โทษทีครับ
หลังจากเขียนเรื่องไร้สาระมาหลายเรื่องแบบไม่ฮิตเท่าไหร่
ผมก็ต้องขอตัวไปอ่านหนังสือสอบอีกตัว
ตัวสุดท้ายของปีนี้ละ
แล้วเจอกันใหม่
สอบเสร็จ
วันที่
13
มิย.
.
.
.
Thursday, May 31, 2007
Friday, May 25, 2007
The Politics of Ambiguous Words
Inspired by the talk with Rongrat this morning. I was thinking all day about how ambiguos words work in politics.
I think Foucault discourse analysis can be a good approach here. Foucault argues, truth about discourse is not important, the more important thing is "how" discourse works to effect changes, what impacts it has to people practices and ideas.
Then, it is not useful to 'interpret' the ambiguous words. The words themselves are not supposed to 'mean' anything. The more important thing to observe, to follow Foucault's line, is "how will they effect people behavior".
I reckon, some ambigous words are just conveying "power" to legitimate what might be a "predetermined" action.
I think Foucault discourse analysis can be a good approach here. Foucault argues, truth about discourse is not important, the more important thing is "how" discourse works to effect changes, what impacts it has to people practices and ideas.
Then, it is not useful to 'interpret' the ambiguous words. The words themselves are not supposed to 'mean' anything. The more important thing to observe, to follow Foucault's line, is "how will they effect people behavior".
I reckon, some ambigous words are just conveying "power" to legitimate what might be a "predetermined" action.
Tuesday, May 22, 2007
"Rambo 4" is in Burma
Rambo said it best… “When you're pushed… Killing's as easy as breathing."
.............................
This might interested you!
The film Rambo 4, yes you're right - that John Rambo guy, is about Mr.John saving people in Burma from the military men.
The preview of the film is here:
http://www.youtube.com/watch?v=AiHNZw9qFtM
Interestingly, as the news reported, Stallone chose to make film about Burma based on the information that it is one of the few areas left in the world with inhumane conducts done by the military dicatorship. (Then, as you know, Rambo has to go out and kick the military asses)
Well...John Rambo, the country next to Burma now also has a military dictatorship to be overthrown. Are you interested, John?
.............................
This might interested you!
The film Rambo 4, yes you're right - that John Rambo guy, is about Mr.John saving people in Burma from the military men.
The preview of the film is here:
http://www.youtube.com/watch?v=AiHNZw9qFtM
Interestingly, as the news reported, Stallone chose to make film about Burma based on the information that it is one of the few areas left in the world with inhumane conducts done by the military dicatorship. (Then, as you know, Rambo has to go out and kick the military asses)
Well...John Rambo, the country next to Burma now also has a military dictatorship to be overthrown. Are you interested, John?
Morality?
If you have read this blog enough, you should have recognized one important shift in my standpoint.
I have been much more critical toward "morality".
I actually have some story to tell you about this. As the student from Thammasat, when I first come to Oxford, I was filled up with ideologies on morality. Many of my thoughts and arguments related to development were justified on the ground of morality.
When I did my first essay for anthropology, I wrote about consumerism, justifying it as dangerous based on morality ground. Although there're plenty of Thai famous academics who said the same thing, my first essay was tore apart by the professor. He argues, which I found out later to be right, that in an academics point of view - it is not legitimate to justify anything based on "moral" ground. To write a good academic piece of work at international level, morality from Thai perspective doesn't really have any use.
In addition, going through a tough course on anthropolgy of development, I also come to realize the drawback of morality. Morality itself have a close relations with power. If you are critical about some part of the Thai history, then it should not be too difficult to realize that many events in Thailand clearly demonstrate this point. Reading history from many developing counties, I also realized that "morality itself is not bad, but when it is used by people - then it can become a means for domination, oppression, or even for demolition".
Hence, I concluded that "let's keep morality to be about practice, not to be about....saying words that make you look good"
I have been much more critical toward "morality".
I actually have some story to tell you about this. As the student from Thammasat, when I first come to Oxford, I was filled up with ideologies on morality. Many of my thoughts and arguments related to development were justified on the ground of morality.
When I did my first essay for anthropology, I wrote about consumerism, justifying it as dangerous based on morality ground. Although there're plenty of Thai famous academics who said the same thing, my first essay was tore apart by the professor. He argues, which I found out later to be right, that in an academics point of view - it is not legitimate to justify anything based on "moral" ground. To write a good academic piece of work at international level, morality from Thai perspective doesn't really have any use.
In addition, going through a tough course on anthropolgy of development, I also come to realize the drawback of morality. Morality itself have a close relations with power. If you are critical about some part of the Thai history, then it should not be too difficult to realize that many events in Thailand clearly demonstrate this point. Reading history from many developing counties, I also realized that "morality itself is not bad, but when it is used by people - then it can become a means for domination, oppression, or even for demolition".
Hence, I concluded that "let's keep morality to be about practice, not to be about....saying words that make you look good"
Sunday, May 20, 2007
ชะตากรรมบนรอยแยกของประชาธิปไตย
"หรือจะเป็นชะตากรรมของเราที่ตราบใดที่เรายังมีคนที่เรารัก เราก็คงไม่มีวันเป็นอิสระเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองได้"
...........
(บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจและข้อมูลจากหนังสือ Fault-Line of Democracy in Post-Transition Latin America โดย Felipe Aguero และ Jeffrey Stark ครับ สนใจหาอ่านได้ตามห้องสมุดใกล้บ้าน)
....ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการปกครองประชาธิปไตยนั้น มักมีปัญหาสำคัญประการหนึ่ง
ปัญหานั้นคือการมองประชาธิปไตยแบบกระบวนการ (Procedural) ทับซ้อนกับประชาธิปไตยที่เป็นเนื้อหา (Substantive) โดยมองว่าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ
ี้(ประชาธิปไตยแบบ Procedural นั้นหมายถึงประชาธิปไตยในความหมายแบบ Minimalist ซึ่งก็คือเน้นที่กระบวนการ ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีรัฐบาลที่เป็นอสระ องค์กรนิติบัญญัติและศาลทำงานได้โดยไม่ถุกแทรกแซง ในขณะที่ประชาธิปไตยแบบ Substantive นั้นเน้นที่การมีสิทธิโดยตรงทางการเมือง การมีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม การมีรัฐบาลที่นำเสนอและดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
ทฤษฎีสำคัญที่ติดปัญหาการมอง Procedural Democracy ทับซ้อนกับ Substantive Democracy ก็เช่น ทฤษฎี Democratic Consolidation ของเหล่านักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองละตินอเมมริกา เช่น Linz และ Stepan หรือแม้กระทั้ง Lawrence Whitehead (ตาคนนี้ใส่กางเกงสีชมพูมาสอน Class ที่ผมเรียน เพื่อนๆในห้องยังประทับใจถึงปัจจุบัน)
ทฤษฎี Democratic Consolidation นี้มองว่าการที่จะให้ระบบประชาธิปไตยคงรอดต่อไปได้นั้น ต้องทำให้ระบบมี "คุณภาพ" ผ่านการ Consolidate ทั้งนี้กระบวนการ Consolidation ที่ว่าก็ประกอบด้วยการทำการเมืองให้มีคุณภาพ การสร้างระบบประชาสังคมที่เข้มแข็ง การมี Rule of Law การมีรัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ และการให้รัฐดูแลระบบตลาดให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
เหล่านักทฤษฎีข้างต้นคิดว่า ด้วยสิ่งเหล่านี้เท่านั้นประชาธิปไตยถึงจะหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนกลายเป็นระบบการปกครอง "หนึ่งเดียว" ในใจได้
ในช่วงเวลาที่หลายๆประเทศในละตินอเมริกากลายเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสตศตวรรษ1980นั้น พวกเขาต่างทายกันไปถึงโอกาสในการอยุ่รอดของประชาธิไตยในแต่บะประเทศ โดยดูเอาจากโอกาสในประสบความสำเร็จในการ Consolidate ระบบประชาธิปไตยในด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ดี เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี บางประเทศในอีกซีกโลกประชาธิปไตยล่มแล้วล่มอีก ประชาธิปไตยของหลายๆประเทศในละตินอเมริกาก็ยังไม่ล่มซักที
ตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้นักทฤษฎีประชาธิปไตยในยุคถัดมาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไมบางประเทศเช่นบราซิลที่ Rule of Law ก็ห่วย ระบบการเมืองก็ห่วย ภาคประชาสังคมก็แตกแถวแตกแยกกัน เศรษฐกิจก็ล้มๆลุกๆ ถึงได้มีประชาธิปตยที่มั่นคงได้
และนั้นก็กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงความต่างระหว่าง Procedural กับ Substantive Democracy
และคิดได้ว่าการคงอยู่ของ Procedural Democracy อาจมาจากปัจจัยที่ทำให้ Substative Democracy แย่ก็ได้
ตัวอย่างเช่นระบบการเมืองของบราซิลนั้น เป็นการเมืองแบบพรรคมีมากมายมหาศาลเพราะระบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเสียงขั้นต่ำ ทั้งนี้บัญชีรายชื่อแบบเปิดหมายถึงพรรคการเมืองไม่สามารถ Rank ผู้สมัครได้ ี้ผู้สมัครนอกจากจะต้องแข่งกับพรรคอื่นแล้วยังต้องแข่งกันเองด้วย ระบบดังกล่าวนั้น ไม่ต้องคิดมากก็บอกได้ว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอไร้ระเบียบ และสภาก็เต็มไปด้วยพรรคการเมืองมากมาย ไม่มีใครได้เสียงส่วนใหญ่ พอพรรคการเมืองอ่อนแอการเมืองก็อ่อนแอ
แน่นอนสภาพของระบบการเมืองบราซิลทำให้โอกาสจะเกิด Substantive Democracy นั้นน้อยมาก เพราะพรรคการเมืองและสภาที่อ่อนแอไม่สามารถนำเสนอและดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะแก่ปัญหาใดๆใก้หับประเทศได้ก็ยากแสนยาก
แต่ด้วยสภาพการเมืองที่อ่อนแอนี้ล่ะ ที่ทำให้ Procedural Democracy ของบราซิลคงอยู่ได้ สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะมันช่วยให้พรรคฝ่ายซ้ายที่เป็นที่หวาดกลัวของเหล่าEliteไม่สามารถมาดำเนินนโยบายสุดโต่งใดๆได้
สภาพดังกล่าวทำให้ดุลอำนาจนั้นไม่เสียไป ผู้ที่คงอำนาจอยู่มาก่อนไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับการหักเหทิศทางทางการเมือง
เหล่า Elite รู้ว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป พวกเขาก็กินเค็กก้อนเดิมๆได้ ไอ้นโยบายกระจายรายได้หรือรัฐสวัสดิการที่จะมาช่วยคนจนจำนวนมากโดยมาเก็บเอาภาษีจากพวกเขานั้นเกิดขึ้นไม่ได้หรอก
ว่ากันโดยสรุปก็คือ ระบบการเมืองที่อาจดีในการนำเสนอนโยบายสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น อาจไปทำให้ "วงล่ม" ได้เพราะไปขัดดุลภาพทางอำนาจและประโยชน์ทางเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันระบบการเมืองที่ทำให้วงไม่ล่มนั้นก็อาจเป็นระบบที่ไม่ได้ช่วยให้ใครได้ประโยชน์อะไรมากมายก็ได้ (แค่ไม่ทำให้ดุลอำนาจและผลประโยชน์เสียไป)
นั่นก็คือ Fault Line แบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เราเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิล
เป็น Fault Line ทีน่าเศร้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเอามาวิเคราห์กับประเทศไทย
หรือเราจะมีชะตากรรมบางอย่าง
ที่ตราบใดที่ดุลอำนาจเดิมของเรานั้น มันไม่ได้เป็นประชาธิไตยตรงไหนเลย
ด้วยดุลอำนาจแบบนี้หากมีระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็น Substantive แล้ว ดุลอำนาจนั้นก็อาจต้องโดนกระทบตามไป (ดังเช่นกรณีให้มีสส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มการแข่งขันทางนโยบายได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การเมืองที่ใกล้เคียงกับระบอบ "ประธานาธิบดี")
แน่นอนเมื่อนั้นดุลอำนาจเดิมและคนที่เกาะกินอยู่กับดุลอำนาจเดิมย่อมต่อสู้กลับ เพื่อคงสถานะของตนเองไว้
ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้นานแค่ไหนกันเชียวกับดุลอำนาจแบบนี้
ดุลอำนาจที่ยังมีอำนาจพิเศษอยู่เหนือผู้คน ไว้เป็นทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง ดุลอำนาจที่ทำให้ประเทศมีแต่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ยักมีประชาชน ดุลอำนาจที่ทำให้ทหารและราชการไม่ได้ปกป้องประเทศและรับใช้ประชาชนตาดำๆ
หรือเราควรจะคง Procedural Form ของประชาธิปไตยบ้านเมืองเราไว้ โดยการทำให้ระบบการเมืองสะท้อนดุลอำนาจดังกล่าวไปเลย เป็นการยอมจำนนต่อ"ชะตาชีวิต"
...........
(บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจและข้อมูลจากหนังสือ Fault-Line of Democracy in Post-Transition Latin America โดย Felipe Aguero และ Jeffrey Stark ครับ สนใจหาอ่านได้ตามห้องสมุดใกล้บ้าน)
....ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบการปกครองประชาธิปไตยนั้น มักมีปัญหาสำคัญประการหนึ่ง
ปัญหานั้นคือการมองประชาธิปไตยแบบกระบวนการ (Procedural) ทับซ้อนกับประชาธิปไตยที่เป็นเนื้อหา (Substantive) โดยมองว่าหากมีอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ
ี้(ประชาธิปไตยแบบ Procedural นั้นหมายถึงประชาธิปไตยในความหมายแบบ Minimalist ซึ่งก็คือเน้นที่กระบวนการ ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีรัฐบาลที่เป็นอสระ องค์กรนิติบัญญัติและศาลทำงานได้โดยไม่ถุกแทรกแซง ในขณะที่ประชาธิปไตยแบบ Substantive นั้นเน้นที่การมีสิทธิโดยตรงทางการเมือง การมีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม การมีรัฐบาลที่นำเสนอและดำเนินนโยบายแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
ทฤษฎีสำคัญที่ติดปัญหาการมอง Procedural Democracy ทับซ้อนกับ Substantive Democracy ก็เช่น ทฤษฎี Democratic Consolidation ของเหล่านักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการเมืองละตินอเมมริกา เช่น Linz และ Stepan หรือแม้กระทั้ง Lawrence Whitehead (ตาคนนี้ใส่กางเกงสีชมพูมาสอน Class ที่ผมเรียน เพื่อนๆในห้องยังประทับใจถึงปัจจุบัน)
ทฤษฎี Democratic Consolidation นี้มองว่าการที่จะให้ระบบประชาธิปไตยคงรอดต่อไปได้นั้น ต้องทำให้ระบบมี "คุณภาพ" ผ่านการ Consolidate ทั้งนี้กระบวนการ Consolidation ที่ว่าก็ประกอบด้วยการทำการเมืองให้มีคุณภาพ การสร้างระบบประชาสังคมที่เข้มแข็ง การมี Rule of Law การมีรัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ และการให้รัฐดูแลระบบตลาดให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
เหล่านักทฤษฎีข้างต้นคิดว่า ด้วยสิ่งเหล่านี้เท่านั้นประชาธิปไตยถึงจะหยั่งรากลึกเข้าไปในจิตใจประชาชนกลายเป็นระบบการปกครอง "หนึ่งเดียว" ในใจได้
ในช่วงเวลาที่หลายๆประเทศในละตินอเมริกากลายเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสตศตวรรษ1980นั้น พวกเขาต่างทายกันไปถึงโอกาสในการอยุ่รอดของประชาธิไตยในแต่บะประเทศ โดยดูเอาจากโอกาสในประสบความสำเร็จในการ Consolidate ระบบประชาธิปไตยในด้านต่างๆที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ดี เวลาผ่านไปเกือบยี่สิบปี บางประเทศในอีกซีกโลกประชาธิปไตยล่มแล้วล่มอีก ประชาธิปไตยของหลายๆประเทศในละตินอเมริกาก็ยังไม่ล่มซักที
ตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้นักทฤษฎีประชาธิปไตยในยุคถัดมาตั้งคำถามว่าทำไม ทำไมบางประเทศเช่นบราซิลที่ Rule of Law ก็ห่วย ระบบการเมืองก็ห่วย ภาคประชาสังคมก็แตกแถวแตกแยกกัน เศรษฐกิจก็ล้มๆลุกๆ ถึงได้มีประชาธิปตยที่มั่นคงได้
และนั้นก็กลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มคิดถึงความต่างระหว่าง Procedural กับ Substantive Democracy
และคิดได้ว่าการคงอยู่ของ Procedural Democracy อาจมาจากปัจจัยที่ทำให้ Substative Democracy แย่ก็ได้
ตัวอย่างเช่นระบบการเมืองของบราซิลนั้น เป็นการเมืองแบบพรรคมีมากมายมหาศาลเพราะระบบบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเสียงขั้นต่ำ ทั้งนี้บัญชีรายชื่อแบบเปิดหมายถึงพรรคการเมืองไม่สามารถ Rank ผู้สมัครได้ ี้ผู้สมัครนอกจากจะต้องแข่งกับพรรคอื่นแล้วยังต้องแข่งกันเองด้วย ระบบดังกล่าวนั้น ไม่ต้องคิดมากก็บอกได้ว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอไร้ระเบียบ และสภาก็เต็มไปด้วยพรรคการเมืองมากมาย ไม่มีใครได้เสียงส่วนใหญ่ พอพรรคการเมืองอ่อนแอการเมืองก็อ่อนแอ
แน่นอนสภาพของระบบการเมืองบราซิลทำให้โอกาสจะเกิด Substantive Democracy นั้นน้อยมาก เพราะพรรคการเมืองและสภาที่อ่อนแอไม่สามารถนำเสนอและดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะแก่ปัญหาใดๆใก้หับประเทศได้ก็ยากแสนยาก
แต่ด้วยสภาพการเมืองที่อ่อนแอนี้ล่ะ ที่ทำให้ Procedural Democracy ของบราซิลคงอยู่ได้ สาเหตุน่ะหรือ ก็เพราะมันช่วยให้พรรคฝ่ายซ้ายที่เป็นที่หวาดกลัวของเหล่าEliteไม่สามารถมาดำเนินนโยบายสุดโต่งใดๆได้
สภาพดังกล่าวทำให้ดุลอำนาจนั้นไม่เสียไป ผู้ที่คงอำนาจอยู่มาก่อนไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับการหักเหทิศทางทางการเมือง
เหล่า Elite รู้ว่าไม่ว่าใครจะมาใครจะไป พวกเขาก็กินเค็กก้อนเดิมๆได้ ไอ้นโยบายกระจายรายได้หรือรัฐสวัสดิการที่จะมาช่วยคนจนจำนวนมากโดยมาเก็บเอาภาษีจากพวกเขานั้นเกิดขึ้นไม่ได้หรอก
ว่ากันโดยสรุปก็คือ ระบบการเมืองที่อาจดีในการนำเสนอนโยบายสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้น อาจไปทำให้ "วงล่ม" ได้เพราะไปขัดดุลภาพทางอำนาจและประโยชน์ทางเศรษฐกิจเดิมที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันระบบการเมืองที่ทำให้วงไม่ล่มนั้นก็อาจเป็นระบบที่ไม่ได้ช่วยให้ใครได้ประโยชน์อะไรมากมายก็ได้ (แค่ไม่ทำให้ดุลอำนาจและผลประโยชน์เสียไป)
นั่นก็คือ Fault Line แบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เราเห็นได้ชัดจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบราซิล
เป็น Fault Line ทีน่าเศร้าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเอามาวิเคราห์กับประเทศไทย
หรือเราจะมีชะตากรรมบางอย่าง
ที่ตราบใดที่ดุลอำนาจเดิมของเรานั้น มันไม่ได้เป็นประชาธิไตยตรงไหนเลย
ด้วยดุลอำนาจแบบนี้หากมีระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเป็น Substantive แล้ว ดุลอำนาจนั้นก็อาจต้องโดนกระทบตามไป (ดังเช่นกรณีให้มีสส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มการแข่งขันทางนโยบายได้ แต่ก็อาจนำไปสู่การเมืองที่ใกล้เคียงกับระบอบ "ประธานาธิบดี")
แน่นอนเมื่อนั้นดุลอำนาจเดิมและคนที่เกาะกินอยู่กับดุลอำนาจเดิมย่อมต่อสู้กลับ เพื่อคงสถานะของตนเองไว้
ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้นานแค่ไหนกันเชียวกับดุลอำนาจแบบนี้
ดุลอำนาจที่ยังมีอำนาจพิเศษอยู่เหนือผู้คน ไว้เป็นทางออกให้กับปัญหาทุกอย่าง ดุลอำนาจที่ทำให้ประเทศมีแต่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ยักมีประชาชน ดุลอำนาจที่ทำให้ทหารและราชการไม่ได้ปกป้องประเทศและรับใช้ประชาชนตาดำๆ
หรือเราควรจะคง Procedural Form ของประชาธิปไตยบ้านเมืองเราไว้ โดยการทำให้ระบบการเมืองสะท้อนดุลอำนาจดังกล่าวไปเลย เป็นการยอมจำนนต่อ"ชะตาชีวิต"
Saturday, May 19, 2007
ฝัน...
เมื่อวานฝัน...
ฝันว่าอยู่ที่บ้าน ตื่นมาจะไปมหาลัยฯ
ก็ดูเรื่องเดิมๆ
ตืนมาพบว่า ตัวเองทำอะไรเหมือนเดิม อยู่บ้าน ไปมหาลัย มานานเท่าไหร่แล้ว
ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้าน ไปมหาลัย
แต่ที่ต่างกันไป ก็คือในฝันเราอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง เราอยู่บ้านเราจริงๆ
ตื่นมาก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกัน
เมื่อก่อนอยู่บ้านตื่นมาก็เดินไปทักทายพ่อกับแม่ ไปมหาลัยก็ชวนเพื่อนไปกินข้าวกลางวัน
เดี๋ยวนี้ทำอะไรคนเดียวหมดเลย
มีเพื่อนอยู่คนนึงชื่อ...ความเหงา
ฝันว่าอยู่ที่บ้าน ตื่นมาจะไปมหาลัยฯ
ก็ดูเรื่องเดิมๆ
ตืนมาพบว่า ตัวเองทำอะไรเหมือนเดิม อยู่บ้าน ไปมหาลัย มานานเท่าไหร่แล้ว
ทุกวันนี้ก็ยังอยู่บ้าน ไปมหาลัย
แต่ที่ต่างกันไป ก็คือในฝันเราอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง เราอยู่บ้านเราจริงๆ
ตื่นมาก็รู้สึกแปลกๆเหมือนกัน
เมื่อก่อนอยู่บ้านตื่นมาก็เดินไปทักทายพ่อกับแม่ ไปมหาลัยก็ชวนเพื่อนไปกินข้าวกลางวัน
เดี๋ยวนี้ทำอะไรคนเดียวหมดเลย
มีเพื่อนอยู่คนนึงชื่อ...ความเหงา
ศีลธรรมกับการเมือง: บทเรียนจากกระแสชาตินิยมฮินดู (2)
"ความดีมันก็ฆ่าคนได้มากพอๆกับความชั่วนั่นล่ะ"
เฉิน ห้าว หนาน*
...................
ความเดิมจากตอนที่แล้ว...กระแสชาตินิยมฮินดูก่อเกิดขึ้นจากกลุ่มชนวรรณะสูงและกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ของอินเดีย
ทั้งนี้กระแสชาตินิยมฮินดูนั้น แม้จะดูเสมือนว่าเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา แต่แท้จริงกลับมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงและความเกลียดชังมากกว่า
เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า การที่พวกวรรณะต่ำและพวกต่างศาสนาในอินเดียได้มีบทบาทสูงขึ้นในวงการเมืองนั้น นำมาซึ่งความสกปรกและไร้ระเบียบ คณวรรณะต่ำไม่มีศีลธรรมและวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง
และสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมฮินดูก็คือ ความเกลียดชังในพวกมุสลิม ซึ่งก็มีบทบาทเพิ่มขึ้นในทางการเมืองเช่นกัน......
ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเสนอให้รัฐอินเดียนั้นมีลักษณะเป็นรัฐศาสนา
โดยให้รัฐอินเดียนั้น นำเอาคุณค่าความเป็น "ฮินดู" มากำหนดทิศทางและแก้ปัญหาสังคม เพื่อขจัดคอร์รัปชั่นและนำความเป็นระเบียบคืนมา
ไอ้คุณค่าความเป็นฮินดูที่ว่านี้เป็นอย่างไรน่ะหรือ ก็คือการเอาระบบวรรณะที่เคร่งครัดกลับมาใช้ เพื่อลดบทบาทวรรณะที่ต่ำกว่าลง การกีดกันและต่อต้านพวกมุสลิม
ถามว่าทำไมต้องเป็น ฮินดู ก็แน่นอน เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียเป็นคนศาสนาฮินดู ฮินดูก็ควรเป็น "ศาสนา" และ "วัฒนธรรม" ประจำชาติ
เอ...แต่จะทำอย่างไรให้ความเป็น "ฮินดู" มันถูกนำมาใช้ได้ล่ะ
ก็บังคับซิครับ...เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูบอกมาตรงๆเลยว่า รัฐอินเดียนั้นควรมีลักษณะเป็นเผด็จการมากขึ้น (เพื่อให้สามารถบังคับใช้คุณค่าความเป็นฮินดูได้)
ด้วยการบังคับใช้ความเป็นฮินดูนี้เอง คุณค่าศีลธรรมจักจะกลับมาซิึ่งแผ่นดินอินเดีย
ที่น่าสนใจมากๆก็คือ ในขณะที่ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูนั้น เน้นคุณค่าทางวัฒนธรรมฮินดูในการ "จัดระเบียบ" สังคม
ในทางเศรษฐกิจ เขาเหล่านั้นกลับสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า และการทำประเทศให้ทันสมัย
โดยอ้างว่าด้วยแนวทางนี้เท่านั้นอินเดียถึงจะแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้ (หากแท้จริงก็เพราะตัวเองได้ประโยชน์เยอะนั่นล่ะ)
การนำ "ศีลธรรม" เข้ามานำ "การเมือง" ของกระแสชาตินิยมฮินดูจึงให้บทเรียนเราอย่างชัดเจนได้หลายประการ
หนึ่ง โปรดระลึกอยู่เสมอว่าเวลาศีลธรรมถูกนำมาใช้ในทางการเมืองนั้น ผู้ใช้มักจะเอา "ความดี" มาสร้างความชอบธรรมในการอยู่เหนือกว่า ฮะแฮ่ม ตัวอย่างดาษดื่น คิดเองละกัน ประเทศไหแลนด์น่ะมีแยะ
สอง ศีลธรรมนั้นมีความเป็น อสมรูป (asymmetric) อยู่ ศีลธรรมมักถูกแฝงด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ผู้คนมีสิทธิในการเข้าถึงได้ไม่เท่ากัน เช่น เวลาเอาศีลธรรมฮินดูมาใช้ มันก็ไปทำให้เหล่าคนที่ชั้นวรรณะต่ำ หรือคนต่างศาสนาต้องกลายเป็น "คนนอก" เรื่องเหล่านี้จริงๆหลายครั้งก็เป็นเปลือกที่ใช้หุ้มความเกลียดชังไว้อีกทีหนึ่ง (ก็แบบหลายคนที่เรียกร้องให้มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเกลียดมุสลิมนั่นล่ะ)
สาม ผู้นำทางการเมืองที่กล่าวอ้างศีลธรรมนั้น แท้จริงก็อ้างเอาแต่ส่วนที่ตนไม่เสียประโยชน์นั่นล่ะ ในกรณีฮินดูนี่ก็แบบฮินดูแค่เฉพาะกดเอาวรรณะต่ำกว่าลงไปในทางการเมือง แต่ประเทศต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ต้องแข่งขันทางเทคโนโลยี (เพื่อไม่ให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเสียโอกาสทางการค้า) หรืออย่างบางคนที่กล่าวอ้างจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงมานำเป็นทิศทางของประเทศนั้น ก็บอกว่าตัวเองขับเบนซ์และใช้หลุยส์ได้เพราะพอเพียงของเขา (พอเพียงแบบรวยอ่ะ) แต่ชาวบ้านก็อดๆอยากๆไปด้วยความพอเพียงเช่นกัน (พอเพียงแบบจนอ่ะ)
ด้วยประการฉะนั้น โปรดคิดมากไม่ต่ำกว่าสองครั้ง และสงสัยไม่ต่ำกว่าสามครั้ง เวลาได้ยินผู้ใดกล่าวอ้างเอาศีลธรรมมาสร้างความชอบธรรมในทางการเมืองให้กับตัวเอง
...จริงๆนะ
................................
*หัวหน้าแก๊งค์หงซิ่ง แห่งซีรีส์หนังจีนอมตะ "กู๋หว่าจ๋าย" หนังมันส์แต่นางเอกตายทุกภาค (มีประมาณสิบกว่าภาค นางเอกรีไซเคิลเพียบ)
เฉิน ห้าว หนาน*
...................
ความเดิมจากตอนที่แล้ว...กระแสชาตินิยมฮินดูก่อเกิดขึ้นจากกลุ่มชนวรรณะสูงและกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ของอินเดีย
ทั้งนี้กระแสชาตินิยมฮินดูนั้น แม้จะดูเสมือนว่าเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา แต่แท้จริงกลับมาจากความรู้สึกไม่มั่นคงและความเกลียดชังมากกว่า
เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า การที่พวกวรรณะต่ำและพวกต่างศาสนาในอินเดียได้มีบทบาทสูงขึ้นในวงการเมืองนั้น นำมาซึ่งความสกปรกและไร้ระเบียบ คณวรรณะต่ำไม่มีศีลธรรมและวัฒนธรรมที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง
และสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมฮินดูก็คือ ความเกลียดชังในพวกมุสลิม ซึ่งก็มีบทบาทเพิ่มขึ้นในทางการเมืองเช่นกัน......
ทั้งหมดนี้ทำให้ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเสนอให้รัฐอินเดียนั้นมีลักษณะเป็นรัฐศาสนา
โดยให้รัฐอินเดียนั้น นำเอาคุณค่าความเป็น "ฮินดู" มากำหนดทิศทางและแก้ปัญหาสังคม เพื่อขจัดคอร์รัปชั่นและนำความเป็นระเบียบคืนมา
ไอ้คุณค่าความเป็นฮินดูที่ว่านี้เป็นอย่างไรน่ะหรือ ก็คือการเอาระบบวรรณะที่เคร่งครัดกลับมาใช้ เพื่อลดบทบาทวรรณะที่ต่ำกว่าลง การกีดกันและต่อต้านพวกมุสลิม
ถามว่าทำไมต้องเป็น ฮินดู ก็แน่นอน เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูเห็นว่า เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียเป็นคนศาสนาฮินดู ฮินดูก็ควรเป็น "ศาสนา" และ "วัฒนธรรม" ประจำชาติ
เอ...แต่จะทำอย่างไรให้ความเป็น "ฮินดู" มันถูกนำมาใช้ได้ล่ะ
ก็บังคับซิครับ...เหล่าผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูบอกมาตรงๆเลยว่า รัฐอินเดียนั้นควรมีลักษณะเป็นเผด็จการมากขึ้น (เพื่อให้สามารถบังคับใช้คุณค่าความเป็นฮินดูได้)
ด้วยการบังคับใช้ความเป็นฮินดูนี้เอง คุณค่าศีลธรรมจักจะกลับมาซิึ่งแผ่นดินอินเดีย
ที่น่าสนใจมากๆก็คือ ในขณะที่ผู้สนับสนุนกระแสชาตินิยมฮินดูนั้น เน้นคุณค่าทางวัฒนธรรมฮินดูในการ "จัดระเบียบ" สังคม
ในทางเศรษฐกิจ เขาเหล่านั้นกลับสนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้า และการทำประเทศให้ทันสมัย
โดยอ้างว่าด้วยแนวทางนี้เท่านั้นอินเดียถึงจะแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้ (หากแท้จริงก็เพราะตัวเองได้ประโยชน์เยอะนั่นล่ะ)
การนำ "ศีลธรรม" เข้ามานำ "การเมือง" ของกระแสชาตินิยมฮินดูจึงให้บทเรียนเราอย่างชัดเจนได้หลายประการ
หนึ่ง โปรดระลึกอยู่เสมอว่าเวลาศีลธรรมถูกนำมาใช้ในทางการเมืองนั้น ผู้ใช้มักจะเอา "ความดี" มาสร้างความชอบธรรมในการอยู่เหนือกว่า ฮะแฮ่ม ตัวอย่างดาษดื่น คิดเองละกัน ประเทศไหแลนด์น่ะมีแยะ
สอง ศีลธรรมนั้นมีความเป็น อสมรูป (asymmetric) อยู่ ศีลธรรมมักถูกแฝงด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ผู้คนมีสิทธิในการเข้าถึงได้ไม่เท่ากัน เช่น เวลาเอาศีลธรรมฮินดูมาใช้ มันก็ไปทำให้เหล่าคนที่ชั้นวรรณะต่ำ หรือคนต่างศาสนาต้องกลายเป็น "คนนอก" เรื่องเหล่านี้จริงๆหลายครั้งก็เป็นเปลือกที่ใช้หุ้มความเกลียดชังไว้อีกทีหนึ่ง (ก็แบบหลายคนที่เรียกร้องให้มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเกลียดมุสลิมนั่นล่ะ)
สาม ผู้นำทางการเมืองที่กล่าวอ้างศีลธรรมนั้น แท้จริงก็อ้างเอาแต่ส่วนที่ตนไม่เสียประโยชน์นั่นล่ะ ในกรณีฮินดูนี่ก็แบบฮินดูแค่เฉพาะกดเอาวรรณะต่ำกว่าลงไปในทางการเมือง แต่ประเทศต้องเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ต้องแข่งขันทางเทคโนโลยี (เพื่อไม่ให้ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางเสียโอกาสทางการค้า) หรืออย่างบางคนที่กล่าวอ้างจะเอาเศรษฐกิจพอเพียงมานำเป็นทิศทางของประเทศนั้น ก็บอกว่าตัวเองขับเบนซ์และใช้หลุยส์ได้เพราะพอเพียงของเขา (พอเพียงแบบรวยอ่ะ) แต่ชาวบ้านก็อดๆอยากๆไปด้วยความพอเพียงเช่นกัน (พอเพียงแบบจนอ่ะ)
ด้วยประการฉะนั้น โปรดคิดมากไม่ต่ำกว่าสองครั้ง และสงสัยไม่ต่ำกว่าสามครั้ง เวลาได้ยินผู้ใดกล่าวอ้างเอาศีลธรรมมาสร้างความชอบธรรมในทางการเมืองให้กับตัวเอง
...จริงๆนะ
................................
*หัวหน้าแก๊งค์หงซิ่ง แห่งซีรีส์หนังจีนอมตะ "กู๋หว่าจ๋าย" หนังมันส์แต่นางเอกตายทุกภาค (มีประมาณสิบกว่าภาค นางเอกรีไซเคิลเพียบ)
Wednesday, May 16, 2007
A depress-sion
Well, this week I'm depressed.
First of all, instead of finishing the first draft of my core essay early, I finished it a day late. Now, my supervisor don't have time to read it for me. I take all the responsibility (for being late). Herrrrrr.
Second, I'm stucked with my thesis, couldn't outline the specific question yet. I know it's early, since I'll have a year to do the thesis. But I'm worried. Still don't have much time coz I need to prepare for exams.
Not to ask for sympathy, just to let you know.
First of all, instead of finishing the first draft of my core essay early, I finished it a day late. Now, my supervisor don't have time to read it for me. I take all the responsibility (for being late). Herrrrrr.
Second, I'm stucked with my thesis, couldn't outline the specific question yet. I know it's early, since I'll have a year to do the thesis. But I'm worried. Still don't have much time coz I need to prepare for exams.
Not to ask for sympathy, just to let you know.
Thursday, May 10, 2007
ศีลธรรมกับการเมือง: บทเรียนจากกระแสชาตินิยมฮินดู (1)
"เบื้องหลังหน้ากากแห่งศีลธรรม มีแต่ความเกลียดชัง ความกลัว และความต้องการอยู่เหนือกว่า"
(สเตลิออส ยานาคูโปลอส* ปราชญ์ชาวกรีก)
...............................
ท่ามกลางกระแสศีลธรรมนำการเมืองในเมืองไหแลนด์ที่รัก
กระผมขอนำท่านๆไปดูสิ่งที่เกิดในประเทศใกล้ตัว เผื่อจะเปิดหูเปิดตารู้บ้างว่ามุขเดิมๆมันมักจะเกิดในการเมืองเสมอ ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม...
อินเดียมักถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับจากจำนวนประชากร)
ประชาธิปไตยในอินเดียนั้น แม้มักจะถูกนักวิชาการหลายแขนง (ทั้งขวา ซ้าย เกย์ ได้โนเบล) กล่าวถึงอยู่เนืองๆว่ามีที่มาแต่โบราณมั่กๆ แต่เอาเข้าจริงก็ควรจะนับว่าอินเดียเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวตั้งแต่หลังได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
โดยหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ก็เดินตามรอยอังกฤษในการใช้ระบบ Parliamentary ซึ่งมีการแบ่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชัดเจน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร
ช่วงแรกของประชาธิปไตยในอินเดียนั้น เป็นช่วงที่การเมืองถูก dominate โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรค Congress ผู้เป็นผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้ผู้นำพรรค Congress ที่โด่งดังในอดีตก็คือ ท่านมหาตมะคานธี นั่นเอง
พรรค Congress ชนะเลือกตั้งสบายๆมาหลายสมัย ตั้งแต่ เนห์รู มาถึงลูกสาวของเขา อินทิรา คานธี และก็ลูกชายของอินทิรา ราจีฟ คานธี
และด้วยฝีมือการบริหารของ อินธิรา และ ราจีฟ ซึ่งเน้นการเมืองป๊อปไอด้อล แบบว่าข้าเด่นคนเดียว ผู้นำอยู่เหนือพรรค (คุ้นๆป่ะ) และนโยบายประชานิยมสุกเอาเผากิน ด้วยโฆษนาขี้โม้ End Poverty (คุ้นๆป่ะ คนจนจะหมดไปอ่ะ) พรรค Congress ก็เลยกลายเป็นพรรคที่อ่อนแอลง เสื่อมลง เสื่อมลง กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะคนไม่หายจนซะที (สมัยอินทิรา) บอกจะแก้คอร์รัปชั่น พี่แกเล่นแด๊กเองแล้วโดนจับได้ (สมัยราจีฟ ผู้เคยมีฉายาว่า Mr.Clean แต่ตอนสุดท้ายก่อนตายถูกสืบสวนพบว่ามีส่วนพัวพันคดีคอร์รัปชั่นใหญ่)
แต่แม้พรรค Congress จะเสื่อมลงไป ก็ยังทิ้งผลงานการบริหารประเทศที่สำคัญไว้หลายประการ ที่สำคัญเห็นจะเป็นการทำให้อินเดียเป็นรัฐแบบ Secular ซึ่งหมายถึงการแยกการเมืองออกจากศาสนา เพราะเมื่อครั้งเรียกร้องอิสรภาพนั้น พรรค Congress เป็นต้องรวบรวมกำลังจากหลายศาสนา เชื้อชาติ และวรรณะ ในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย ทำให้พรรค Congress ต้องไม่เอาความต่างเหล่านี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง มิเช่นนั้นขบวนการขับไล่อังกฤษอาจแตกแยกได้
พรรค Congress ก็อ่อนแอ้ อ่อนแอ การเมืองก็มีแต่คนว่าๆสกปรก ขาดศีลธรรม
แต่..อนิจจา อินเดียคงทำบุญมามากกว่าไหแลนด์ เพราะม่ายมีทหารกับผู้มีบารมีมาปฎิวัติ ม่ายมีใครให้ขอม.7 ประชาธิปไตยของอินเดียก็อยู่ของมันต่อไป
กลับกัน ประชาชนชั้นล่างของอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่มีวรรณะต่ำกว่าและพวกต่างศาสนา กลับมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุนั้นน่ะหรือ นักวิชาการจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ขอเอ่ยนาม (เพราะจำไม่ได้) บอกว่าเป็นเพราะประชาชนชั้นล่างและคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกเหยีดหยามและดูถูกโดยระบบวรรณะมานานแสนนาน พอมีประชาธิปไตยที่ให้สิทธิทางการเมืองกับพวกเขาได้เท่ากับคนอื่นๆ เขาก็เลยต้องการจะแสดงให้เห็นสิทธิของตัวเองบ้าง
ประชาชน คนชั้นล่างเหล่านี้ อาศัยโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่อ่อนแอลง สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆที่เป็นตัวแทนพวกตน เช่น ตัวแทนวรรณะ ตัวแทนเชื้อชาติและศาสนา ที่ล้วนหลากหลายมากๆเข้าไปนั่งในสภา ทำให้การเมืองของอินเดียแปรสภาพจากที่ถูก Dominate โดยพรรคใหญ่ มาเป็นการเมืองที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากมาแบ่งเค๊กกัน
ประชาธิปไตย ที่คุณภาพห่วยๆ ศีลธรรมแย่ๆ ก็กลายมาเป็นของมีค่าสำหรับคนชั้นล่าง ทั้งที่วรรณะต่ำ หรือที่มีความต่างทางศาสนาและเชื้อชาติในอินเดีย
และด้วยลักษณะเช่นนี้ ภาษาวัยรุ่นต้องกล่าวว่า เสร็จเจ๊ (เบียบหรือป. เค้าไม่รู้นะ) เพราะโดนด่าอย่างกรีดกรายได้ว่า... นักการเมืองที่เกิดมาตามเสียงของคนชั้นล่างเหล่านั้นอัปรีย์เพราะถูกเลือกโดยประชากรผู้โง่เขลา คนระดับล่างไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรม เลือกนักการเมืองที่โกงกินเข้ามาบริหารบ้านเมือง (โอ๊ย!!! เสียงชาวไหแลนด์โดนกระทบ)
ก็น่านล่ะ สภาพเบื้องต้นที่นำไปสู่กระแสชาตินิยมฮินดู ที่เอา "ศีลธรรมนำการเมือง" รวมถึงเรียกร้องให้มี "ศาสนาประจำชาติ" ประดุจดั่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในไหแลนด์ตอนนี้เลย.....(แต่ของเขาเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วนะ แต่ก็เอาเถอะ ประชาธิปไตยบ้านเราชอบวิ่งไปกลับอยู่แล้ว)
แต่เพราะเราจะไปเขียน Essay ส่ง เพราะฉะนั้นจะกลับมาเขียนตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะ
.................
*หมายเหตุ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับทีม Bolton ในพรีเมียร์ชิพ
(สเตลิออส ยานาคูโปลอส* ปราชญ์ชาวกรีก)
...............................
ท่ามกลางกระแสศีลธรรมนำการเมืองในเมืองไหแลนด์ที่รัก
กระผมขอนำท่านๆไปดูสิ่งที่เกิดในประเทศใกล้ตัว เผื่อจะเปิดหูเปิดตารู้บ้างว่ามุขเดิมๆมันมักจะเกิดในการเมืองเสมอ ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตาม...
อินเดียมักถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก (นับจากจำนวนประชากร)
ประชาธิปไตยในอินเดียนั้น แม้มักจะถูกนักวิชาการหลายแขนง (ทั้งขวา ซ้าย เกย์ ได้โนเบล) กล่าวถึงอยู่เนืองๆว่ามีที่มาแต่โบราณมั่กๆ แต่เอาเข้าจริงก็ควรจะนับว่าอินเดียเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวตั้งแต่หลังได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
โดยหลังจากอินเดียได้รับเอกราช ก็เดินตามรอยอังกฤษในการใช้ระบบ Parliamentary ซึ่งมีการแบ่งอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชัดเจน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร
ช่วงแรกของประชาธิปไตยในอินเดียนั้น เป็นช่วงที่การเมืองถูก dominate โดยพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรค Congress ผู้เป็นผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้ผู้นำพรรค Congress ที่โด่งดังในอดีตก็คือ ท่านมหาตมะคานธี นั่นเอง
พรรค Congress ชนะเลือกตั้งสบายๆมาหลายสมัย ตั้งแต่ เนห์รู มาถึงลูกสาวของเขา อินทิรา คานธี และก็ลูกชายของอินทิรา ราจีฟ คานธี
และด้วยฝีมือการบริหารของ อินธิรา และ ราจีฟ ซึ่งเน้นการเมืองป๊อปไอด้อล แบบว่าข้าเด่นคนเดียว ผู้นำอยู่เหนือพรรค (คุ้นๆป่ะ) และนโยบายประชานิยมสุกเอาเผากิน ด้วยโฆษนาขี้โม้ End Poverty (คุ้นๆป่ะ คนจนจะหมดไปอ่ะ) พรรค Congress ก็เลยกลายเป็นพรรคที่อ่อนแอลง เสื่อมลง เสื่อมลง กลายเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะคนไม่หายจนซะที (สมัยอินทิรา) บอกจะแก้คอร์รัปชั่น พี่แกเล่นแด๊กเองแล้วโดนจับได้ (สมัยราจีฟ ผู้เคยมีฉายาว่า Mr.Clean แต่ตอนสุดท้ายก่อนตายถูกสืบสวนพบว่ามีส่วนพัวพันคดีคอร์รัปชั่นใหญ่)
แต่แม้พรรค Congress จะเสื่อมลงไป ก็ยังทิ้งผลงานการบริหารประเทศที่สำคัญไว้หลายประการ ที่สำคัญเห็นจะเป็นการทำให้อินเดียเป็นรัฐแบบ Secular ซึ่งหมายถึงการแยกการเมืองออกจากศาสนา เพราะเมื่อครั้งเรียกร้องอิสรภาพนั้น พรรค Congress เป็นต้องรวบรวมกำลังจากหลายศาสนา เชื้อชาติ และวรรณะ ในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย ทำให้พรรค Congress ต้องไม่เอาความต่างเหล่านี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง มิเช่นนั้นขบวนการขับไล่อังกฤษอาจแตกแยกได้
พรรค Congress ก็อ่อนแอ้ อ่อนแอ การเมืองก็มีแต่คนว่าๆสกปรก ขาดศีลธรรม
แต่..อนิจจา อินเดียคงทำบุญมามากกว่าไหแลนด์ เพราะม่ายมีทหารกับผู้มีบารมีมาปฎิวัติ ม่ายมีใครให้ขอม.7 ประชาธิปไตยของอินเดียก็อยู่ของมันต่อไป
กลับกัน ประชาชนชั้นล่างของอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่มีวรรณะต่ำกว่าและพวกต่างศาสนา กลับมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุนั้นน่ะหรือ นักวิชาการจำนวนมากที่ผู้เขียนไม่ขอเอ่ยนาม (เพราะจำไม่ได้) บอกว่าเป็นเพราะประชาชนชั้นล่างและคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกเหยีดหยามและดูถูกโดยระบบวรรณะมานานแสนนาน พอมีประชาธิปไตยที่ให้สิทธิทางการเมืองกับพวกเขาได้เท่ากับคนอื่นๆ เขาก็เลยต้องการจะแสดงให้เห็นสิทธิของตัวเองบ้าง
ประชาชน คนชั้นล่างเหล่านี้ อาศัยโอกาสที่พรรคการเมืองใหญ่อ่อนแอลง สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กๆที่เป็นตัวแทนพวกตน เช่น ตัวแทนวรรณะ ตัวแทนเชื้อชาติและศาสนา ที่ล้วนหลากหลายมากๆเข้าไปนั่งในสภา ทำให้การเมืองของอินเดียแปรสภาพจากที่ถูก Dominate โดยพรรคใหญ่ มาเป็นการเมืองที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากมาแบ่งเค๊กกัน
ประชาธิปไตย ที่คุณภาพห่วยๆ ศีลธรรมแย่ๆ ก็กลายมาเป็นของมีค่าสำหรับคนชั้นล่าง ทั้งที่วรรณะต่ำ หรือที่มีความต่างทางศาสนาและเชื้อชาติในอินเดีย
และด้วยลักษณะเช่นนี้ ภาษาวัยรุ่นต้องกล่าวว่า เสร็จเจ๊ (เบียบหรือป. เค้าไม่รู้นะ) เพราะโดนด่าอย่างกรีดกรายได้ว่า... นักการเมืองที่เกิดมาตามเสียงของคนชั้นล่างเหล่านั้นอัปรีย์เพราะถูกเลือกโดยประชากรผู้โง่เขลา คนระดับล่างไม่เข้าใจเรื่องศีลธรรม เลือกนักการเมืองที่โกงกินเข้ามาบริหารบ้านเมือง (โอ๊ย!!! เสียงชาวไหแลนด์โดนกระทบ)
ก็น่านล่ะ สภาพเบื้องต้นที่นำไปสู่กระแสชาตินิยมฮินดู ที่เอา "ศีลธรรมนำการเมือง" รวมถึงเรียกร้องให้มี "ศาสนาประจำชาติ" ประดุจดั่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในไหแลนด์ตอนนี้เลย.....(แต่ของเขาเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วนะ แต่ก็เอาเถอะ ประชาธิปไตยบ้านเราชอบวิ่งไปกลับอยู่แล้ว)
แต่เพราะเราจะไปเขียน Essay ส่ง เพราะฉะนั้นจะกลับมาเขียนตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะ
.................
*หมายเหตุ ปัจจุบันค้าแข้งอยู่กับทีม Bolton ในพรีเมียร์ชิพ
Tuesday, May 01, 2007
Coming back from the exams
Hi Guys,
After a long quest in dealing with the Oxonian exams, finally I got it done. It's such a pleasure, so I did take a week off from work, enjoyed myself and the sun (which is now back on the blue sky). Things were great last week, I got my laptop back repaired, and I accomplished one of my dream - which is to go to watch Arsenal play at their new stadium. Good things happen in sequence, indeed.
I'll be back to update my blog with more thoughts. I'll try to be consistent, probably around once or twice a week then. During the preparation for the exams, I got so many good ideas coming up to my mind. Sadly, I didn't have time to put them here. Anyway, I can still remember them, and will be bombarding you guys with these rubbish thoughts pretty soon.
Things are cool!
After a long quest in dealing with the Oxonian exams, finally I got it done. It's such a pleasure, so I did take a week off from work, enjoyed myself and the sun (which is now back on the blue sky). Things were great last week, I got my laptop back repaired, and I accomplished one of my dream - which is to go to watch Arsenal play at their new stadium. Good things happen in sequence, indeed.
I'll be back to update my blog with more thoughts. I'll try to be consistent, probably around once or twice a week then. During the preparation for the exams, I got so many good ideas coming up to my mind. Sadly, I didn't have time to put them here. Anyway, I can still remember them, and will be bombarding you guys with these rubbish thoughts pretty soon.
Things are cool!
Subscribe to:
Posts (Atom)