Thursday, May 10, 2007

ศีลธรรมกับการเมือง: บทเรียนจากกระแสชาตินิยมฮินดู (1)

"เบื้องหลังหน้ากากแห่งศีลธรรม มีแต่ความเกลียดชัง ความกลัว และความต้องการอยู่เหนือกว่า"

(สเตลิออส ยานาคูโปลอส* ปราชญ์ชาวกรีก)

...............................


ท่ามกลางกระแสศีลธรรมนำการเมืองในเมืองไหแลนด์ที่รัก

กระผมขอนำท่านๆไปดูสิ่งที่เกิดในประเทศใกล้ตัว เผื่อจะเปิดหูเปิดตารู้บ้างว่ามุขเดิมๆมันมักจะเกิดในการเมืองเสมอ ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม...

อินเดียมักถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับจากจำนวนประชากร)

ประชาธิปไตยในอินเดียนั้น แม้มักจะถูกนักวิชาการหลายแขนง (ทั้งขวา ซ้าย เกย์ ได้โนเบล) กล่าวถึงอยู่เนืองๆว่ามีที่มาแต่โบราณมั่กๆ แต่เอาเข้าจริงก็ควรจะนับว่าอินเดียเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวตั้งแต่หลังได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ

โดยหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ก็เดินตามรอยอังกฤษในการใช้ระบบ Parliamentary ซึ่งมีการแบ่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชัดเจน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร

ช่วงแรกของประชาธิปไตยในอินเดียนั้น เป็นช่วงที่การเมืองถูก dominate โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรค Congress ผู้เป็นผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้ผู้นำพรรค Congress ที่โด่งดังในอดีตก็คือ ท่านมหาตมะคานธี นั่นเอง

พรรค Congress ชนะเลือกตั้งสบายๆมาหลายสมัย ตั้งแต่ เนห์รู มาถึงลูกสาวของเขา อินทิรา คานธี และก็ลูกชายของอินทิรา ราจีฟ คานธี

และด้วยฝีมือการบริหารของ อินธิรา และ ราจีฟ ซึ่งเน้นการเมืองป๊อปไอด้อล แบบว่าข้าเด่นคนเดียว ผู้นำอยู่เหนือพรรค (คุ้นๆป่ะ) และนโยบายประชานิยมสุกเอาเผากิน ด้วยโฆษนาขี้โม้ End Poverty (คุ้นๆป่ะ คนจนจะหมดไปอ่ะ) พรรค Congress ก็เลยกลายเป็นพรรคที่อ่อนแอลง เสื่อมลง เสื่อมลง กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะคนไม่หายจนซะที (สมัยอินทิรา) บอกจะแก้คอร์รัปชั่น พี่แกเล่นแด๊กเองแล้วโดนจับได้ (สมัยราจีฟ ผู้เคยมีฉายาว่า Mr.Clean แต่ตอนสุดท้ายก่อนตายถูกสืบสวนพบว่ามีส่วนพัวพันคดีคอร์รัปชั่นใหญ่)

แต่แม้พรรค Congress จะเสื่อมลงไป ก็ยังทิ้งผลงานการบริหารประเทศที่สำคัญไว้หลายประการ ที่สำคัญเห็นจะเป็นการทำให้อินเดียเป็นรัฐแบบ Secular ซึ่งหมายถึงการแยกการเมืองออกจากศาสนา เพราะเมื่อครั้งเรียกร้องอิสรภาพนั้น พรรค Congress เป็นต้องรวบรวมกำลังจากหลายศาสนา เชื้อชาติ และวรรณะ ในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย ทำให้พรรค Congress ต้องไม่เอาความต่างเหล่านี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง มิเช่นนั้นขบวนการขับไล่อังกฤษอาจแตกแยกได้

พรรค Congress ก็อ่อนแอ้ อ่อนแอ การเมืองก็มีแต่คนว่าๆสกปรก ขาดศีลธรรม

แต่..อนิจจา อินเดียคงทำบุญมามากกว่าไหแลนด์ เพราะม่ายมีทหารกับผู้มีบารมีมาปฎิวัติ ม่ายมีใครให้ขอม.7 ประชาธิปไตยของอินเดียก็อยู่ของมันต่อไป

กลับกัน ประชาชนชั้นล่างของอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่มีวรรณะต่ำกว่าและพวกต่างศาสนา กลับมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุนั้นน่ะหรือ นักวิชาการจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ขอเอ่ยนาม (เพราะจำไม่ได้) บอกว่าเป็นเพราะประชาชนชั้นล่างและคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกเหยีดหยามและดูถูกโดยระบบวรรณะมานานแสนนาน พอมีประชาธิปไตยที่ให้สิทธิทางการเมืองกับพวกเขาได้เท่ากับคนอื่นๆ เขาก็เลยต้องการจะแสดงให้เห็นสิทธิของตัวเองบ้าง

ประชาชน คนชั้นล่างเหล่านี้ อาศัยโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่อ่อนแอลง สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆที่เป็นตัวแทนพวกตน เช่น ตัวแทนวรรณะ ตัวแทนเชื้อชาติและศาสนา ที่ล้วนหลากหลายมากๆเข้าไปนั่งในสภา ทำให้การเมืองของอินเดียแปรสภาพจากที่ถูก Dominate โดยพรรคใหญ่ มาเป็นการเมืองที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากมาแบ่งเค๊กกัน

ประชาธิปไตย ที่คุณภาพห่วยๆ ศีลธรรมแย่ๆ ก็กลายมาเป็นของมีค่าสำหรับคนชั้นล่าง ทั้งที่วรรณะต่ำ หรือที่มีความต่างทางศาสนาและเชื้อชาติในอินเดีย

และด้วยลักษณะเช่นนี้ ภาษาวัยรุ่นต้องกล่าวว่า เสร็จเจ๊ (เบียบหรือป. เค้าไม่รู้นะ) เพราะโดนด่าอย่างกรีดกรายได้ว่า... นักการเมืองที่เกิดมาตามเสียงของคนชั้นล่างเหล่านั้นอัปรีย์เพราะถูกเลือกโดยประชากรผู้โง่เขลา คนระดับล่างไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรม เลือกนักการเมืองที่โกงกินเข้ามาบริหารบ้านเมือง (โอ๊ย!!! เสียงชาวไหแลนด์โดนกระทบ)

ก็น่านล่ะ สภาพเบื้องต้นที่นำไปสู่กระแสชาตินิยมฮินดู ที่เอา "ศีลธรรมนำการเมือง" รวมถึงเรียกร้องให้มี "ศาสนาประจำชาติ" ประดุจดั่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในไหแลนด์ตอนนี้เลย.....(แต่ของเขาเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วนะ แต่ก็เอาเถอะ ประชาธิปไตยบ้านเราชอบวิ่งไปกลับอยู่แล้ว)

แต่เพราะเราจะไปเขียน Essay ส่ง เพราะฉะนั้นจะกลับมาเขียนตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะ

.................

*หมายเหตุ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับทีม Bolton ในพรีเมียร์ชิพ

4 comments:

Anonymous said...

why does poverty seem to be such a simply and complicated intriguing problem at the same time? why does it so hard to make an end for it? it's complicated sometimes in the sense that many tools have been suggested as the way out of poverty even a tool as "morality": morality as a viel agaist reality.

Anonymous said...

พี่เขียนสนุกดีนะคะอ่านแล้วเข้าใจง่าย แถมยังเพิ่มรอยหยักในหัวได้อีกด้วย ขอบคุณมากๆ แล้วจะเข้ามาอ่านบ่อยๆ ^^รักษาสุขภาพด้วยนะคะ^^

Anonymous said...

ดีครับ ชอบมากเรยครับ พอดี หลงเข้ามา ขอถามเจ้าของ เรื่องนี้ครับ ได้ข่าวว่าเปนอาจานสอนเสดสาด อยากรุ้ง่ะครับ ว่า ถ้าจบ ตรีวิดวะ แล้ว ต่อโท เสดสาด ได้เรยไม๊คับ คือสนใจทางด้านนี้มาด

Anonymous said...

ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดี ๆ