Sunday, May 20, 2007

ชะตากรรมบนรอยแยกของประชาธิปไตย

"หรือจะเป็นชะตากรรมของเราที่ตราบใดที่เรายังมีคนที่เรารัก เราก็คงไม่มีวันเป็นอิสระเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองได้"

...........

(บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจและข้อมูลจากหนังสือ Fault-Line of Democracy in Post-Transition Latin America โดย Felipe Aguero และ Jeffrey Stark ครับ สนใจหาอ่านได้ตามห้องสมุดใกล้บ้าน)

....ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการปกครองประชาธิปไตยนั้น มักมีปัญหาสำคัญประการหนึ่ง

ปัญหานั้นคือการมองประชาธิปไตยแบบกระบวนการ (Procedural) ทับซ้อนกับประชาธิปไตยที่เป็นเนื้อหา (Substantive) โดยมองว่าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ

ี้(ประชาธิปไตยแบบ Procedural นั้นหมายถึงประชาธิปไตยในความหมายแบบ Minimalist ซึ่งก็คือเน้นที่กระบวนการ ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีรัฐบาลที่เป็นอสระ องค์กรนิติบัญญัติและศาลทำงานได้โดยไม่ถุกแทรกแซง ในขณะที่ประชาธิปไตยแบบ Substantive นั้นเน้นที่การมีสิทธิโดยตรงทางการเมือง การมีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม การมีรัฐบาลที่นำเสนอและดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

ทฤษฎีสำคัญที่ติดปัญหาการมอง Procedural Democracy ทับซ้อนกับ Substantive Democracy ก็เช่น ทฤษฎี Democratic Consolidation ของเหล่านักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองละตินอเมมริกา เช่น Linz และ Stepan หรือแม้กระทั้ง Lawrence Whitehead (ตาคนนี้ใส่กางเกงสีชมพูมาสอน Class ที่ผมเรียน เพื่อนๆในห้องยังประทับใจถึงปัจจุบัน)

ทฤษฎี Democratic Consolidation นี้มองว่าการที่จะให้ระบบประชาธิปไตยคงรอดต่อไปได้นั้น ต้องทำให้ระบบมี "คุณภาพ" ผ่านการ Consolidate ทั้งนี้กระบวนการ Consolidation ที่ว่าก็ประกอบด้วยการทำการเมืองให้มีคุณภาพ การสร้างระบบประชาสังคมที่เข้มแข็ง การมี Rule of Law การมีรัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ และการให้รัฐดูแลระบบตลาดให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา

เหล่านักทฤษฎีข้างต้นคิดว่า ด้วยสิ่งเหล่านี้เท่านั้นประชาธิปไตยถึงจะหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนกลายเป็นระบบการปกครอง "หนึ่งเดียว" ในใจได้

ในช่วงเวลาที่หลายๆประเทศในละตินอเมริกากลายเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสตศตวรรษ1980นั้น พวกเขาต่างทายกันไปถึงโอกาสในการอยุ่รอดของประชาธิไตยในแต่บะประเทศ โดยดูเอาจากโอกาสในประสบความสำเร็จในการ Consolidate ระบบประชาธิปไตยในด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น

อย่างไรก็ดี เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี บางประเทศในอีกซีกโลกประชาธิปไตยล่มแล้วล่มอีก ประชาธิปไตยของหลายๆประเทศในละตินอเมริกาก็ยังไม่ล่มซักที

ตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้นักทฤษฎีประชาธิปไตยในยุคถัดมาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไมบางประเทศเช่นบราซิลที่ Rule of Law ก็ห่วย ระบบการเมืองก็ห่วย ภาคประชาสังคมก็แตกแถวแตกแยกกัน เศรษฐกิจก็ล้มๆลุกๆ ถึงได้มีประชาธิปตยที่มั่นคงได้

และนั้นก็กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงความต่างระหว่าง Procedural กับ Substantive Democracy

และคิดได้ว่าการคงอยู่ของ Procedural Democracy อาจมาจากปัจจัยที่ทำให้ Substative Democracy แย่ก็ได้

ตัวอย่างเช่นระบบการเมืองของบราซิลนั้น เป็นการเมืองแบบพรรคมีมากมายมหาศาลเพราะระบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเสียงขั้นต่ำ ทั้งนี้บัญชีรายชื่อแบบเปิดหมายถึงพรรคการเมืองไม่สามารถ Rank ผู้สมัครได้ ี้ผู้สมัครนอกจากจะต้องแข่งกับพรรคอื่นแล้วยังต้องแข่งกันเองด้วย ระบบดังกล่าวนั้น ไม่ต้องคิดมากก็บอกได้ว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอไร้ระเบียบ และสภาก็เต็มไปด้วยพรรคการเมืองมากมาย ไม่มีใครได้เสียงส่วนใหญ่ พอพรรคการเมืองอ่อนแอการเมืองก็อ่อนแอ

แน่นอนสภาพของระบบการเมืองบราซิลทำให้โอกาสจะเกิด Substantive Democracy นั้นน้อยมาก เพราะพรรคการเมืองและสภาที่อ่อนแอไม่สามารถนำเสนอและดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะแก่ปัญหาใดๆใก้หับประเทศได้ก็ยากแสนยาก

แต่ด้วยสภาพการเมืองที่อ่อนแอนี้ล่ะ ที่ทำให้ Procedural Democracy ของบราซิลคงอยู่ได้ สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะมันช่วยให้พรรคฝ่ายซ้ายที่เป็นที่หวาดกลัวของเหล่าEliteไม่สามารถมาดำเนินนโยบายสุดโต่งใดๆได้

สภาพดังกล่าวทำให้ดุลอำนาจนั้นไม่เสียไป ผู้ที่คงอำนาจอยู่มาก่อนไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับการหักเหทิศทางทางการเมือง

เหล่า Elite รู้ว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป พวกเขาก็กินเค็กก้อนเดิมๆได้ ไอ้นโยบายกระจายรายได้หรือรัฐสวัสดิการที่จะมาช่วยคนจนจำนวนมากโดยมาเก็บเอาภาษีจากพวกเขานั้นเกิดขึ้นไม่ได้หรอก

ว่ากันโดยสรุปก็คือ ระบบการเมืองที่อาจดีในการนำเสนอนโยบายสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น อาจไปทำให้ "วงล่ม" ได้เพราะไปขัดดุลภาพทางอำนาจและประโยชน์ทางเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันระบบการเมืองที่ทำให้วงไม่ล่มนั้นก็อาจเป็นระบบที่ไม่ได้ช่วยให้ใครได้ประโยชน์อะไรมากมายก็ได้ (แค่ไม่ทำให้ดุลอำนาจและผลประโยชน์เสียไป)

นั่นก็คือ Fault Line แบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เราเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิล

เป็น Fault Line ทีน่าเศร้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเอามาวิเคราห์กับประเทศไทย

หรือเราจะมีชะตากรรมบางอย่าง

ที่ตราบใดที่ดุลอำนาจเดิมของเรานั้น มันไม่ได้เป็นประชาธิไตยตรงไหนเลย

ด้วยดุลอำนาจแบบนี้หากมีระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็น Substantive แล้ว ดุลอำนาจนั้นก็อาจต้องโดนกระทบตามไป (ดังเช่นกรณีให้มีสส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มการแข่งขันทางนโยบายได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การเมืองที่ใกล้เคียงกับระบอบ "ประธานาธิบดี")

แน่นอนเมื่อนั้นดุลอำนาจเดิมและคนที่เกาะกินอยู่กับดุลอำนาจเดิมย่อมต่อสู้กลับ เพื่อคงสถานะของตนเองไว้

ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้นานแค่ไหนกันเชียวกับดุลอำนาจแบบนี้

ดุลอำนาจที่ยังมีอำนาจพิเศษอยู่เหนือผู้คน ไว้เป็นทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง ดุลอำนาจที่ทำให้ประเทศมีแต่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ยักมีประชาชน ดุลอำนาจที่ทำให้ทหารและราชการไม่ได้ปกป้องประเทศและรับใช้ประชาชนตาดำๆ

หรือเราควรจะคง Procedural Form ของประชาธิปไตยบ้านเมืองเราไว้ โดยการทำให้ระบบการเมืองสะท้อนดุลอำนาจดังกล่าวไปเลย เป็นการยอมจำนนต่อ"ชะตาชีวิต"

1 comment:

Anonymous said...

^^เหอๆ การเมืองบ้านเรา ชอบทำอะไรแบบถอยหลังลงคลองดีแท้ แล้วก็อ้างว่าเป็นวัฒนธรรมไทย เฮ้อน่าเบื่อจริงๆทุกคนอยากมีอำนาจและก็แก่งแย่งกันเองส่วนคนจนนะเหรอก็ทำตาปริบๆไง หรือไม่ก็โดนคนที่มีอำนาจมากกว่าหรอกใช้ไง เฮ้อคิดแล้วกลุ้ม ^^
อืม พี่อยู่ที่โน่นก็คงหนาวๆเหงาๆใช่ม่ะ ยังไงก็รักษาสุขภาพด้วยนะคะ จะเป็นกำลังใจให้นะ สู้ๆ