Monday, January 29, 2007

Paradox of the Modern Nation-State

I read this idea of Ben Anderson, which I think is very interesting - especially for the Thai case.

Paradox of the Modern Nation-State: While the modern nation-state is a new construct (by nationalism idea, by the political elites), the effort to create it is to make it old in history.

Interestingly, with our history textbooks uses in Thai schools, how many Thais would know that our nation-state is a modern construction?

Seems like a perfect explanation for Thai understanding of history, is it?

4 comments:

Anonymous said...

could u elaborate more?

กระต่ายน้อย returns said...

ตอบคุณ Ginola

เรื่องนี้ต้องอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์เล็กน้อย

โดยหลักการแล้วการศึกษาประวัติศาสตร์ควรศึกษาเพื่อให้เข้าใจอดีตในบริบทของอดีตเอง โดยไม่พยายามนำเอาสภาพต่างๆในปัจจุบันเข้าไปตััดสิน

แต่เอาเข้าจริง ประวัติศาสตร์จำนวนมากกลับถูกเขียนโดยผู้มีอำนาจมากกว่าในสังคม เพื่อเอามาสนับสนุนอำนาจของตัวเอง

เป็นการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้เวลาเราอ่านประวัติศาสตร์ประเทศต่างๆมากมายที่ถูกเขียนขึ้นในยุคชาตินิยม หรือยุคการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ เรามักจะพบว่าประวัติศาสตร์เหล่านี้จะพยายามบอกว่ารัฐชาติของตนนั้นมีมาแต่เนิ่นนานแล้ว เพื่อสร้างมายาคติให้คนทั่วไปหลงไปว่า รัฐชาติของตนประเสริฐยิ่งและควรค่าต่อการคลั่งไคล้

ผมเอ่ยถึงตรงนี้เพราะมันทำให้ผมนึกถึงรัฐไทยของเราเป็นอย่างมาก

เราเชื่ออย่างที่ประวัติศาสตร์ไทยเขียนจริงๆหรือ ว่าประเทศไทยของเราอย่างที่เห้นๆในแผนที่ เป็นประเทศเอกราช มีกษัตริย์เป็นประมุข ปกครองประชาชนทั่วไปโดยสงบบ้าง วุ่นวายบ้างมาเนิ่นนานกว่าเจ็ดร้อบกว่าปี

เชื่อจริงหรือ ว่าเหล่าเมืองต่างๆที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในฐานะจังหวัด เขารู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยเหมือนอย่างที่เป็นในปัจจุบัน ชาวบ้านทั่วไปเขาจะรู้อะไรไปมากกว่าเขาต้องโดนเก็บภาษีหรือขูดรีดแรงงานโดยอีกเมืองหนึ่งที่มามีอำนาจเหนือตัวเองบ้างไหม

อันที่จริงประเทศไทย เพิ่งเริ่มมาทำตัวเองให้เป็นรัฐที่บริหารจากศูนย์กลาง ภายใต้แนวทางรัฐสมัยใหม่มาเมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง แต่คนไทยทั่วไปมักมองรัฐชาติตัวเองแบบเก่าแก่ มีค่า น่าเชิดชู

เอาเข้าจริง คนไทยจำนวนมากไม่ได้อยู่แถวนี้มาก่อนด้วยซ้ำ อย่างที่เราเห็นในกรุงเทพ มากกว่าครึ่งน่าจะเป็นลูกหลานคนจีนอพยพ

แล้วเราก็มาโดนจับให้เรียนหนังสือไทย แล้วก็อ่านประวิติศาสตร์ไทยแบบที่เขียนมาตอบสนองชาตินิยมสุดๆ ไม่เคยมีที่ยืนให้คนเล็กน้อย ไม่เคยมีที่ยืนให้คนที่ไม่ใช่ "เจ้านาย" ไม่เคยมีแม้การบรรยายความต่างของเหล่าคนในอดีตที่อาศัยในพื้นที่ประเทศไทย

ก็อย่างนี้นั่นล่ะ ที่เวลาเรามีปัญหาด้านความต่าง ทั้งทางศาสนา ทางเชื้อชาติ หรือทางวัฒนธรรม เราก็ยอมรับมันไม่ได้ โดยมองไปว่ามัน "ไม่ใช่คนไทย"

Dawdle Man said...

แผนภาพหนึ่งที่จดจำได้ติดตามตั้งแต่สมัยเรียนประถม

ภาพแผนที่แสดงอาณาเขตอันกว้างขวาง ของอยุทธยาสมัยพระนเรศวร ที่มีเขตชายแดนชิดกับประเทศจีน (ในปัจจุบัน) ทางเหนือ ตะวันออกชิดกับเวียดนาม ตะวันตกได้ค่อนแผ่นดินพม่า และได้ครองคาบสมุทรมาลายูเกือบทั้งหมด

จำได้ว่า สมัยนั้นมีความรู้สึกว่า "ประเทศก็ยิ่งใหญ่นะเฟ้ย...ไอ้พวกเขมร ลาว หรือมาเลย์ เอ็งก็เคยเป็น ประเทศราชของข้าฟะ"

ขณะเดียวกัน

ชาวอียิปส์ ชาวอิตาเลียน ชาวมอนเตรเนโกร หรือชาวมองโกลเลียบางส่วน (หรือหลายส่วน) ก็คงมีความภูมิใจในบรรพบุรุษของตนที่ประกาศศักดาด้วยการสร้างปิรามิด หรือยกย่องจูเลียต ซีซาส์/อเล็กซานเดอร์/เตมูจิน ที่ครั้งหนึ่งเคยเกือบเป็น "เจ้าโลก"

Similarly,
There was no such words (or concept) "Thailand/Siam", "Egypt", "Italy", "Montrenegro" or "Mongolia" understood by people who lived in 400, 1000, 2000 and 4000 years ago.

ซึ่งจริงๆ แล้วชื่อประเทศเหล่านั้นไม่แก่เกิน 200 ปีด้วยซ้ำ เผลอๆ อ่อนกว่านั้นอีกเยอะ

มีนักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งเคยให้คำจำกัดความของ "ประวัติศาสตร์" ในแบบเรียนสำหรับเด็กๆ ว่าเป็นสิ่งที่ "เขียนให้จำ ถูกทำให้ลืม"

ถ้า ladder thoughts ต่อจากสิ่งที่คุณกระต่ายได้อรรธถาธิบาย ไปก็มีคำถามว่า ไอ้สิ่งที่เราเรียกว่า "ชาติ" คืออะไร แล้วชาติ มีราคาเท่าไร แล้วถ้ามีราคา what is the equilibrium price of a "nation"?

ผู้ใดรู้ช่วยบอกที เพราะได้ยินหลายคน claim ว่าคนนู้นก็ขายชาติ คนนี้ไม่รักชาติ ก็เลยขาย

อยากซื้อ เผื่อว่าจะได้มีคนบอกว่าผมรักชาติ เหมือนกับอีกหลายๆ คน

PS: ผมเป็นพลเมืองโลกนะ

Anonymous said...

เข้าไปอ่านบทความ เบน แอนเดอร์สัน

ศึกษารัฐไทย: พากษ์ไทยศึกษา

http://www.sameskybooks.org/upload/file/3-38aw_98-147.pdf