ในยุคที่สีเหลืองกลายเป็นสีที่มีอภิสิทธ์เหนือสีอื่นๆ
กลายเป็นสีที่ศักดิ์สิทธ์ และมีอำนาจทางคุณธรรมแฝงอยู่ (ช่วยเพิ่มความชอบธรรมในการทำรัฐประหารได้ด้วย...อู้หู)
เราอาจเที่ยวไปบอกคนที่ไม่ยอมใส่สีเหลือง หรือไม่มีเสื้อเหลืองอยู่ในตู้เสื้อผ้าได้ว่า
"morally below standard"
ก็ในเมื่อสีเหลืองมันทรงพลังขนาดนั้น......ใครปฏิเสธก็เหมือน "คนไม่รักดี"
....................
เอาล่ะ ทีนี้มาว่ากันด้วย "อภิทฤษฎี" ที่ชื่อ "เศรษฐกิจพอเพียง" บ้าง
เพราะปัจจุบันก็กลายเป็นทฤษฎีที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจทางคุณธรรมไปแล้วเช่นกัน
เมื่อมันกลายเป็นทฤษฏีสีเหลือง....เปี่ยมไปด้วยอำนาจและบารมี
คงปฏิเสธได้ยาก เพราะใครกล้าหาญไปโต้แย่้ง อาจถูกว่าได้ง่ายๆว่า ไม่รักดี
...................
คงไม่อาจปฏิเสธได้่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจทฤษฎีหนึ่ง
แต่ต้องยอมรับว่า ในเมื่อมันเป็นแนวคิด มันก็ย่อมมีจุดดีและจุดด้อย
และที่สำคัญมันควรมีความเท่าเทียมกับแนวคิดอื่นๆ ไม่ใช่มาด้วย "อภิสิทธิ์"
ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงมาแบบใส่สีเหลือง แล้วการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตรงไปตรงมา การโต้แย้งบนหลักของเหตุผล บนเนื้อหาของทฤษฎีล้วนๆจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ช่วยกันถอดสีเหลืองออกจากเศรษฐกิจพอเพียงก่อนเถอะ แล้วค่อยมาตื่นเต้นตื่นตัวกับมันเช่นปัจจุบัน
.....................
ในฐานะที่เศรษฐกิจพอเพียงน่าจะอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน
ขอโปรดพึงสังวรณ์ความเป็นสังคมอภิชยานาธิปไตยของประเทศไทยเอาไว้
ว่าสังคมไทยเป็นสังคมของคนกลุ่มน้อยที่อยู่บนยอดปิรามิดทางเศรษฐกิจและอำนาจ และคนเหล่านี้ก็มีความสามารถสูงในการสร้าง ความเป็นไทย เพื่อปกป้องประโยชน์ของตนเองได้อย่าง "เนียน" มาตลอด
และตั้งคำถามเยอะๆกับ อภิชน.....อภิสี......และอภิทฤษฎี
Tuesday, November 14, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
10 comments:
ผมมองว่านักวิชาการและสื่อมวลชนจำเป็นจะต้องเป็นผู้นำในกระบวนการวิเคราะห์วิพากษ์ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง แต่ต้องคิดรูปแบบวิธีการนำเสนอความเห็นและบทวิพากษ์ให้ดี ให้มันออกมาอย่างสร้างสรรค์และจริงใจ ช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรที่จะนำเอาทฤษฎีมาใช้ให้ได้เหมาะสมที่สุดกับประเทศไทย จุดอ่อนอยู่ตรงไหนบ้าง จะแก้อย่างไร... ผมคิดว่าสังคมไทยรับได้นะครับ
(แต่ผมรู้สึกว่าแบบ... อีกไม่กี่ปี เศรษฐกิจพอเพียงคงจะไม่ได้รับความสนใจมากเท่าตอนนี้หรอกครับ คืออาจจะมีคนพูดถึงอยู่ แต่อาจจะไม่ได้นำไปใช้อะไรจริงจัง... แอบรู้สึกนะครับ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าเอาเข้าจริงแล้วจะเป็นอย่างไร... แต่จริงๆแนวคิดนี้ถือว่าดีมากทีเดียวสำหรับผมนะ เพียงแต่ชื่อมันค่อนข้าง misleading พอสมควร จริงๆมันก็คือหลักการดำเนินชีวิตและธุรกิจงานต่างๆอย่างเหมาะสม สมเหตุสมผล รอบคอบ และมีคุณธรรมนั่นเอง)
more info, please visit www.sufficiencyeconomy.org
อารมณ์ของคน และ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นการใส่เสื้อสีเหลืองให้ทฤษฎี เป็นความจริงที่ว่าทฤษฎีย่อมมีข้อดีอยู่มาก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า การใส่เสื้อสีเหลืองให้ทฤษฎีโดยใครบางคนนั้น ไม่นานสีเหลืองก็ต้องจางไป อันเป็นเหตุให้มีข้อดีที่ถูกลืมและมีข้อเสียที่ลืมตรึกตรอง เห็นด้วยกับคุณ david ว่านักวิชาการจำเป็นต้องพิจารณาเนื้อหาตามความเป็นจริงมากกว่าสิ่งอื่นใด
เห็นด้วยกะคุน David Ginola อย่างแรง
....ถูกถูกต้องนะคราบบบบบบ เหมือนว่าเราก็รู้ว่ามันดีมันมีประโยชน์แต่ไว้สักพักมันก็คงจะซาๆๆ
อัญเชิญส่วนหนึ่งของกระแสพระราชดำรัสในหลวงมาฝากครับ(http://www.kanchanapisek.or.th/speeches/2005/1204.th.html)
“…ความจริง The King can do no wrong คือ การดูถูกเดอะคิงอย่างมาก เพราะว่าเดอะคิงทำไม can do no wrong ไม่ได้ do wrong แสดงให้เห็นว่าเดอะคิงไม่ใช่คน…
…แล้วก็ไม่กลัว ถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่าถ้าบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน ถ้าบอกไม่วิจารณ์ แปลว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี รู้ได้อย่างไร…”
ด้วยสมองอันน้อยนิด หนูคิดว่าบางสิ่งเราก็วัดไม่ได้ว่าสิ่งนี้ดีทั้งหมด หรือเลวทั้งหมด บางคนก็ไม่ได้เป็นคนดียังใส่เสื้อเหลืองเป็นแฟชั่นเพราะกลัวว่าไม่ใส่คนจะหาว่าตัวเองเป็นคนไม่ดีเช่นนักการเมืองก็ใส่เสื้อเหลืองปากก็บอกผมเป็นคนดีทำเพื่อในหลวง ถ้าแน่จริงก็อย่าโกงประเทศสิ หนูคิดว่าคนชอบมองกันแค่เปลือกนอก
พี่ว่าไหมคะว่าคนไทยชอบทำอะไรเป็นพักๆแล้วพอเวลาผ่านไปคนไทยก็ลืมง่าย
อืมว่าแต่วันนี้พี่ยิ้มหรือยังคะ สู้ๆ
ผมเคยคุยประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับเพื่อน ๆ ที่ทำงาน ถกเถียงกันหลายประเด็นอยู่พอสมควร และทุกคนเห็นพ้องเหมือนกับที่คุณ david ginola กล่าวไว้คือชื่อมัน misleading
พอคุยลงในประเด็นเนื้อหา ต่างคนก็ต่างมุมมองครับ แต่เท่าที่เห็นคล้าย ๆ กันคือ มันอาจจะประสบความสำเร็จได้เป็นแค่บางส่วนของระบบเศรษฐกิจเท่านั้น ถ้าใช้กับทั้งระบบ คิดว่าน่าจะมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่ จะพูดถึง
ในแง่ positive เสมอ ๆ แต่อย่างที่ทราบกันว่าสำหรับนักเศรษฐศาสตร์นั้น "โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี"
ประเด็นสำคัญอีกอันนึงที่นั่งคุยกันกับเพื่อน ๆ ร่วมวิชาชีพคือ เราไม่มี forum ที่จะ debate แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (ครับ ผมยังจัดว่าเป็นแนวคิดอยู่ ยังไม่ถึงขั้นจะเป็นทฤษฎี) ในแง่มุมวิชาการโดยปราศจากอคติ (ที่ท่านเจ้าของ blog ได้กล่าวเอาไว้) เพราะการถกเถียงกันในเชิงวิชาการ จะสามารถสร้าง contribution ให้กับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกเยอะ และจะช่วยให้คนทั่วไปรู้จักหยุดคิดและตั้งคำถาม มากกว่าที่จะทำไปตามกระแส เลยกลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ต้องเศรษฐกิจพอเพียง โดยที่ปัจจุบัยยังถกเถียงกันอยู่เลยว่า "พอเพียง" ในที่นี้คืออะไร แค่เจอสมาชิกสภานิติบัญญัติบอกว่าการตั้งงบประมาณขาดดุลไม่เป็นเศรษฐกิจพอเพียง ผมก็มึน ๆ แล้วครับ
เห็นด้วย และโคตรเห็นด้วย
ตอนนี้ ศก พอเพียงกลายเป็นคำตอบในทุกๆเรื่อง ไอ้โน่นก้อพอเพียง ไอ้นั่นก็พอเพียง ไอ้นี่ก้อพอเพียง เล่นใช้คำว่าพอเพียงกันแบบไม่พอเพียงเล้ย
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าแนวคิด ศก พอเพียง ยังคงเป็นของใหม่นะ แม้ว่าจะมีในด้าน practical ที่ในหลวงของเราได้ทำการทดลองมาอย่างยาวนานจนตกผลึกออกมาเป็นแนวคิดดังที่เห็น แต่ในกรณีภาคส่วนอื่นๆของสังคมหละ มันจะเอาไปใช้ได้มั๊ย แล้วจะไปใช้ยังไง ผมว่าคำถามเช่นนี้ยังคงทันสมัยอยู่นะ
คงต้องเป็นอย่างที่คุณจิโนล่าบอกแหละครับว่าเป็นหน้าที่ๆเราจะต้องช่วยถอดรหัสมันออกมา วิพากษ์อย่างสร้างสรรค์.....อื้ม แต่ผมคิดไม่เหมือนจิโนล่าว่า สังคมเรามันจะรับกันได้ขนาดไหนอะดิ
อีกอย่างหนึ่งผมไม่เชื่อว่า ศก พอเพียงจะเป็นทางออกในทุกๆเรื่องครับ ปัญหามากมายหลายหลากไม่ใช่อยู่จะเปรี้ยงเอา ศก พอเพียงมาใช้แล้วมันหาย แต่ผมมองว่า ศก พอเพียงมันก็เหมือนกันเป็นแรงคัดง้างอย่างหนึ่งที่ไปช่วยทำให้ระบบทุนมันดูนิ่มลง ให้เราอยู่กับมันได้อย่างผาสุกขึ้น (มั๊ง)
วันนี้เม้นยาวแฮะ คงต้องขอลา
คือผมได้ฟัง presentation ของพี่ที่แบงก์ชาติที่ทำงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนศก.พอเพียง ซึ่งถือเป็นคณะกรรมการหลักที่รับผิดชอบการพัฒนาและเผยแพร่แนวคิดนี้
คือพี่เขาบอกว่า คณะกรรมการเองก็รู้ถึงปัญหาว่าคนส่วนใหญ่ยังสับสนและไม่เข้าใจในแนวคิดนี้ ซึ่งทางคณะกก.ก็กำลังพยายามประชาสัมพันธ์นิยามและแนวคิดของศกพอเพียง (นิยามที่พวกเขา brainstorm และกลั่นออกมา based on พระราชดำรัสในหลวง)ให้เป็นที่เข้าใจสอดคล้องกัน
โดยนิยามของศกพพ.ที่เขาใช้กันตอนนี้ก็คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
3 ห่วง (หรือสามหลัก) ก็มี ความพอประมาณ (moderation) ความมีเหตุมีผล (reasonableness) และการมีภูมิคุ้มกันในตัว (self-immunity)
2 เงื่อนไขก็มี 1) ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและเพียงพอในงานหรือการตัดสินใจอะไรก็ตาม 2) ต้องมีคุณธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์และความเพียร
ให้ใช้แนวคิดนี้ในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และประเทศ เช่น การบริหารศก.ก็เน้นโตอย่างมั่นคง ไม่ต้องเร่งให้เร็ว แต่ให้ stable (แต่เขาไม่ได้บอกว่าเอาอะไรมาตัดสินว่าเท่าไหน "เร็ว" ไป เท่าไหนถึงจะพอดี... ผมสงสัยว่าสมัยรัฐบาลทรท ศก.โต 4-5% เนี่ย มันเร็วไปเหรอ?) จะเปิดเสรีอะไรก็ต้องศึกษาให้ดี ต้องมี sequencing ที่ดี... แล้วดูๆไปถ้าพูดแบบนี้ก็เหมือนกับหลักการบริหารศกมหภาคที่เน้นรักษาเสถียรภาพ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่แบงก์ชาติก็ทำมาตลอดหลังวิกฤติ
ส่วนตัวอย่างการใช้ศกพพ.ในระดับบริษัทเอกชน ก็เช่นการมี risk management ที่ดี, การมี cost-benefit analysis ที่ดีในการตัดสินใจลงทุนหรือทำอะไรก็ตาม
ส่วนหน่วยงานรัฐก็เช่น ต้องไม่ทำอะไรให้เว่อไป เช่นสร้างตึกสำนักงานก็ไม่ใช่สร้างซะใหญ่โตเกินไป จะทำงบประมาณอะไรก็ต้องสมเหตุสมผลพอประมาณ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าชื่อ ศกพอเพียง มัน misleading จิงๆ คือจิงๆแล้วแนวคิดนี้ก็คล้ายๆกับการเน้นให้ทำตาม "best practices" ในทุกๆระดับ คือไม่ว่าคุณจะทำอะไร ต้องมีเหตุผลสมควร มีความรอบคอบ มีการบริหารความเสี่ยง มีความโปร่งใส ไม่ทุจริตคดโกงเอารัดเอาเปรียบสังคมนะ...
มันเป็นหลักการที่ simple ที่พูดกันมานานแล้ว เป็นหลักที่เหมือนกับหลักธรรมพระพุทธศาสนา แต่ก็เพราะคนเรามักจะหลงลืมหลักการง่ายๆนี่แหละครับเราถึงได้เจอกับปัญหาหรือวิกฤติ เพราะฉะนั้นมันก็ดีที่ได้เห็นภาครัฐออกมาให้สำคัญกับแนวคิดนี้
เพียงแต่สิ่งที่ผมคิดว่านักวิชาการและผู้รับผิดชอบควรจะตระหนักและขบคิดให้มากก็คือ ก่อนอื่นต้องรู้ว่าการออกมาพูดๆๆ ให้ทุกคนยึดหลักศกพอเพียงนั้น มันไม่เพียงพอที่จะทำให้คนหรือองค์กรเอาหลักนั้นไปใช้จริงๆจังๆหรอก (อย่างมากก็คงใช้พอเป็นพิธีให้คนอื่นเห็นว่าบริษัทเรายึดหลักศกพพ.) เพราะยังไงคนเราหรือองค์กรไหนมันก็ operate on self-interest
เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้คนและองค์กรนำหลักศกพพ.ไปใช้จริงๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้วางนโยบายจะต้องมีการวาง INCENTIVES ให้คนและองค์กรนำมันไปใช้ (และมี disincentives กับอะไรที่มันไม่ดี)ไม่ใช่สักแต่พูดๆๆให้ทำๆๆ มันก็เหมือนพ่อแม่ที่จะสอนลูกให้เป็นเด็กดี ให้ทำอะไรดีๆสักอย่าง ถ้าเอาแต่พูดอย่างเดียว เด็กมันไม่เชื่อหรอก ต้องมี incentives or disincentives ผมว่าตรงนี้น่าคิดนะครับว่า incentives เหล่านี้จะออกมารูปแบบไหนยังไง
บางที หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ศกพอเพียง ก็น่าจะดี คิดเสียว่า จะทำอย่างไรถึงจะให้คน ชุมชน องค์กรต่างๆ ดำเนินชีวิตและดำเนินงานในทางที่ดีและมั่นคง
ขอใช้พื้นที่ของเจ้าของ blog คุยต่อคงไม่ว่ากัน
ฟังที่คุณจิโนล่าพูดมาแล้วมันน่าคิดจริงๆ
สำหรับไม่มีอะไรมากกว่าความเอียนครับ ที่เอะอะไรก็ ศก พอเพียงกันยันป้าย ทั้งๆที่มันเป็นอย่างที่คุณว่ามาก็คือ มันเป็นหลักการในการดำเนินชีวิตดีๆนี่เอง แต่เราอาจจะลืม หรือภายใต้สังคมแก่งแย่งแบบนี้ทำให้เราไปไม่ถึงมัน
เพื่อนผมคนนึงเคยให้แง่คิดที่ว่า ศก พอเพียง แท้จริงมันก็คือทุนนิยมนั่นแหละ แต่เป็นระบบทุนที่เน้นความเสี่ยงต่ำๆ ค่อยๆทำ อย่างเนิบๆ ซึ่งผมก็เห็นด้วยบกับมันนะ เพราะท่านเองก็บอกว่าไม่ได้ต้องการจะปฏิเสธอะไรอย่างสุดขั้ว
อย่างไรก็ตามสำหรับคิดว่าการตีความ ศก พอเพียงยังคงมีปัญหาอยู่อีกมาก คนพูดมากกว่าคนทำ หรือระดับไหนที่จะถือว่าเป็นความพอเพียงในแต่ละระดับชนชั้น (เอ่อ มาแนววกวนหน่อยครับ อย่างพึ่งมึนกัน)หรือเงื่อนไขที่ต่างกัน ตรงนี้เราจะหาจุดร่วมที่มันเป็น common กันได้อย่างไร
การให้นิยาม ศก พอเพียงตามที่คุณ จิโนล่า บอกมาก็น่าสนใจครับ แต่สำหรับอยากจะมองว่า ภายใต้ความสัมพันธ์แบบทุน บนพื้นฐานของการกดขี่ขูดรีด (ทั้งคนกับคนด้วยกันเองหรือจะเป็นคนกับธรรมชาติ)และแข่งขัน อีกทั้งมันยังขยายพรหมแดนอย่างไม่หยุดยั้งภายใต้บริบทโลกภิวัฒน์ สิ่งที่เรียกว่า ศก พอเพียง คงจะเหมือนกับเป็น 'moment' หนึ่งที่คอยมากระตุกต่อมของผู้คนในสังคม ทำให้ระบบทุนมันนุ่มลงซักนิด ลดการขูดรีดลงหน่อย จะซื้ออะไรก็อย่าโดนสัญลักษณ์ปลุกปั่นครอบงำไปมากนัก สำหรับผมแล้วจึงอยากตีความ ศก พอเพียง ในแง่มุมดังกล่าว เพราะเชื่อว่าการตั้งต้นโดยมองระบบทุนในฐานะที่เป็นความสัมพันธ์ทางการผลิตมันคงจะช่วยให้เราตีความ ศก พอเพียงได้ง่ายขึ้น (ประมาณว่าคิดเองเออเอง)
สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาสู่คำถามเก่าๆว่า ต่อไปเราจะ "พอเพียง" กันยังไง แต่จริงๆแล้วที่ผมอยากให้สวนกลางตอบมากๆก็คือ บริบทไหนที่จะใช้คำว่าพอเพียงได้มากกว่า เพราะทุกวันนี้ ซื้อนาฬิกาเรือนละสิบยี่สิบล้านก็เป็นความพอเพียงเหมือนกันนะจะบอกให้ไปๆมาๆ ความพอเพียงเปรียบเหมือนแฟชั่น เป็นเทรนใหม่ที่เราต้อง update
อีกสุดท้ายหนึ่งก็คือว่า ในแง่ practical แล้ว ควรจะมีกรณีตัวอย่างองค์กรที่เป็น ศก พอเพียงออกมาให้เห็นเยอะๆๆๆๆ (ไม่เอาประเภทเก๋ๆนะ เหมือนที่รัฐบาลชุดเก่าเอาลงในวรสารชีวิตพอเพียงอะไรนั่น) ผมเชื่อว่ามันก็น่าจะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีได้อีกอย่างหนึ่ง
คราวนี้พิมยาวกว่าคราวที่แล้วอีก เฮ้อ.....
เชิญคุณๆใช้พื้นที่บล็อคพูดคุยได้ตามสบายครับ
ผมเองก็รออ่านอยู่ด้วยความระทึก
ส่วนตัวเห็นว่าศ.ก.พอเพียงมีปัญหาใหญ่ๆสองสามประการ
หนึ่ง ไม่ชัดเจน ไร้รูปแบบ คำอธิบายที่ละเอียดไม่มี อาศัยการตีความของแต่ละคนเป็นส่วนมาก
สอง ไม่เอ่ยถึงมิติด้านความเท่าเทียม (ด้านความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ)
สาม ไม่ operational คอนเซปต์ abstract เต็มไปหมด นำไปใช้ปฏิบัติจริงในระดับนโยบายได้ยาก (โปรดอย่าบอกเลยว่าสุดท้ายก็ลงเอยที่ risk management เพียงอย่างเดียว)
ส่วนที่ว่ามันช่วยลดความเสี่ยงภายใต้ระบบทุนนิยมก็เห้นด้วยครับ แต่ถ้ามองเป็นแนวทางลดความเสี่ยง การนำไปใช้ก็ควรเป็นอีกรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การโฆษนา การให้ความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยง
เล่นอะไรๆก็พอเพียง นโยบายการค้าก็พอเพียง นโยบายการคลังก็พอเพียง ผมว่าพอมันถูกนำไปใช้กับทุกอย่างมันก็เหมือนไม่มีความหมายนั่นล่ะครับ
Post a Comment