Wednesday, January 31, 2007

Thaksinomics V.S. Sufficiency Economy

News from Bangkok Post Website:

The Council for National Security (CNS) is asking academics to write reports on the sufficiency economy to prove to the international community that the theory suits Thailand and the world. CNS spokesman Sansern Kaewkamnerd said the council wants academics to look objectively at the principles of the sufficiency economy, an initiative of His Majesty the King, before presenting recommendations.

''We want to increase both Thai and foreign confidence in the government's economic policy,'' said Col Sansern.

The CNS move is in response to recent articles about Thailand's economic policies in three international publications _ Asian Wall Street Journal, The Economist and Newsweek.

The articles compare the economic policies of the ousted Thaksin Shinawatra administration with those of the interim government. The articles all say the international community had more confidence in so-called Thaksinomics _ Mr Thaksin's economic policies _ than in sufficiency policies.

The writers said Mr Thaksin's approach was more in line with world capitalism and had been proven appropriate for international development, while the sufficiency economy has not yet been accepted by some economists.

Col Sansern said the CNS suspects Mr Thaksin, who has hired an influential US-based lobbyist and public relations firm to promote his international activities, was behind the publication of those articles.

A sufficiency economy does not conflict with the world's capitalist-based economic system, said Col Sansern.

Instead, the two principles complement each other, he said


Cummon!

Now it has become Thaksin V.S. King's Theory

While, CNS urged Thai academics to provide support for sufficiency economy, their argument that those criticism of sufficiency economy from international perspecives were financed by Thaksin is "useless".

This debate on "sufficiency economy" will never yield any insight, unless we stop taking it as "royal theory". When the fact that "who said it" is more important than "its substance", don't expect any valuable debate. It is ended from the start.

Monday, January 29, 2007

Paradox of the Modern Nation-State

I read this idea of Ben Anderson, which I think is very interesting - especially for the Thai case.

Paradox of the Modern Nation-State: While the modern nation-state is a new construct (by nationalism idea, by the political elites), the effort to create it is to make it old in history.

Interestingly, with our history textbooks uses in Thai schools, how many Thais would know that our nation-state is a modern construction?

Seems like a perfect explanation for Thai understanding of history, is it?

Friday, January 26, 2007

A Lonely Night with Czech's Beer and Textbooks

Man!

What a Night!



Anyway, Czech's Beer is in fact, GREAT!

ฉันมีค่าแค่ไหน?

ท่ามกลางกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับ คมช.)

ขอมอบเพลงนี้ให้กับประชาชนชาวไทย...ด้วยความเคารพ



ถ้าคนอย่างฉันตาย...จากไป

เธอเศร้าใจรึเปล่า?

หนึ่งคนที่ข้างเธอ...ยามเหงา

มัน "มีค่าสักแค่ไหน"...สำหรับเธอ?





คลิกเพื่อฟังและร่วมร้องเพลงนี้ในเวอร์ชั่นคาราโอเกะ

...เพื่อไว้อาลัยให้ประชาธิปไตยไทย

ได้ที่ "กระต่ายน้อย Music&Videos" ทางขวาครับ

ถ้าให้ดี เปิดหน้าต่างใหม่ ฟังเพลงไป ดูรูปในโพสนี้ไป จะได้อารมณ์มาก!

Wednesday, January 24, 2007

ธรรมศาสตร์

ปรีดี พนมยงค์ (ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2477)



"มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประดุจ “บ่อน้ำ” ที่คอยดับความกระหายของราษฎร ซึ่งแสวงหาความรู้ในทางสังคมการเมือง"

.

.

.

.

.

.

.

น้ำดื่มโดม (ปัจจุบัน)



ราคา 5 บาท

ขวดกระทัดรัด กิ๊บเก๋ ประดับสัญลักษณ์พระราชทานยูงทอง

หาดื่มได้ทั่วไปในธรรมศาสตร์เพื่อดับกระหาย (หิวน้ำ) และซึมซับ "ความรักประชาชน"

ป.ล.ดื่มเสร็จแล้วโดดเรียนไปชอปปิ๊งพารากอนกันนะ

Monday, January 22, 2007

Happiness as an Evaluative Space for Development?

As we all know, "happiness" has been proposed by some of the Thai elites and academics to be our alternative goal of development. Gross National Happiness (GNH) has attracted wide range of interests, it has became a very fashionable term. Today I have Amartya Sen's reflection on this issue for you to read.

First of all, let me tell you that happiness is not a new concept in economics. It's actually always there, inherented in the term "utility", i.e. the mental satisfaction derived from something. So when you heard about happiness as an indicator of well-being, please don't say it's a new thing.

Ironically, as some country like Bhutan want to use Gross National Happiness as their goal of development, it also means that they want to use Gross National Utility as their development objective. And as economic theory normally argues that level of utility a person achieves depends on the amount of consumption (as constrainted by income) he or she gets, it doesn't really make a big different between using GNH or GDP. It's just the same thing.

Alright, let's now arrive at Sen's comment on the use of happiness (or utility) as an evalative space for development.

Sen has stated this in his book "Inequality Rexamined" (Page 6-7):

"This way of seeing individual advantage is particularly limiting in the presence of entrenced inequality. In situation of persisitent adversity or deprivation, the victims do not go on grieving and grumbing all the time, and may even lack the motivation to desire a radical change of circumstances. Indeed, in terms of a strategy for living, it may make a lot of sense to come to terms with an ineradicable adversity, to try to appreciate small breaks, and to resist pinning for the impossible or the improbable."

"Such a person, even though thoroughly deprived and confined to a very reduced life, may not appear to be quite so badly off in terms of the mental metric of desire and its fulfillment, and in terms of the pleasure-pain calculus. The extent a person's deprivation may be substantially muffled in the utility (happiness) matric, despite the fact that he or she may lack the opportunity even to be adequately nourished, decently clothed, minimally educated, or probably shletered."


Alright, in his book, Sen went from this to proposed "capability approach" as an evaluative space for development.

For those that have been attracted to the idea of GNH, I hope this quote might reflects on something. GNH, first of all, is a very bad evaluative space for inequality (as Sen argue above). Second, it's bad in the same way as using income or commodities (GDP) to evaluate development (since income or comodities reflect utility, which is the term for happiness).

Well, in the end, some other theory (a.k.a. sufficiency economy) that also relied on the argument of "development as happiness" will have to be reconsidered. Especially, since it try, not only to put happiness as an evaluative space (which, as explained, goes against idea of equality or justice), but also proposed that people have to adjust their calculus of happiness, to reach the point where they can be happy easily. It's more than "not caring on inequality", proposing instead the "rigid form of inequality".

Any development practitioners and academics in Thailand, please come out from this fantasy and face the truth. Don't you agree that inequality is a big problem for Thailand?

Saturday, January 20, 2007

Religion as a Thai Elite's Instrument

Today, in a toilet, I got some idea.

It's about the comparison of religion's role in Thailand and in the West.

What came up to my mind was that, religion in the West was seperated from state. As you probably knew, in the West, Church role was often in parrarel to that of the ruling class. Church sometimes even had a conflicting role with the elites. They sometimes competed with each other to gain the influence over the popular masses.

Well, I won't evaluate whether it's good or bad. But will compare that to the Thai case.

In Thailand, do we really have the seperation between "church" and "state"? The answer should be "no".

Especially after the reign of Rama 4. Church has a close relation with King. We even had a king's uncle as the สังฆราช. We had the royal branch of "Church" established from King Rama 4.

I would say, instead of seperation, Buddhist Church in Thailand was used more as a tool for elites in getting control over popular masses' lifes.

This is probably why, Buddhist religion in Thailand has many weaknesses. The system of administration for monks was almost the same as any "ministry". Where the centre
of Buddhist education is in Bangkok, and the monks educated from center are send to administer monks at provincial, district, and tambon level. This system is indeed, very bureaucrat.

It's probably the fact that Thai Buddhist was admisnistered this way, that the main content of Buddhist philosophy as a guidance for enlightened lives was overlooked. It's, therefore, not surprising that the mainstream Buddist philosophy was merged with the local superstition, and the commercialised form of Buddhist emerged.

The light came out during ท่านพุทธทาส time, the idea of Buddhist as a philosophy for enlightened one's mind came back. However, even with the quality, the impact of พุทธทาส was not enough to change the established structure.

I would say, from my experience, many monks I met are great. In fact, so many good monks exist in Thailand. But these monks are not living in the mainstream circle of That Buddhist religion. They are more at the margin of mainstream.

The mainstrem is plagued with many problems. I would argue that these problems actually root in the structure. Thai buddhist, as governed by elites, has a rigid structure that would not be able to carry on any reform necessary to adapt with changes. Givern how the environment has changed rapidly over last few century, it's not surprising why Thai Buddhist now have so much problems.

Anyone has some thoughts on this topic...please share.

Monday, January 15, 2007

ทหาร กับ มาเฟีย เหมือน หรือ แตกต่าง?

วันนี้เรียนเรื่องบทบาทรัฐกับการใช้ความรุนแรง สนุกมาก

ความรุนแรงในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการตีร้างข้างหัวนะครับ แต่หมายถึงการใช้อำนาจเข้าควบคุม และหากไม่ทำตามก็จะต้องถูกทำโทษด้วยวิธีต่างๆนาๆที่ไปลดสวัสดิภาพ เช่น ขังคุก ปรับ หรืออาจซ้อม (ในกรณีตำรวจบางประเทศ)

ส่วนใหญ่ก็เรียนเกี่ยวกับเรื่องว่ารัฐผูกขาดความรุนแรงอย่างไร เพื่ออะไร แล้วสังคมตอบสนองกับรัฐอย่างไร

มาฉุกคิดอยู่ตรงหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องทีเรียน

อาจารย์เลกเชอร์ว่ามีสังคมบางแบบที่รัฐไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทใช้อำนาจได้อย่างปรกติ

เช่น สังคมทหาร (มีศาลของตัวเองแยกต่างหาก) และสังคมมาเฟีย แบบมาเฟียจริงๆนะคร้าบ ยุคสมัยอันธพาลครองเมือง มาเฟียอิตาลี ประมาณนั้น

พอมาลองนึกดูแล้ว สังคมทหาร (ทหารเป็นใหญ่ในบ้านเมือง) กับสังคมมาเฟีย (มาเฟียครองเมือง) ก็มีอะไรคล้ายกันเหมือนกันนะเนี่ย

หนึ่ง ทั้งทหารและมาเฟีย สิ่งที่สำคัญที่พวกเขาต้องเน้นมากในการจัดระเบียบกันเองในหมู่คณะ (เมื่อรัฐไม่มีบทบาทในการจัดการพวกเขา) ก็คือ "เกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรี" สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญควบคุมพฤติกรรมหมู่สมาชิกไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เพราะในสังคมทั้งสองความรุนแรงไม่ถูกผูกขาดอีกต่อไป แต่ถูกกระจายไปตามกลุ่มก้อนๆหรือบุคคลต่างๆ หากไม่มีเกียรติยศ หรือ ศักดิ์ศรีมาช่วยควบคุม ก็อาจเกิดความวุ่นวายได้ง่ายๆ

สอง ในกรณีที่เข้าไปมีบทบาทร่วมกำกับผู้อื่น ทั้งทหารและมาเฟียทำหน้าที่ใช้ความรุนแรงแทนรัฐ ส่วนใหญ่ข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงก็คือ ถ้าเราไม่ใช้ความรุนแรงเข้าควบคุม สถานการณ์มันจะเลวร้าบกว่านี้ แบบมาเฟียเวลาอ้างว่าถ้าเขาไม่ทำชั่วนิดๆหน่อยๆเพื่อควบคุมคนอื่น คนอื่นๆมันก็จะทำชั่วมากกว่านั้น เขาเลยต้องทำชั่วเพื่อคุ้มครองคนอื่น ส่วนทหารน่ะหรือ ฮึๆๆๆ ลองนึกตัวอย่างเองละกัน ไม่ยาก ไม่ยาก

สาม ทั้งทหารและมาเฟีย ต่างก็ได้รายได้จากการได้ค่าคุ่มครอง ในกรณีทหารก็เป็นค่าคุ้มครองประเทศ ส่วนมาเฟียก็ค่าคุ้มครองสวัสดิภาพไม่ให้ถูกคนอื่น (หรือตัวเอง) ทำร้าย

ตัวอย่างความเหมือนก็ประมาณนี้ครับ

ที่แตกต่างกันหลักๆก็คือ ทหารทำหน้าที่หลักเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ในเชิงหลักการครับ) ในขณะที่มาเฟียทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง

อืม....ทีนี้เนี่ย มีคำถามที่น่าสนใจ

่ส่วนใหญ่เวลามีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวด้วยเนี่ย ไอ้เรื่องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ที่เคยนับถือกันในหมู่มาเฟียก็มักจะถูกเก็บใส่กล่อง อย่างรวดเร็ว แล้วมายิงกันหาคนชนะแทน แบบพวกหนังมาเฟียจีนประมาณนั้น (พวกมาเฟียจีนในหนังเนี่ย เห็นนับถือความซื่อสัตย์ ไหว้เทพเจ้ากวนอูแหลก แต่ลูกน้องฆ่าลูกพี่ตลอดเลยวุ้ย)

ทีนี้สำหรับทหารเนี่ย ตวามหลักการแล้วไม่ควรมายุ่งเรื่องผลประโยชน์มากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว

แล้วเมื่อทหารเข้ามามีเอี่ยวผลประโยชน์เยอะแยะเต็มไปหมดในประเทศล่ะ

ทหารที่ปรกติก็ไม่ได้อยู่ในการควบคุมโดยรัฐแบบประชาชนทั่วไป และก็มีความเข้าใจในการใช้ความรุนแรงที่แตกต่างจากประชาชน แบบว่าปรกติก็ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือทำมาหากินเนี่ย

อืม....ทหารจะจัดการเรื่องผลประโยชน์กันแบบไหน เกียรติยศ ศักดิ์ศรี จะยังทำงานได้ดีกว่าการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันหรือไม่?

.....ยุคที่บ้านเราเป็นเผด็จการทหารแบบนี้ คำถามนี้เราอาจได้เห็นคำตอบอีกไม่นาน......

Saturday, January 13, 2007

แนะนำ กระต่ายน้อย Music + Videos

ฮะแฮ่ม!

เนื่องจากกระผมไม่สามารถใช้บล็อคนี้อัพเพลงหรือวีดีโอได้

จึงได้ไปสร้างบ้านไว้อีกหลังที่

กระต่ายน้อย music & videos

เชิญทุกท่านเยี่ยมชมได้ตามสบาย โดยเฉพาะถ้าเหงาๆ อยากหาเพลงฟัง หรือยากหาอะไรดูเล่น

ทั้งกระนี้ กระผมจึงได้ฤกษ์ปรับปรุงบ้านหลังนี้ไปด้วย

ส่งแค่นี้

เพลงนี้เพราะดีนะ.....

คลิก

..............................

เพลง: ส่งแค่นี้

โดย: บอย ตรับ

มีคำๆ หนึ่งในหัวใจ ที่ฉันต้องพูดมัน
ก็รู้ว่าคงมีสักวันที่ฉันต้องบอกไป
แต่วันนี้ยังทำใจไม่ได้ คือคำว่าลาก่อน

เราเคยมีวันคืนที่ดี มีเธอและมีฉัน
เราเคยมีใจที่ให้กัน ก็คิดว่าแน่นอน
แต่ว่าเราก็เดินมาถึงตอนที่เป็นฉากสุดท้ายแล้วใช่ไหม

ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตรงนี้จะได้ไหม

ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน

ดูแลตัวเธอเองให้ดีจากนี้ไม่มีฉัน
เจอใครยังไงไม่สำคัญ อย่าลืมกันก็พอ
จากนี้ไปคงไม่ต้องรอ แค่สิ่งเดียวที่จะขอครั้งสุดท้าย

ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม

ส่งไกลแค่ไหนเราก็ต้องลาอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน

ไม่อยากเป็นคนต้องบอกลา แค่คิดฉันก็ยิ่งปวดใจ
เก็บเอาความรู้สึกดีๆ ส่งเธอเลยตอนนี้จะได้ไหม

ส่งไกลแค่ไหนเธอก็ต้องไปอยู่ดี
ก่อนเราจากกันฉันควรจะหยุดเท่านี้
น้ำตาที่มีให้เธอโชคดี ให้เธอปลอดภัยทุกอย่าง
จะส่งที่ไหน ฉันคิดว่าคงไม่ต่าง ยังไงก็เจ็บเหมือนกัน
เชื่อไหมว่ามันไม่ต่าง... ยังไงจะคิดถึงเธอ

............................

........ช่วงนี้ทำ essay กระจาย เพราะต้องส่งแล้ว

เรียนที่นี่ยากจริง งานก็เยอะจัด ภาษาเราก็ไม่ดี (สำหรับมาตรฐานที่นี่) มัวแต่วุ่นวายกลัวเรียนไม่รอด จนลืมอะไรรอบตัวไปเกือบหมด

ขอโทษด้วย.......

Tuesday, January 09, 2007

Blog Tag ของกระต่ายน้อย

โอ้ หลังจากกดดันมานาน

ผมก็คงได้ฤกษ์การโพส Blog Tag ของตัวเองบ้างแล้ว

หากสงสัยว่า Blog Tag คืออะไร โปรดคลิกอ่านบล็อคคุณปิ่น (ทางซ้าย) ซึ่งมีคำอธิบายอยู่

ว่ากันสั้นๆก็คือ ให้เล่าเรื่องที่เป็นความลับมาห้าอย่าง แล้วก็ Tag ต่อไปห้าคนเพื่อให้ทำแบบเดียวกันต่อ

ทั้งกระนี้บุคคลที่ tag ผมมาก็คือ คุณ Fringer เจ้าของบล็ิอคและคอลัมน์คนชายขอบชื่อดังนั่นเอง! เป็นเกียรติที่ได้รับ tag จากคุณครับผม

มาถึงความลับห้าประการที่ไม่อยากบอก (แต่ก็ต้องบอกแล้วล่ะ)

อะแฮ่ม......

หนึ่ง ผมเคยสอบได้เกรดศูนย์ครั้งนึง ตอนอยู่ม.สาม จำได้ว่าเป็นวิชาศิลปะเพื่อชีวิต ตอนกลางภาคผมสอบได้คะแนนท็อป หลังจากนั้นมาก็เลยไม่เข้าเรียนเลย เพราะรวมคะแนนเก็บก็น่าจะผ่านแล้ว ปรากฏว่าถึงตอนสอบปลายภาคผมต้องการอีกประมาณห้าคะแนนจะสอบผ่าน แล้วความขี้เกียจเจ้ากรรมก็ทำผิด เพราะไม่ได้เข้าเรียนก็เลยไม่มีสมุดจด พอจะไปยืมของเพื่อนก็ปรากฏว่าเพื่อนติดธุระให้ยืมไม่ได้ ผมทำไงน่ะหรือ ฮึ ฮึ นอนครับ กะว่าตอนเช้าค่อยยืมใหม่มาอ่านก่อนสอบ ปรากฏว่าเพื่อนต้องใช้ตอนเช้าเหมือนกัน สรุปก็เลยไม่ได้อ่านไรเลย เข้าไปมั่วอย่างเดียว ผลน่ะหรือ ศูนย์เต็มๆครับ ก็เป็นเกรดศูนย์ที่ได้ครั้งเดียวในชีวิต (แม้ตอนม.ปลายจะได้เกรดหนึ่งฟิสิกส์ เคมี มาตลอดตั้งแต่ ม.สี่ ยัน ม.หก ก็เถอะ)

สอง ผมเป็นคนขี้น้อยใจมาตั้งแต่เด็ก สาเหตุคงเป็นเพราะผมเป็นน้องคนสุดท้องของรุ่นเดียวกันในเครือญาติทั้งหมดที่โตมาด้วยกัน ตอนเด็กๆผมมักต้องเล่นกับญาติๆที่ล้วนแก่กว่าสองสามปีขึ้นไป และก็มักทำอะไรที่เขาทำกันไม่ได้ วิ่งแข่งก็แพ้ ชูตบาสก็ไม่ได้ แถมโดนแกล้งบ่อย (เด็กสุด) ก็เพิ่งมาเข้าใจเร็วๆนี้ว่าถ้าตอนนั้นอายุเท่ากันคงทำอะไรได้มากกว่านั้น อืม...ไม่รู้วิเคราะห์สาเหตุถูกหรือเปล่าเนี่ย

สาม ผมเคยถูกพักการเรียนครั้งนึงตอนม.สี่ สาเหตุเพราะปีนรั้วโรงเรียนออกไปเที่ยวกลางคืนที่อาร์ซีเอ จำได้ว่าตอนนั้นซ่าส์มาก แบบอายุก็ไม่ถึง แต่อยากไปเที่ยว วันนั้นดวงซวยมากๆ เจอตำรวจลุยครับ เจ้าของร้านก็ประกาศให้พวกอายุไม่ถึงออกไปนอกร้านก่อน ก็เลยเดินออกไปอยู่หลังร้าน ปรากฏว่าเจอตำรวจพอดีครับ ก็เลยวิ่งหนี (กลัวโดนจับ) แล้วก็เรียกแท็กซี่กลับมาโรงเรียน มาถึงก็มีรุ่นพี่มาแจ้งว่าอาจารย์ที่ดูแลหอมาตรวจแล้วก็พบว่าผมหายไป เพราะฉะนั้นให้ไปรายงานตัวตอนเช้าด้วย สุดท้ายก็เลยโดนพักการเรียนในวันเดียวกับที่เพื่อนๆไปทัศนศึกษาต่างจังหวัดกันครับ (เสียดายมากๆเพราะพวกมันดันถ่ายรูปไว้เยอะแยะ แล้วก็ไม่มีผมเลยซักรูป)

สี่ ผมอกหักครั้งแรกตอนอยู่มหาลัยปีสอง จำได้ว่าไปจีบเด็กบัญชีที่เป็นน้องรุ่นพี่ที่กลุ่ม แต่ด้วยความอ่อนหัด แบบจีบหญิงไม่เป็นเลย ทำตัวไม่เป็นธรรมชาติอย่างแรง เก้ๆกัง อยู่ต่อหน้าก็ไม่กล้าพูด จะหาน้ำให้กินก็ไปเอาน้ำมะขามให้ (เขากลับไปท้องเสีย) สุดท้ายก็โดนปฏิเสธครับ ตอนอกหักก็เสียใจมากๆแบบผอมไปเลย เพราะจีบแบบจริงจังมากๆ เพิ่งมารู้สึกตัวตอนนี้ว่าจริงๆถ้าจีบติดเราก็เป็นได้แค่แฟนที่ห่วยแตกอยู่ดี เพราะฉะนั้นเขาก็โชคดีแล้วที่ปฏิเสธเราไป

ห้า สุดท้ายแล้ว เอาเรื่องนี้ละกัน คือตอนนี้เนี่ย ผมเริ่มเข้าใจว่าไอ้การหมกหมุ่นกับการศึกษา บวกอาการวิตกจริตอย่างหนักเนี่ยมักทำให้คนแปลกได้จริงๆ แบบว่าตอนนี้เป็นไรก็ไม่รู้ เดี๋ยวก็เอะอะว่าตัวเองโง่ลงบ้าง เดี๋ยวก็งงๆว่าความจำหายไปไหนหม๊ด เดี๋ยวก็งงๆกับการสือสารอย่างหนัก เคยหูแว่วได้ยินฝรั่งทักทายเราเป็นภาษาไทยซะงั้น เอ่อ บ้าไปแล้ว

ขออนุญาตไม่แท็คต่อนะครับ กลัวสุดท้ายจะกลับมาหาตัวเอง