
It's very interesting, since Than Buddhadas proposed his ideal type of society base on his buddhist ideology. The society which is based on the moral ground, and self-restraint of greed.
It might be the type of society that the present (military-chosen) government try to propose; society based on high morality.
Let's see what Than Buddhadas said (the following phases are quoted indirectly from "Buddhism and the Idea of Human Rights: Resonances and Dissonances" by Perry Schmidt-Leukel, University of Glasgow)
“Liberalism cannot provide a basis for social utility because it promotes selfishness,individual benefits rather than social benefits” (Buddhadäsa 1989).
By viewing Liberalism as incompatible ideology for the morality to flourish, Than Buddhahas refused to endorse liberal democracy as desirable mode of government. Proposing instead the socialism dictatorship mode of government to control people morality.
For Buddhadäsa, true freedom consists in conquering all selfish tendencies. A socialism with dictatorial features, being opposed to the liberal ideal of individual freedom, is therefore more suitable for dealing adequately with the problem of selfishness than liberal democracy (Buddhadäsa 1989).
Than Buddhadas stress on the moral quality of dictatorship, by stated that this dictatorship "must" possess the ten virtue of the king (dhamma raja).
However, it is necessary that the socialist dictator follow the Dharma and manifests—in accordance with the ancient Buddhist ideal of the Dharma-king—the ten virtues of kingship (cf. Buddhadäsa 1989)
“If a good person is the ruler the dictatorial socialism will be good, but a bad person will produce an unacceptable type of socialism.A ruler who embodies the ten royal virtues will be the best kind of socialist dictator”(Buddhadäsa 1989).
With high moral dictator in place, looking after citizen who were able to restaint their self-interest. We finally reached the ideal type of society. The Society of High-Morality.
Such an ideal Buddhist dictator, says Buddhadäsa, will look after his people the way good parents look after their children (Buddhadäsa 1989). He will “promote the common good” and “abolish the evil of private, selfish interest”(Buddhadäsa 1989).
The book quoted here as Buddhadäsa 1989, is "Buddhadäsa (1989). Me and Mine: Selected Essays of Bhikkhu Buddhadäsa. Ed. Donald Swearer. New York: SUNY."
Well, I have no intention to criticise Than Buddhadas's idea.
Just want to reflect on the present propagande of this government to promote the society based on restraint of self-interest, greed, and celebrates high morality. These promotions come together with the process of promoting the appointed prime minister as "possessing high morality".
I know many readers will readily accept that promoting the society with high-morality standard is a good idea, since it's in accordance with Buddhist philosophy. But would you like to live under this type of society: Benevolent Social Dictatorship ?
It's very interesting, since Than Buddhadas proposed his ideal type of society base on his buddhist ideology. The society which is based on the moral ground, and self-restraint of greed.
It might be the type of society that the present (military-chosen) government try to propose; society based on high morality.
Let's see what Than Buddhadas said (the following phases are quoted indirectly from "Buddhism and the Idea of Human Rights: Resonances and Dissonances" by Perry Schmidt-Leukel, University of Glasgow)
“Liberalism cannot provide a basis for social utility because it promotes selfishness,individual benefits rather than social benefits” (Buddhadäsa 1989).
By viewing Liberalism as incompatible ideology for the morality to flourish, Than Buddhahas refused to endorse liberal democracy as desirable mode of government. Proposing instead the socialism dictatorship mode of government to control people morality.
For Buddhadäsa, true freedom consists in conquering all selfish tendencies. A socialism with dictatorial features, being opposed to the liberal ideal of individual freedom, is therefore more suitable for dealing adequately with the problem of selfishness than liberal democracy (Buddhadäsa 1989).
Than Buddhadas stress on the moral quality of dictatorship, by stated that this dictatorship "must" possess the ten virtue of the king (dhamma raja).
However, it is necessary that the socialist dictator follow the Dharma and manifests—in accordance with the ancient Buddhist ideal of the Dharma-king—the ten virtues of kingship (cf. Buddhadäsa 1989)
“If a good person is the ruler the dictatorial socialism will be good, but a bad person will produce an unacceptable type of socialism.A ruler who embodies the ten royal virtues will be the best kind of socialist dictator”(Buddhadäsa 1989).
With high moral dictator in place, looking after citizen who were able to restaint their self-interest. We finally reached the ideal type of society. The Society of High-Morality.
Such an ideal Buddhist dictator, says Buddhadäsa, will look after his people the way good parents look after their children (Buddhadäsa 1989). He will “promote the common good” and “abolish the evil of private, selfish interest”(Buddhadäsa 1989).
The book quoted here as Buddhadäsa 1989, is "Buddhadäsa (1989). Me and Mine: Selected Essays of Bhikkhu Buddhadäsa. Ed. Donald Swearer. New York: SUNY."
Well, I have no intention to criticise Than Buddhadas's idea.
Just want to reflect on the present propagande of this government to promote the society based on restraint of self-interest, greed, and celebrates high morality. These promotions come together with the process of promoting the appointed prime minister as "possessing high morality".
I know many readers will readily accept that promoting the society with high-morality standard is a good idea, since it's in accordance with Buddhist philosophy. But would you like to live under this type of society: Benevolent Social Dictatorship ?
Sunday, February 04, 2007
ขี้เกียจ ขี้โกง ขี้อิจฉา ขี้โม้
This 4s ขี้... were given by much of Thai elites as the reason why our country is undeveloped, or developing slowly (If my memory is correct, Sonthi (Boon..) and Anand (Panya..) is among those lastest who use this rhetoric.
Viewing these "culture" as "anti-development", probe ordinary Thai to think that those fail to leap themselves away from misfortune is those that possess below-standard "ethics of life" (They are ขี้เกียจ ขี้โม้ ขี้โกง...ขาดศีลธรรมในการดำเนินชีวิต).
It's a type of answer which "blame it on themselves for their own misfortune". Yes, viewing the all the development problems of our countries this way, the solution to choose in solving the problem is to help the poor realise that their "ethics" is errorness, and help them to change it.
But is it just themselves to blame for their own misfortunes? Is it just themselves to blame on for their poverty?
This way of viewing Thai poors as causing the problem for themselves is, indeed, one way to "shift our attention from our country structural problems". It lead us to think "there's nothing worng with our inequality", while in fact, anyone born in the lower class will eventually enjoy none of the chances that higer or middle class people are able to enjoy".
People born into rural area will of-course have less chances to received proper education, working in agricultural sector in Thailand will allow them to earn so little that would never make them rich.
So, even with this structural problems, we still try to blame that it's their fault that they are poor, because they don't possess that working ethics, that other Thai richs may manage to possess.
And finally, we are now just trying to change the poor people "ethics of lives", by promoting what we know as "ความพอเพียง". Do you really think this will allow Thailand to eradicates her poverty problem. No "NEVER", it's just the same old style of blaming the poor for their own poverty. With so many structural problems out there, we just leave it for the poor to be responsible for themselves.
For myself, it's such "good-sounded" excuses for in the end, leaving the poors poor.
Viewing these "culture" as "anti-development", probe ordinary Thai to think that those fail to leap themselves away from misfortune is those that possess below-standard "ethics of life" (They are ขี้เกียจ ขี้โม้ ขี้โกง...ขาดศีลธรรมในการดำเนินชีวิต).
It's a type of answer which "blame it on themselves for their own misfortune". Yes, viewing the all the development problems of our countries this way, the solution to choose in solving the problem is to help the poor realise that their "ethics" is errorness, and help them to change it.
But is it just themselves to blame for their own misfortunes? Is it just themselves to blame on for their poverty?
This way of viewing Thai poors as causing the problem for themselves is, indeed, one way to "shift our attention from our country structural problems". It lead us to think "there's nothing worng with our inequality", while in fact, anyone born in the lower class will eventually enjoy none of the chances that higer or middle class people are able to enjoy".
People born into rural area will of-course have less chances to received proper education, working in agricultural sector in Thailand will allow them to earn so little that would never make them rich.
So, even with this structural problems, we still try to blame that it's their fault that they are poor, because they don't possess that working ethics, that other Thai richs may manage to possess.
And finally, we are now just trying to change the poor people "ethics of lives", by promoting what we know as "ความพอเพียง". Do you really think this will allow Thailand to eradicates her poverty problem. No "NEVER", it's just the same old style of blaming the poor for their own poverty. With so many structural problems out there, we just leave it for the poor to be responsible for themselves.
For myself, it's such "good-sounded" excuses for in the end, leaving the poors poor.
Friday, February 02, 2007
ทางเลือกที่จะตื่น
เคยดูเดอะเมทริกซ์ภาคแรกไหม?
ตอนพระเอกถูกให้เลือกว่าจะกินยาเม็ดไหนในสองเม็ด เม็ดหนึ่งเพื่อตื่นจากโลกสมมุติที่เดอะเมทริกซ์สร้างขึ้น แล้วพบกับความจริงที่โหดร้ายว่าโลกนั้นถูกครอบงำอยู่โดยเครื่องจักรขนาดยักษ์ กับอีกเม็ดหนึ่งเพื่อกลับไปใช้ชีวิตอย่างสุขสบายต่อไปบนความไม่รู้
คิดไปแล้วมันเหมือนกับทางเลือกที่เราต้องเจอในการเป็นนักวิชาการ หรือการเป็นคนที่ตั้งคำถามมากมายกับสังคม
ในแง่หนึ่งเราอาจไม่ต้องทำงานวิชาการ ไม่ต้องตั้งคำถามก็ได้ แล้วก็ใช้ชีวิตอยู่ต่อไปโดยไม่ต้อง "กลุ้มใจ" กับปัญหาต่างๆในสังคม
แต่ในอีกแง่หนึ่งเราก็เลือกแล้ว ที่จะพยายามไขว่คว้าหาทางทำอะไรสักอย่างให้ไอ้ที่เราเห็นอยู่รอบตัวมันดีขึ้น ยิ่งเรียนไปก็ยิ่งเห็นปัญหาต่างๆมากมาย นู่นก็เป็นปัญหาแบบหนึ่ง นี่ก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง
มันเหมือนเราเลือกที่จะกินยา แล้วตื่นขึ้นมาพบความจริงที่โหดร้ายแบบในเดอะเมทริกซ์
อาจจะต่างกันตรงที่เรา (ผู้เขียน) หล่อน้อยกว่าคีนูนิดนึง แล้วก็ไม่ใช่เดอะวัน แต่เอาเถอะ นั่นไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นคือ สงสัยเป็นหน้าที่ที่เราเลือกแล้ว (ว่ะ) ที่จะต้องตื่นจากมายาคติ และทรมานกับความเป็นจริง
ตอนพระเอกถูกให้เลือกว่าจะกินยาเม็ดไหนในสองเม็ด เม็ดหนึ่งเพื่อตื่นจากโลกสมมุติที่เดอะเมทริกซ์สร้างขึ้น แล้วพบกับความจริงที่โหดร้ายว่าโลกนั้นถูกครอบงำอยู่โดยเครื่องจักรขนาดยักษ์ กับอีกเม็ดหนึ่งเพื่อกลับไปใช้ชีวิตอย่างสุขสบายต่อไปบนความไม่รู้
คิดไปแล้วมันเหมือนกับทางเลือกที่เราต้องเจอในการเป็นนักวิชาการ หรือการเป็นคนที่ตั้งคำถามมากมายกับสังคม
ในแง่หนึ่งเราอาจไม่ต้องทำงานวิชาการ ไม่ต้องตั้งคำถามก็ได้ แล้วก็ใช้ชีวิตอยู่ต่อไปโดยไม่ต้อง "กลุ้มใจ" กับปัญหาต่างๆในสังคม
แต่ในอีกแง่หนึ่งเราก็เลือกแล้ว ที่จะพยายามไขว่คว้าหาทางทำอะไรสักอย่างให้ไอ้ที่เราเห็นอยู่รอบตัวมันดีขึ้น ยิ่งเรียนไปก็ยิ่งเห็นปัญหาต่างๆมากมาย นู่นก็เป็นปัญหาแบบหนึ่ง นี่ก็เป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง
มันเหมือนเราเลือกที่จะกินยา แล้วตื่นขึ้นมาพบความจริงที่โหดร้ายแบบในเดอะเมทริกซ์
อาจจะต่างกันตรงที่เรา (ผู้เขียน) หล่อน้อยกว่าคีนูนิดนึง แล้วก็ไม่ใช่เดอะวัน แต่เอาเถอะ นั่นไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นคือ สงสัยเป็นหน้าที่ที่เราเลือกแล้ว (ว่ะ) ที่จะต้องตื่นจากมายาคติ และทรมานกับความเป็นจริง
Wednesday, January 31, 2007
Thaksinomics V.S. Sufficiency Economy
News from Bangkok Post Website:
The Council for National Security (CNS) is asking academics to write reports on the sufficiency economy to prove to the international community that the theory suits Thailand and the world. CNS spokesman Sansern Kaewkamnerd said the council wants academics to look objectively at the principles of the sufficiency economy, an initiative of His Majesty the King, before presenting recommendations.
''We want to increase both Thai and foreign confidence in the government's economic policy,'' said Col Sansern.
The CNS move is in response to recent articles about Thailand's economic policies in three international publications _ Asian Wall Street Journal, The Economist and Newsweek.
The articles compare the economic policies of the ousted Thaksin Shinawatra administration with those of the interim government. The articles all say the international community had more confidence in so-called Thaksinomics _ Mr Thaksin's economic policies _ than in sufficiency policies.
The writers said Mr Thaksin's approach was more in line with world capitalism and had been proven appropriate for international development, while the sufficiency economy has not yet been accepted by some economists.
Col Sansern said the CNS suspects Mr Thaksin, who has hired an influential US-based lobbyist and public relations firm to promote his international activities, was behind the publication of those articles.
A sufficiency economy does not conflict with the world's capitalist-based economic system, said Col Sansern.
Instead, the two principles complement each other, he said
Cummon!
Now it has become Thaksin V.S. King's Theory
While, CNS urged Thai academics to provide support for sufficiency economy, their argument that those criticism of sufficiency economy from international perspecives were financed by Thaksin is "useless".
This debate on "sufficiency economy" will never yield any insight, unless we stop taking it as "royal theory". When the fact that "who said it" is more important than "its substance", don't expect any valuable debate. It is ended from the start.
The Council for National Security (CNS) is asking academics to write reports on the sufficiency economy to prove to the international community that the theory suits Thailand and the world. CNS spokesman Sansern Kaewkamnerd said the council wants academics to look objectively at the principles of the sufficiency economy, an initiative of His Majesty the King, before presenting recommendations.
''We want to increase both Thai and foreign confidence in the government's economic policy,'' said Col Sansern.
The CNS move is in response to recent articles about Thailand's economic policies in three international publications _ Asian Wall Street Journal, The Economist and Newsweek.
The articles compare the economic policies of the ousted Thaksin Shinawatra administration with those of the interim government. The articles all say the international community had more confidence in so-called Thaksinomics _ Mr Thaksin's economic policies _ than in sufficiency policies.
The writers said Mr Thaksin's approach was more in line with world capitalism and had been proven appropriate for international development, while the sufficiency economy has not yet been accepted by some economists.
Col Sansern said the CNS suspects Mr Thaksin, who has hired an influential US-based lobbyist and public relations firm to promote his international activities, was behind the publication of those articles.
A sufficiency economy does not conflict with the world's capitalist-based economic system, said Col Sansern.
Instead, the two principles complement each other, he said
Cummon!
Now it has become Thaksin V.S. King's Theory
While, CNS urged Thai academics to provide support for sufficiency economy, their argument that those criticism of sufficiency economy from international perspecives were financed by Thaksin is "useless".
This debate on "sufficiency economy" will never yield any insight, unless we stop taking it as "royal theory". When the fact that "who said it" is more important than "its substance", don't expect any valuable debate. It is ended from the start.
Monday, January 29, 2007
Paradox of the Modern Nation-State
I read this idea of Ben Anderson, which I think is very interesting - especially for the Thai case.
Paradox of the Modern Nation-State: While the modern nation-state is a new construct (by nationalism idea, by the political elites), the effort to create it is to make it old in history.
Interestingly, with our history textbooks uses in Thai schools, how many Thais would know that our nation-state is a modern construction?
Seems like a perfect explanation for Thai understanding of history, is it?
Paradox of the Modern Nation-State: While the modern nation-state is a new construct (by nationalism idea, by the political elites), the effort to create it is to make it old in history.
Interestingly, with our history textbooks uses in Thai schools, how many Thais would know that our nation-state is a modern construction?
Seems like a perfect explanation for Thai understanding of history, is it?
Friday, January 26, 2007
ฉันมีค่าแค่ไหน?
ท่ามกลางกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับ คมช.)
ขอมอบเพลงนี้ให้กับประชาชนชาวไทย...ด้วยความเคารพ
ถ้าคนอย่างฉันตาย...จากไป
เธอเศร้าใจรึเปล่า?
หนึ่งคนที่ข้างเธอ...ยามเหงา
มัน "มีค่าสักแค่ไหน"...สำหรับเธอ?
คลิกเพื่อฟังและร่วมร้องเพลงนี้ในเวอร์ชั่นคาราโอเกะ
...เพื่อไว้อาลัยให้ประชาธิปไตยไทย
ได้ที่ "กระต่ายน้อย Music&Videos" ทางขวาครับ
ถ้าให้ดี เปิดหน้าต่างใหม่ ฟังเพลงไป ดูรูปในโพสนี้ไป จะได้อารมณ์มาก!
ขอมอบเพลงนี้ให้กับประชาชนชาวไทย...ด้วยความเคารพ
ถ้าคนอย่างฉันตาย...จากไป
เธอเศร้าใจรึเปล่า?
หนึ่งคนที่ข้างเธอ...ยามเหงา
มัน "มีค่าสักแค่ไหน"...สำหรับเธอ?
คลิกเพื่อฟังและร่วมร้องเพลงนี้ในเวอร์ชั่นคาราโอเกะ
...เพื่อไว้อาลัยให้ประชาธิปไตยไทย
ได้ที่ "กระต่ายน้อย Music&Videos" ทางขวาครับ
ถ้าให้ดี เปิดหน้าต่างใหม่ ฟังเพลงไป ดูรูปในโพสนี้ไป จะได้อารมณ์มาก!
Wednesday, January 24, 2007
ธรรมศาสตร์
ปรีดี พนมยงค์ (ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2477)
"มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประดุจ “บ่อน้ำ” ที่คอยดับความกระหายของราษฎร ซึ่งแสวงหาความรู้ในทางสังคมการเมือง"
.
.
.
.
.
.
.
น้ำดื่มโดม (ปัจจุบัน)
ราคา 5 บาท
ขวดกระทัดรัด กิ๊บเก๋ ประดับสัญลักษณ์พระราชทานยูงทอง
หาดื่มได้ทั่วไปในธรรมศาสตร์เพื่อดับกระหาย (หิวน้ำ) และซึมซับ "ความรักประชาชน"
ป.ล.ดื่มเสร็จแล้วโดดเรียนไปชอปปิ๊งพารากอนกันนะ
"มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประดุจ “บ่อน้ำ” ที่คอยดับความกระหายของราษฎร ซึ่งแสวงหาความรู้ในทางสังคมการเมือง"
.
.
.
.
.
.
.
น้ำดื่มโดม (ปัจจุบัน)
ราคา 5 บาท
ขวดกระทัดรัด กิ๊บเก๋ ประดับสัญลักษณ์พระราชทานยูงทอง
หาดื่มได้ทั่วไปในธรรมศาสตร์เพื่อดับกระหาย (หิวน้ำ) และซึมซับ "ความรักประชาชน"
ป.ล.ดื่มเสร็จแล้วโดดเรียนไปชอปปิ๊งพารากอนกันนะ
Monday, January 22, 2007
Happiness as an Evaluative Space for Development?
As we all know, "happiness" has been proposed by some of the Thai elites and academics to be our alternative goal of development. Gross National Happiness (GNH) has attracted wide range of interests, it has became a very fashionable term. Today I have Amartya Sen's reflection on this issue for you to read.
First of all, let me tell you that happiness is not a new concept in economics. It's actually always there, inherented in the term "utility", i.e. the mental satisfaction derived from something. So when you heard about happiness as an indicator of well-being, please don't say it's a new thing.
Ironically, as some country like Bhutan want to use Gross National Happiness as their goal of development, it also means that they want to use Gross National Utility as their development objective. And as economic theory normally argues that level of utility a person achieves depends on the amount of consumption (as constrainted by income) he or she gets, it doesn't really make a big different between using GNH or GDP. It's just the same thing.
Alright, let's now arrive at Sen's comment on the use of happiness (or utility) as an evalative space for development.
Sen has stated this in his book "Inequality Rexamined" (Page 6-7):
"This way of seeing individual advantage is particularly limiting in the presence of entrenced inequality. In situation of persisitent adversity or deprivation, the victims do not go on grieving and grumbing all the time, and may even lack the motivation to desire a radical change of circumstances. Indeed, in terms of a strategy for living, it may make a lot of sense to come to terms with an ineradicable adversity, to try to appreciate small breaks, and to resist pinning for the impossible or the improbable."
"Such a person, even though thoroughly deprived and confined to a very reduced life, may not appear to be quite so badly off in terms of the mental metric of desire and its fulfillment, and in terms of the pleasure-pain calculus. The extent a person's deprivation may be substantially muffled in the utility (happiness) matric, despite the fact that he or she may lack the opportunity even to be adequately nourished, decently clothed, minimally educated, or probably shletered."
Alright, in his book, Sen went from this to proposed "capability approach" as an evaluative space for development.
For those that have been attracted to the idea of GNH, I hope this quote might reflects on something. GNH, first of all, is a very bad evaluative space for inequality (as Sen argue above). Second, it's bad in the same way as using income or commodities (GDP) to evaluate development (since income or comodities reflect utility, which is the term for happiness).
Well, in the end, some other theory (a.k.a. sufficiency economy) that also relied on the argument of "development as happiness" will have to be reconsidered. Especially, since it try, not only to put happiness as an evaluative space (which, as explained, goes against idea of equality or justice), but also proposed that people have to adjust their calculus of happiness, to reach the point where they can be happy easily. It's more than "not caring on inequality", proposing instead the "rigid form of inequality".
Any development practitioners and academics in Thailand, please come out from this fantasy and face the truth. Don't you agree that inequality is a big problem for Thailand?
First of all, let me tell you that happiness is not a new concept in economics. It's actually always there, inherented in the term "utility", i.e. the mental satisfaction derived from something. So when you heard about happiness as an indicator of well-being, please don't say it's a new thing.
Ironically, as some country like Bhutan want to use Gross National Happiness as their goal of development, it also means that they want to use Gross National Utility as their development objective. And as economic theory normally argues that level of utility a person achieves depends on the amount of consumption (as constrainted by income) he or she gets, it doesn't really make a big different between using GNH or GDP. It's just the same thing.
Alright, let's now arrive at Sen's comment on the use of happiness (or utility) as an evalative space for development.
Sen has stated this in his book "Inequality Rexamined" (Page 6-7):
"This way of seeing individual advantage is particularly limiting in the presence of entrenced inequality. In situation of persisitent adversity or deprivation, the victims do not go on grieving and grumbing all the time, and may even lack the motivation to desire a radical change of circumstances. Indeed, in terms of a strategy for living, it may make a lot of sense to come to terms with an ineradicable adversity, to try to appreciate small breaks, and to resist pinning for the impossible or the improbable."
"Such a person, even though thoroughly deprived and confined to a very reduced life, may not appear to be quite so badly off in terms of the mental metric of desire and its fulfillment, and in terms of the pleasure-pain calculus. The extent a person's deprivation may be substantially muffled in the utility (happiness) matric, despite the fact that he or she may lack the opportunity even to be adequately nourished, decently clothed, minimally educated, or probably shletered."
Alright, in his book, Sen went from this to proposed "capability approach" as an evaluative space for development.
For those that have been attracted to the idea of GNH, I hope this quote might reflects on something. GNH, first of all, is a very bad evaluative space for inequality (as Sen argue above). Second, it's bad in the same way as using income or commodities (GDP) to evaluate development (since income or comodities reflect utility, which is the term for happiness).
Well, in the end, some other theory (a.k.a. sufficiency economy) that also relied on the argument of "development as happiness" will have to be reconsidered. Especially, since it try, not only to put happiness as an evaluative space (which, as explained, goes against idea of equality or justice), but also proposed that people have to adjust their calculus of happiness, to reach the point where they can be happy easily. It's more than "not caring on inequality", proposing instead the "rigid form of inequality".
Any development practitioners and academics in Thailand, please come out from this fantasy and face the truth. Don't you agree that inequality is a big problem for Thailand?
Saturday, January 20, 2007
Religion as a Thai Elite's Instrument
Today, in a toilet, I got some idea.
It's about the comparison of religion's role in Thailand and in the West.
What came up to my mind was that, religion in the West was seperated from state. As you probably knew, in the West, Church role was often in parrarel to that of the ruling class. Church sometimes even had a conflicting role with the elites. They sometimes competed with each other to gain the influence over the popular masses.
Well, I won't evaluate whether it's good or bad. But will compare that to the Thai case.
In Thailand, do we really have the seperation between "church" and "state"? The answer should be "no".
Especially after the reign of Rama 4. Church has a close relation with King. We even had a king's uncle as the สังฆราช. We had the royal branch of "Church" established from King Rama 4.
I would say, instead of seperation, Buddhist Church in Thailand was used more as a tool for elites in getting control over popular masses' lifes.
This is probably why, Buddhist religion in Thailand has many weaknesses. The system of administration for monks was almost the same as any "ministry". Where the centre
of Buddhist education is in Bangkok, and the monks educated from center are send to administer monks at provincial, district, and tambon level. This system is indeed, very bureaucrat.
It's probably the fact that Thai Buddhist was admisnistered this way, that the main content of Buddhist philosophy as a guidance for enlightened lives was overlooked. It's, therefore, not surprising that the mainstream Buddist philosophy was merged with the local superstition, and the commercialised form of Buddhist emerged.
The light came out during ท่านพุทธทาส time, the idea of Buddhist as a philosophy for enlightened one's mind came back. However, even with the quality, the impact of พุทธทาส was not enough to change the established structure.
I would say, from my experience, many monks I met are great. In fact, so many good monks exist in Thailand. But these monks are not living in the mainstream circle of That Buddhist religion. They are more at the margin of mainstream.
The mainstrem is plagued with many problems. I would argue that these problems actually root in the structure. Thai buddhist, as governed by elites, has a rigid structure that would not be able to carry on any reform necessary to adapt with changes. Givern how the environment has changed rapidly over last few century, it's not surprising why Thai Buddhist now have so much problems.
Anyone has some thoughts on this topic...please share.
It's about the comparison of religion's role in Thailand and in the West.
What came up to my mind was that, religion in the West was seperated from state. As you probably knew, in the West, Church role was often in parrarel to that of the ruling class. Church sometimes even had a conflicting role with the elites. They sometimes competed with each other to gain the influence over the popular masses.
Well, I won't evaluate whether it's good or bad. But will compare that to the Thai case.
In Thailand, do we really have the seperation between "church" and "state"? The answer should be "no".
Especially after the reign of Rama 4. Church has a close relation with King. We even had a king's uncle as the สังฆราช. We had the royal branch of "Church" established from King Rama 4.
I would say, instead of seperation, Buddhist Church in Thailand was used more as a tool for elites in getting control over popular masses' lifes.
This is probably why, Buddhist religion in Thailand has many weaknesses. The system of administration for monks was almost the same as any "ministry". Where the centre
of Buddhist education is in Bangkok, and the monks educated from center are send to administer monks at provincial, district, and tambon level. This system is indeed, very bureaucrat.
It's probably the fact that Thai Buddhist was admisnistered this way, that the main content of Buddhist philosophy as a guidance for enlightened lives was overlooked. It's, therefore, not surprising that the mainstream Buddist philosophy was merged with the local superstition, and the commercialised form of Buddhist emerged.
The light came out during ท่านพุทธทาส time, the idea of Buddhist as a philosophy for enlightened one's mind came back. However, even with the quality, the impact of พุทธทาส was not enough to change the established structure.
I would say, from my experience, many monks I met are great. In fact, so many good monks exist in Thailand. But these monks are not living in the mainstream circle of That Buddhist religion. They are more at the margin of mainstream.
The mainstrem is plagued with many problems. I would argue that these problems actually root in the structure. Thai buddhist, as governed by elites, has a rigid structure that would not be able to carry on any reform necessary to adapt with changes. Givern how the environment has changed rapidly over last few century, it's not surprising why Thai Buddhist now have so much problems.
Anyone has some thoughts on this topic...please share.
Monday, January 15, 2007
ทหาร กับ มาเฟีย เหมือน หรือ แตกต่าง?
วันนี้เรียนเรื่องบทบาทรัฐกับการใช้ความรุนแรง สนุกมาก
ความรุนแรงในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการตีร้างข้างหัวนะครับ แต่หมายถึงการใช้อำนาจเข้าควบคุม และหากไม่ทำตามก็จะต้องถูกทำโทษด้วยวิธีต่างๆนาๆที่ไปลดสวัสดิภาพ เช่น ขังคุก ปรับ หรืออาจซ้อม (ในกรณีตำรวจบางประเทศ)
ส่วนใหญ่ก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องว่ารัฐผูกขาดความรุนแรงอย่างไร เพื่ออะไร แล้วสังคมตอบสนองกับรัฐอย่างไร
มาฉุกคิดอยู่ตรงหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องทีเรียน
อาจารย์เลกเชอร์ว่ามีสังคมบางแบบที่รัฐไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทใช้อำนาจได้อย่างปรกติ
เช่น สังคมทหาร (มีศาลของตัวเองแยกต่างหาก) และสังคมมาเฟีย แบบมาเฟียจริงๆนะคร้าบ ยุคสมัยอันธพาลครองเมือง มาเฟียอิตาลี ประมาณนั้น
พอมาลองนึกดูแล้ว สังคมทหาร (ทหารเป็นใหญ่ในบ้านเมือง) กับสังคมมาเฟีย (มาเฟียครองเมือง) ก็มีอะไรคล้ายกันเหมือนกันนะเนี่ย
หนึ่ง ทั้งทหารและมาเฟีย สิ่งที่สำคัญที่พวกเขาต้องเน้นมากในการจัดระเบียบกันเองในหมู่คณะ (เมื่อรัฐไม่มีบทบาทในการจัดการพวกเขา) ก็คือ "เกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรี" สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญควบคุมพฤติกรรมหมู่สมาชิกไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เพราะในสังคมทั้งสองความรุนแรงไม่ถูกผูกขาดอีกต่อไป แต่ถูกกระจายไปตามกลุ่มก้อนๆหรือบุคคลต่างๆ หากไม่มีเกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรีมาช่วยควบคุม ก็อาจเกิดความวุ่นวายได้ง่ายๆ
สอง ในกรณีที่เข้าไปมีบทบาทร่วมกำกับผู้อื่น ทั้งทหารและมาเฟียทำหน้าที่ใช้ความรุนแรงแทนรัฐ ส่วนใหญ่ข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงก็คือ ถ้าเราไม่ใช้ความรุนแรงเข้าควบคุม สถานการณ์มันจะเลวร้าบกว่านี้ แบบมาเฟียเวลาอ้างว่าถ้าเขาไม่ทำชั่วนิดๆหน่อยๆเพื่อควบคุมคนอื่น คนอื่นๆมันก็จะทำชั่วมากกว่านั้น เขาเลยต้องทำชั่วเพื่อคุ้มครองคนอื่น ส่วนทหารน่ะหรือ ฮึๆๆๆ ลองนึกตัวอย่างเองละกัน ไม่ยาก ไม่ยาก
สาม ทั้งทหารและมาเฟีย ต่างก็ได้รายได้จากการได้ค่าคุ่มครอง ในกรณีทหารก็เป็นค่าคุ้มครองประเทศ ส่วนมาเฟียก็ค่าคุ้มครองสวัสดิภาพไม่ให้ถูกคนอื่น (หรือตัวเอง) ทำร้าย
ตัวอย่างความเหมือนก็ประมาณนี้ครับ
ที่แตกต่างกันหลักๆก็คือ ทหารทำหน้าที่หลักเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ในเชิงหลักการครับ) ในขณะที่มาเฟียทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
อืม....ทีนี้เนี่ย มีคำถามที่น่าสนใจ
่ส่วนใหญ่เวลามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวด้วยเนี่ย ไอ้เรื่องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ที่เคยนับถือกันในหมู่มาเฟียก็มักจะถูกเก็บใส่กล่อง อย่างรวดเร็ว แล้วมายิงกันหาคนชนะแทน แบบพวกหนังมาเฟียจีนประมาณนั้น (พวกมาเฟียจีนในหนังเนี่ย เห็นนับถือความซื่อสัตย์ ไหว้เทพเจ้ากวนอูแหลก แต่ลูกน้องฆ่าลูกพี่ตลอดเลยวุ้ย)
ทีนี้สำหรับทหารเนี่ย ตวามหลักการแล้วไม่ควรมายุ่งเรื่องผลประโยชน์มากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
แล้วเมื่อทหารเข้ามามีเอี่ยวผลประโยชน์เยอะแยะเต็มไปหมดในประเทศล่ะ
ทหารที่ปรกติก็ไม่ได้อยู่ในการควบคุมโดยรัฐแบบประชาชนทั่วไป และก็มีความเข้าใจในการใช้ความรุนแรงที่แตกต่างจากประชาชน แบบว่าปรกติก็ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือทำมาหากินเนี่ย
อืม....ทหารจะจัดการเรื่องผลประโยชน์กันแบบไหน เกียรติยศ ศักดิ์ศรี จะยังทำงานได้ดีกว่าการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันหรือไม่?
.....ยุคที่บ้านเราเป็นเผด็จการทหารแบบนี้ คำถามนี้เราอาจได้เห็นคำตอบอีกไม่นาน......
ความรุนแรงในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการตีร้างข้างหัวนะครับ แต่หมายถึงการใช้อำนาจเข้าควบคุม และหากไม่ทำตามก็จะต้องถูกทำโทษด้วยวิธีต่างๆนาๆที่ไปลดสวัสดิภาพ เช่น ขังคุก ปรับ หรืออาจซ้อม (ในกรณีตำรวจบางประเทศ)
ส่วนใหญ่ก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องว่ารัฐผูกขาดความรุนแรงอย่างไร เพื่ออะไร แล้วสังคมตอบสนองกับรัฐอย่างไร
มาฉุกคิดอยู่ตรงหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องทีเรียน
อาจารย์เลกเชอร์ว่ามีสังคมบางแบบที่รัฐไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทใช้อำนาจได้อย่างปรกติ
เช่น สังคมทหาร (มีศาลของตัวเองแยกต่างหาก) และสังคมมาเฟีย แบบมาเฟียจริงๆนะคร้าบ ยุคสมัยอันธพาลครองเมือง มาเฟียอิตาลี ประมาณนั้น
พอมาลองนึกดูแล้ว สังคมทหาร (ทหารเป็นใหญ่ในบ้านเมือง) กับสังคมมาเฟีย (มาเฟียครองเมือง) ก็มีอะไรคล้ายกันเหมือนกันนะเนี่ย
หนึ่ง ทั้งทหารและมาเฟีย สิ่งที่สำคัญที่พวกเขาต้องเน้นมากในการจัดระเบียบกันเองในหมู่คณะ (เมื่อรัฐไม่มีบทบาทในการจัดการพวกเขา) ก็คือ "เกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรี" สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญควบคุมพฤติกรรมหมู่สมาชิกไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เพราะในสังคมทั้งสองความรุนแรงไม่ถูกผูกขาดอีกต่อไป แต่ถูกกระจายไปตามกลุ่มก้อนๆหรือบุคคลต่างๆ หากไม่มีเกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรีมาช่วยควบคุม ก็อาจเกิดความวุ่นวายได้ง่ายๆ
สอง ในกรณีที่เข้าไปมีบทบาทร่วมกำกับผู้อื่น ทั้งทหารและมาเฟียทำหน้าที่ใช้ความรุนแรงแทนรัฐ ส่วนใหญ่ข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงก็คือ ถ้าเราไม่ใช้ความรุนแรงเข้าควบคุม สถานการณ์มันจะเลวร้าบกว่านี้ แบบมาเฟียเวลาอ้างว่าถ้าเขาไม่ทำชั่วนิดๆหน่อยๆเพื่อควบคุมคนอื่น คนอื่นๆมันก็จะทำชั่วมากกว่านั้น เขาเลยต้องทำชั่วเพื่อคุ้มครองคนอื่น ส่วนทหารน่ะหรือ ฮึๆๆๆ ลองนึกตัวอย่างเองละกัน ไม่ยาก ไม่ยาก
สาม ทั้งทหารและมาเฟีย ต่างก็ได้รายได้จากการได้ค่าคุ่มครอง ในกรณีทหารก็เป็นค่าคุ้มครองประเทศ ส่วนมาเฟียก็ค่าคุ้มครองสวัสดิภาพไม่ให้ถูกคนอื่น (หรือตัวเอง) ทำร้าย
ตัวอย่างความเหมือนก็ประมาณนี้ครับ
ที่แตกต่างกันหลักๆก็คือ ทหารทำหน้าที่หลักเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ในเชิงหลักการครับ) ในขณะที่มาเฟียทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
อืม....ทีนี้เนี่ย มีคำถามที่น่าสนใจ
่ส่วนใหญ่เวลามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวด้วยเนี่ย ไอ้เรื่องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ที่เคยนับถือกันในหมู่มาเฟียก็มักจะถูกเก็บใส่กล่อง อย่างรวดเร็ว แล้วมายิงกันหาคนชนะแทน แบบพวกหนังมาเฟียจีนประมาณนั้น (พวกมาเฟียจีนในหนังเนี่ย เห็นนับถือความซื่อสัตย์ ไหว้เทพเจ้ากวนอูแหลก แต่ลูกน้องฆ่าลูกพี่ตลอดเลยวุ้ย)
ทีนี้สำหรับทหารเนี่ย ตวามหลักการแล้วไม่ควรมายุ่งเรื่องผลประโยชน์มากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
แล้วเมื่อทหารเข้ามามีเอี่ยวผลประโยชน์เยอะแยะเต็มไปหมดในประเทศล่ะ
ทหารที่ปรกติก็ไม่ได้อยู่ในการควบคุมโดยรัฐแบบประชาชนทั่วไป และก็มีความเข้าใจในการใช้ความรุนแรงที่แตกต่างจากประชาชน แบบว่าปรกติก็ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือทำมาหากินเนี่ย
อืม....ทหารจะจัดการเรื่องผลประโยชน์กันแบบไหน เกียรติยศ ศักดิ์ศรี จะยังทำงานได้ดีกว่าการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันหรือไม่?
.....ยุคที่บ้านเราเป็นเผด็จการทหารแบบนี้ คำถามนี้เราอาจได้เห็นคำตอบอีกไม่นาน......
Saturday, January 13, 2007
แนะนำ กระต่ายน้อย Music + Videos
ฮะแฮ่ม!
เนื่องจากกระผมไม่สามารถใช้บล็อคนี้อัพเพลงหรือวีดีโอได้
จึงได้ไปสร้างบ้านไว้อีกหลังที่
กระต่ายน้อย music & videos
เชิญทุกท่านเยี่ยมชมได้ตามสบาย โดยเฉพาะถ้าเหงาๆ อยากหาเพลงฟัง หรือยากหาอะไรดูเล่น
ทั้งกระนี้ กระผมจึงได้ฤกษ์ปรับปรุงบ้านหลังนี้ไปด้วย
เนื่องจากกระผมไม่สามารถใช้บล็อคนี้อัพเพลงหรือวีดีโอได้
จึงได้ไปสร้างบ้านไว้อีกหลังที่
กระต่ายน้อย music & videos
เชิญทุกท่านเยี่ยมชมได้ตามสบาย โดยเฉพาะถ้าเหงาๆ อยากหาเพลงฟัง หรือยากหาอะไรดูเล่น
ทั้งกระนี้ กระผมจึงได้ฤกษ์ปรับปรุงบ้านหลังนี้ไปด้วย
ส่งแค่นี้
เพลงนี้เพราะดีนะ.....
คลิก
..............................
เพลง: ส่งแค่นี้
โดย: บอย ตรับ
มีคำๆ หนึ่งในหัวใจ ที่ฉันต้องพูดมัน
ก็รู้ว่าคงมีสักวันที่ฉันต้องบอกไป
แต่วันนี้ยังทำใจไม่ได้ คือคำว่าลาก่อน
เราเคยมีวันคืนที่ดี มีเธอและมีฉัน
เราเคยมีใจที่ให้กัน ก็คิดว่าแน่นอน
แต่ว่าเราก็เดินมาถึงตอนที่เป็นฉากสุดท้ายแล้วใช่ไหม
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตรงนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
ดูแลตัวเธอเองให้ดีจากนี้ไม่มีฉัน
เจอใครยังไงไม่สำคัญ อย่าลืมกันก็พอ
จากนี้ไปคงไม่ต้องรอ แค่สิ่งเดียวที่จะขอครั้งสุดท้าย
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเธอก็ต้องไปอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
เชื่อไหมว่ามันไม่ต่าง... ยังไงจะคิดถึงเธอ
............................
........ช่วงนี้ทำ essay กระจาย เพราะต้องส่งแล้ว
เรียนที่นี่ยากจริง งานก็เยอะจัด ภาษาเราก็ไม่ดี (สำหรับมาตรฐานที่นี่) มัวแต่วุ่นวายกลัวเรียนไม่รอด จนลืมอะไรรอบตัวไปเกือบหมด
ขอโทษด้วย.......
คลิก
..............................
เพลง: ส่งแค่นี้
โดย: บอย ตรับ
มีคำๆ หนึ่งในหัวใจ ที่ฉันต้องพูดมัน
ก็รู้ว่าคงมีสักวันที่ฉันต้องบอกไป
แต่วันนี้ยังทำใจไม่ได้ คือคำว่าลาก่อน
เราเคยมีวันคืนที่ดี มีเธอและมีฉัน
เราเคยมีใจที่ให้กัน ก็คิดว่าแน่นอน
แต่ว่าเราก็เดินมาถึงตอนที่เป็นฉากสุดท้ายแล้วใช่ไหม
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตรงนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
ดูแลตัวเธอเองให้ดีจากนี้ไม่มีฉัน
เจอใครยังไงไม่สำคัญ อย่าลืมกันก็พอ
จากนี้ไปคงไม่ต้องรอ แค่สิ่งเดียวที่จะขอครั้งสุดท้าย
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม
ส่งไกลแค่ไหนเธอก็ต้องไปอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
เชื่อไหมว่ามันไม่ต่าง... ยังไงจะคิดถึงเธอ
............................
........ช่วงนี้ทำ essay กระจาย เพราะต้องส่งแล้ว
เรียนที่นี่ยากจริง งานก็เยอะจัด ภาษาเราก็ไม่ดี (สำหรับมาตรฐานที่นี่) มัวแต่วุ่นวายกลัวเรียนไม่รอด จนลืมอะไรรอบตัวไปเกือบหมด
ขอโทษด้วย.......
Tuesday, January 09, 2007
Blog Tag ของกระต่ายน้อย
โอ้ หลังจากกดดันมานาน
ผมก็คงได้ฤกษ์การโพส Blog Tag ของตัวเองบ้างแล้ว
หากสงสัยว่า Blog Tag คืออะไร โปรดคลิกอ่านบล็อคคุณปิ่น (ทางซ้าย) ซึ่งมีคำอธิบายอยู่
ว่ากันสั้นๆก็คือ ให้เล่าเรื่องที่เป็นความลับมาห้าอย่าง แล้วก็ Tag ต่อไปห้าคนเพื่อให้ทำแบบเดียวกันต่อ
ทั้งกระนี้บุคคลที่ tag ผมมาก็คือ คุณ Fringer เจ้าของบล็ิอคและคอลัมน์คนชายขอบชื่อดังนั่นเอง! เป็นเกียรติที่ได้รับ tag จากคุณครับผม
มาถึงความลับห้าประการที่ไม่อยากบอก (แต่ก็ต้องบอกแล้วล่ะ)
อะแฮ่ม......
หนึ่ง ผมเคยสอบได้เกรดศูนย์ครั้งนึง ตอนอยู่ม.สาม จำได้ว่าเป็นวิชาศิลปะเพื่อชีวิต ตอนกลางภาคผมสอบได้คะแนนท็อป หลังจากนั้นมาก็เลยไม่เข้าเรียนเลย เพราะรวมคะแนนเก็บก็น่าจะผ่านแล้ว ปรากฏว่าถึงตอนสอบปลายภาคผมต้องการอีกประมาณห้าคะแนนจะสอบผ่าน แล้วความขี้เกียจเจ้ากรรมก็ทำผิด เพราะไม่ได้เข้าเรียนก็เลยไม่มีสมุดจด พอจะไปยืมของเพื่อนก็ปรากฏว่าเพื่อนติดธุระให้ยืมไม่ได้ ผมทำไงน่ะหรือ ฮึ ฮึ นอนครับ กะว่าตอนเช้าค่อยยืมใหม่มาอ่านก่อนสอบ ปรากฏว่าเพื่อนต้องใช้ตอนเช้าเหมือนกัน สรุปก็เลยไม่ได้อ่านไรเลย เข้าไปมั่วอย่างเดียว ผลน่ะหรือ ศูนย์เต็มๆครับ ก็เป็นเกรดศูนย์ที่ได้ครั้งเดียวในชีวิต (แม้ตอนม.ปลายจะได้เกรดหนึ่งฟิสิกส์ เคมี มาตลอดตั้งแต่ ม.สี่ ยัน ม.หก ก็เถอะ)
สอง ผมเป็นคนขี้น้อยใจมาตั้งแต่เด็ก สาเหตุคงเป็นเพราะผมเป็นน้องคนสุดท้องของรุ่นเดียวกันในเครือญาติทั้งหมดที่โตมาด้วยกัน ตอนเด็กๆผมมักต้องเล่นกับญาติๆที่ล้วนแก่กว่าสองสามปีขึ้นไป และก็มักทำอะไรที่เขาทำกันไม่ได้ วิ่งแข่งก็แพ้ ชูตบาสก็ไม่ได้ แถมโดนแกล้งบ่อย (เด็กสุด) ก็เพิ่งมาเข้าใจเร็วๆนี้ว่าถ้าตอนนั้นอายุเท่ากันคงทำอะไรได้มากกว่านั้น อืม...ไม่รู้วิเคราะห์สาเหตุถูกหรือเปล่าเนี่ย
สาม ผมเคยถูกพักการเรียนครั้งนึงตอนม.สี่ สาเหตุเพราะปีนรั้วโรงเรียนออกไปเที่ยวกลางคืนที่อาร์ซีเอ จำได้ว่าตอนนั้นซ่าส์มาก แบบอายุก็ไม่ถึง แต่อยากไปเที่ยว วันนั้นดวงซวยมากๆ เจอตำรวจลุยครับ เจ้าของร้านก็ประกาศให้พวกอายุไม่ถึงออกไปนอกร้านก่อน ก็เลยเดินออกไปอยู่หลังร้าน ปรากฏว่าเจอตำรวจพอดีครับ ก็เลยวิ่งหนี (กลัวโดนจับ) แล้วก็เรียกแท็กซี่กลับมาโรงเรียน มาถึงก็มีรุ่นพี่มาแจ้งว่าอาจารย์ที่ดูแลหอมาตรวจแล้วก็พบว่าผมหายไป เพราะฉะนั้นให้ไปรายงานตัวตอนเช้าด้วย สุดท้ายก็เลยโดนพักการเรียนในวันเดียวกับที่เพื่อนๆไปทัศนศึกษาต่างจังหวัดกันครับ (เสียดายมากๆเพราะพวกมันดันถ่ายรูปไว้เยอะแยะ แล้วก็ไม่มีผมเลยซักรูป)
สี่ ผมอกหักครั้งแรกตอนอยู่มหาลัยปีสอง จำได้ว่าไปจีบเด็กบัญชีที่เป็นน้องรุ่นพี่ที่กลุ่ม แต่ด้วยความอ่อนหัด แบบจีบหญิงไม่เป็นเลย ทำตัวไม่เป็นธรรมชาติอย่างแรง เก้ๆกัง อยู่ต่อหน้าก็ไม่กล้าพูด จะหาน้ำให้กินก็ไปเอาน้ำมะขามให้ (เขากลับไปท้องเสีย) สุดท้ายก็โดนปฏิเสธครับ ตอนอกหักก็เสียใจมากๆแบบผอมไปเลย เพราะจีบแบบจริงจังมากๆ เพิ่งมารู้สึกตัวตอนนี้ว่าจริงๆถ้าจีบติดเราก็เป็นได้แค่แฟนที่ห่วยแตกอยู่ดี เพราะฉะนั้นเขาก็โชคดีแล้วที่ปฏิเสธเราไป
ห้า สุดท้ายแล้ว เอาเรื่องนี้ละกัน คือตอนนี้เนี่ย ผมเริ่มเข้าใจว่าไอ้การหมกหมุ่นกับการศึกษา บวกอาการวิตกจริตอย่างหนักเนี่ยมักทำให้คนแปลกได้จริงๆ แบบว่าตอนนี้เป็นไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวก็เอะอะว่าตัวเองโง่ลงบ้าง เดี๋ยวก็งงๆว่าความจำหายไปไหนหม๊ด เดี๋ยวก็งงๆกับการสือสารอย่างหนัก เคยหูแว่วได้ยินฝรั่งทักทายเราเป็นภาษาไทยซะงั้น เอ่อ บ้าไปแล้ว
ขออนุญาตไม่แท็คต่อนะครับ กลัวสุดท้ายจะกลับมาหาตัวเอง
ผมก็คงได้ฤกษ์การโพส Blog Tag ของตัวเองบ้างแล้ว
หากสงสัยว่า Blog Tag คืออะไร โปรดคลิกอ่านบล็อคคุณปิ่น (ทางซ้าย) ซึ่งมีคำอธิบายอยู่
ว่ากันสั้นๆก็คือ ให้เล่าเรื่องที่เป็นความลับมาห้าอย่าง แล้วก็ Tag ต่อไปห้าคนเพื่อให้ทำแบบเดียวกันต่อ
ทั้งกระนี้บุคคลที่ tag ผมมาก็คือ คุณ Fringer เจ้าของบล็ิอคและคอลัมน์คนชายขอบชื่อดังนั่นเอง! เป็นเกียรติที่ได้รับ tag จากคุณครับผม
มาถึงความลับห้าประการที่ไม่อยากบอก (แต่ก็ต้องบอกแล้วล่ะ)
อะแฮ่ม......
หนึ่ง ผมเคยสอบได้เกรดศูนย์ครั้งนึง ตอนอยู่ม.สาม จำได้ว่าเป็นวิชาศิลปะเพื่อชีวิต ตอนกลางภาคผมสอบได้คะแนนท็อป หลังจากนั้นมาก็เลยไม่เข้าเรียนเลย เพราะรวมคะแนนเก็บก็น่าจะผ่านแล้ว ปรากฏว่าถึงตอนสอบปลายภาคผมต้องการอีกประมาณห้าคะแนนจะสอบผ่าน แล้วความขี้เกียจเจ้ากรรมก็ทำผิด เพราะไม่ได้เข้าเรียนก็เลยไม่มีสมุดจด พอจะไปยืมของเพื่อนก็ปรากฏว่าเพื่อนติดธุระให้ยืมไม่ได้ ผมทำไงน่ะหรือ ฮึ ฮึ นอนครับ กะว่าตอนเช้าค่อยยืมใหม่มาอ่านก่อนสอบ ปรากฏว่าเพื่อนต้องใช้ตอนเช้าเหมือนกัน สรุปก็เลยไม่ได้อ่านไรเลย เข้าไปมั่วอย่างเดียว ผลน่ะหรือ ศูนย์เต็มๆครับ ก็เป็นเกรดศูนย์ที่ได้ครั้งเดียวในชีวิต (แม้ตอนม.ปลายจะได้เกรดหนึ่งฟิสิกส์ เคมี มาตลอดตั้งแต่ ม.สี่ ยัน ม.หก ก็เถอะ)
สอง ผมเป็นคนขี้น้อยใจมาตั้งแต่เด็ก สาเหตุคงเป็นเพราะผมเป็นน้องคนสุดท้องของรุ่นเดียวกันในเครือญาติทั้งหมดที่โตมาด้วยกัน ตอนเด็กๆผมมักต้องเล่นกับญาติๆที่ล้วนแก่กว่าสองสามปีขึ้นไป และก็มักทำอะไรที่เขาทำกันไม่ได้ วิ่งแข่งก็แพ้ ชูตบาสก็ไม่ได้ แถมโดนแกล้งบ่อย (เด็กสุด) ก็เพิ่งมาเข้าใจเร็วๆนี้ว่าถ้าตอนนั้นอายุเท่ากันคงทำอะไรได้มากกว่านั้น อืม...ไม่รู้วิเคราะห์สาเหตุถูกหรือเปล่าเนี่ย
สาม ผมเคยถูกพักการเรียนครั้งนึงตอนม.สี่ สาเหตุเพราะปีนรั้วโรงเรียนออกไปเที่ยวกลางคืนที่อาร์ซีเอ จำได้ว่าตอนนั้นซ่าส์มาก แบบอายุก็ไม่ถึง แต่อยากไปเที่ยว วันนั้นดวงซวยมากๆ เจอตำรวจลุยครับ เจ้าของร้านก็ประกาศให้พวกอายุไม่ถึงออกไปนอกร้านก่อน ก็เลยเดินออกไปอยู่หลังร้าน ปรากฏว่าเจอตำรวจพอดีครับ ก็เลยวิ่งหนี (กลัวโดนจับ) แล้วก็เรียกแท็กซี่กลับมาโรงเรียน มาถึงก็มีรุ่นพี่มาแจ้งว่าอาจารย์ที่ดูแลหอมาตรวจแล้วก็พบว่าผมหายไป เพราะฉะนั้นให้ไปรายงานตัวตอนเช้าด้วย สุดท้ายก็เลยโดนพักการเรียนในวันเดียวกับที่เพื่อนๆไปทัศนศึกษาต่างจังหวัดกันครับ (เสียดายมากๆเพราะพวกมันดันถ่ายรูปไว้เยอะแยะ แล้วก็ไม่มีผมเลยซักรูป)
สี่ ผมอกหักครั้งแรกตอนอยู่มหาลัยปีสอง จำได้ว่าไปจีบเด็กบัญชีที่เป็นน้องรุ่นพี่ที่กลุ่ม แต่ด้วยความอ่อนหัด แบบจีบหญิงไม่เป็นเลย ทำตัวไม่เป็นธรรมชาติอย่างแรง เก้ๆกัง อยู่ต่อหน้าก็ไม่กล้าพูด จะหาน้ำให้กินก็ไปเอาน้ำมะขามให้ (เขากลับไปท้องเสีย) สุดท้ายก็โดนปฏิเสธครับ ตอนอกหักก็เสียใจมากๆแบบผอมไปเลย เพราะจีบแบบจริงจังมากๆ เพิ่งมารู้สึกตัวตอนนี้ว่าจริงๆถ้าจีบติดเราก็เป็นได้แค่แฟนที่ห่วยแตกอยู่ดี เพราะฉะนั้นเขาก็โชคดีแล้วที่ปฏิเสธเราไป
ห้า สุดท้ายแล้ว เอาเรื่องนี้ละกัน คือตอนนี้เนี่ย ผมเริ่มเข้าใจว่าไอ้การหมกหมุ่นกับการศึกษา บวกอาการวิตกจริตอย่างหนักเนี่ยมักทำให้คนแปลกได้จริงๆ แบบว่าตอนนี้เป็นไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวก็เอะอะว่าตัวเองโง่ลงบ้าง เดี๋ยวก็งงๆว่าความจำหายไปไหนหม๊ด เดี๋ยวก็งงๆกับการสือสารอย่างหนัก เคยหูแว่วได้ยินฝรั่งทักทายเราเป็นภาษาไทยซะงั้น เอ่อ บ้าไปแล้ว
ขออนุญาตไม่แท็คต่อนะครับ กลัวสุดท้ายจะกลับมาหาตัวเอง
Subscribe to:
Posts (Atom)